ทั้งนี้ สพฉ. ถือเป็นหน่วยงานที่มีขีดความสามารถและมีศักยภาพของเครือข่ายด้านการวางระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นที่ยอมรับทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจต่อนักท่องเที่ยว ส่วนของ อพท. ก็มีพื้นที่การทำงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ชัดเจนใน 6 พื้นที่พิเศษ
ที่ผ่านมา อพท. ได้ดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ตลอดจนพัฒนาชุมชนในพื้นที่พิเศษให้เป็นเจ้าบ้านที่ดีจนประสบความสำเร็จมาแล้วระดับหนึ่ง เช่น กิจกรรมการกู้ชีพกู้ภัยในพื้นที่พิเศษเลย การดำเนินงานฝึกอบรมกู้ภัยอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยในพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร และพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง และมีการดำเนินงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งความร่วมมือกับ สพฉ. ครั้งนี้ จะยิ่งเพิ่มมาตรฐานการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวอีกว่า การดูแลด้านมาตรฐานความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ถือเป็นหนึ่งในมาตรฐานเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) อพท. ในฐานะที่เป็น SDO หรือ Sustainable Development Organization ซึ่งมีภารกิจหลักในการบริหารจัดการและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และได้นำแนวทาง GSTC มาใช้ในการบริหารจัดการและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความยั่งยืน จึงให้ความสำคัญกับเรื่องระบบการดูแลความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว โดยจะดูแลครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านการป้องกัน การช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ และการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่พิเศษ ที่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ทันสถานการณ์ ทำให้ลดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิต ขณะเดียวกัน ก็จะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความมั่นใจและมีความสุขในการท่องเที่ยวด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น