ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

ในอนาคตเนื่องจากผู้สูงอายุจะมีอายุยืนยาวขึ้น อัตราการเกิดลดลงคนไทยมีลูกน้อยลง ขนาดของครอบครัวที่เล็กลงคนวัยทำงานต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือไปทำงานในเมืองใหญ่จะทำให้ผู้สูงอายุจะต้องอยู่ตามลำพังในครัวเรือนมากขึ้นประชากรสูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้แก่กินอาหารอาบน้ำแต่งตัวขับถ่ายและเคลื่อนไหวไปมาภายในบ้านนำสู่ปัญหากระทบกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในโรงพยาบาลจะพบปัญหาไม่สามารถจำหน่วยผู้สูงอายุออกจากโรงพยาบาลได้เนื่องจากผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอันมาจากความชรามีพยาธิสภาพในหลายระบบในเวลาเดียวกันแนวโน้มการเจ็บป่วยจึงง่ายและไม่หายขาดและผู้ป่วยสูงอายุจึงมีอัตราการกลับเข้ามานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลซ้ำสูงทำให้หอผู้ป่วยเต็มและโรงพยาบาลไม่สามารถรับผู้ป่วยรายอื่นที่มีความจำเป็นมากกว่าเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลได้
     ดังนั้นโรงพยาบาลจึงต้องปรับการดูแลรักษาผู้สูงอายุจากการรักษาในโรงพยาบาล มาเป็นการรักษาแบบ Intermediated care โดยจัดตั้งหน่วยพิเศษขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุที่ต้องจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเนื่องจากอาการของโรคทุเลาลง แต่ยังต้องฟื้นฟูสภาพหรือให้ผู้ดูแล (care giver)ได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวที่บ้าน (Homecare) หรือกลับไปพักฟื้นในชุมชน แบบ Nursing homeได้นอกจากนี้ยังพบว่าการคัดกรองป้องกันโรคสำหรับผู้สูงอายุยังเป็นมาตรการสำคัญเพื่อใช้ค้นหาปัญหาและนำไปสู่การวางแผนการดูแลได้อย่างตรงประเด็นและการแพทย์ทางเลือกยังเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันหรือบำบัดโรคหรืออาการในผู้สูงอายุเพื่อเสริมการรักษาโดยการแพทย์ทางหลักหรือในกรณีที่การรักษาโดยแพทย์ทางหลักอาจได้ผลน้อยในสังคมไทย ผู้สูงอายุมักถูกมองว่าเป็นภาระต่อสังคมทั้งๆ
ที่ผู้สูงอายุก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เทียบเท่ากับบุคคลอื่นๆ และเคยทำประโยชน์แก่ครอบครัวสังคมและประเทศชาติมาก่อนผู้สูงอายุส่วนใหญ่สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมและยังคงสามารถทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจน
ถึงปัจจุบัน โดยภาครัฐและเอกชนซึ่งจะเห็นได้จากหน่วยงานบริการของภาครัฐได้แก่สถานสังคมสงเคราะห์คนชรา ศูนย์บริการผู้สูงอายุในชุมชนการให้บริการผู้สูงอายุตามสถานพยาบาลต่างๆ
อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐ เช่น ขีดความสามารถการให้บริการ จำนวนสถานบริการที่ให้บริการไม่เพียงพอและรูปแบบการให้บริการยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้
   เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุสภากาชาดไทยและโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชาจึงมีนโยบายในการพัฒนาต้นแบบการให้บริการด้านผู้สูงอายุเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต (Quality of life) ของประชาชนโดยการจัดตั้งโครงการ“ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุสภากาชาดไทย”ขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ
๑เพื่อเป็นต้นแบบของการให้บริการสำหรับผู้สูงอายุที่ครบวงจร(Compr
ehensive Care)และต่อเนื่อง(Continuum of Care)
๒เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการสำหรับผู้สูงอายุที่ครบวงจรและต่อเนื่องในการบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ รองรับผู้สูงอายุผู้ป่วยเรื้อรังประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต (Quality of life) ของประชาชนและลดความแออัดผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาล
๓ เพื่อส่งเสริมและวางแนวทางป้องกันการเจ็บป่วยที่ป้องกันได้ให้ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงให้มีสุขภาพดี
ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ของประเทศลดลง
๔ เพื่อพัฒนาแนวการสร้าง Healthy aging Society เช่นชมรมผู้สูงอายุ , ศูนย์สุขภาพชุมชน , ศูนย์มิตรภาพบำบัดชุมชน
๕เพื่อพัฒนาศาสตร์ด้านการจัดการสุขภาพเพื่อลดการเสี่ยงโรคตั้งแต่ช่วงเตรียมตัวก่อนเกษียณในผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงและศาสตร์ด้านการดูแลจัดการโรคผู้สูงอายุแบบองค์รวม (Holisticapproach)
๖เพื่อให้ผู้สูงอายุและประชาชนมีทางเลือกในการดูแลปัญหาสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุเป็นองค์กรที่ให้บริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่เป็นองค์รวม ครบวงจรต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน จนถึงที่บ้านและเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและเวชศาสตร์ชะลอวัยที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศพันธกิจศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ
1 ให้บริการแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณโดยเน้นที่รักษาคนไม่ใช่มุ่งแต่รักษาไข้
2 ให้บริการอย่างครบวงจร (ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพ)
3 ให้บริการในทุกระยะของโรค ตั้งแต่ก่อนป่วยคัดกรองในขณะเริ่มป่วย ป่วยจนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต
4 ให้บริการต่อเนื่องจากโรงพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสุขภาพในลักษณะของ intermediate careก่อนที่จะส่งกลับไปสู่ชุมชน (Community care)หรือกลับไปดูแลที่บ้าน (Home care)
5ให้บริการผสมผสานทั้งด้านการแพทย์ทางหลักและการแพทย์ทางเลือก
6 สนับสนุนรัฐบาลในการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุตลอดจนเป็นที่พึ่งแก่ชุมชนในด้านการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ
7 สอน ฝึกอบรม ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้นักศึกษาทั้งก่อนและหลังปริญญา
8 เป็นแหล่งองค์ความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุลักษณะการบริการหรือกิจกรรมของศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุสามารถแบ่งรูปแบบของลักษณะการให้บริการภายในและภายนอกศูนย์ส่งเส
ริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุได้เป็น ๗ ลักษณะคือ
๑ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค(Health promotion &
prevention)
๑.๑ การบริการวิชาการแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้มีความรู้ในการดูแลก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โดยเน้นการดูแลส่งเสริมสุขภาพ และ ป้องกันโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่นกลุ่มที่มีอายุก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ ทั้งภายในศูนย์ฯ และนอกสถานที่โดยผ่านระบบสมาชิกสุขภาพผู้สูงอายุ
๑.๒การตรวจคัดกรองโรคทั้งนอกสถานที่และภายในศูนย์ในกลุ่มเสี่ยง
๑.๓ การจำหน่วยผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น สมุนไพรอาหารสุขภาพ เวชสำอาง
๑.๔ บริการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพในทุกช่วงอายุ
๒ การรักษาพยาบาล (Medical treatment)
๒.๑ การให้บริการทางทันตกรรม เช่นการตรวจสุขภาพช่องปาก การตรวจฟัน การอุดฟัน ขูดหินปูน
ใส่ฟันปลอม
๒.๒ การให้บริการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้แก่คลินิกผู้สูงอายุ คลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว คลินิกพิเศษเฉพาะทางต่างๆ
๒.๓ การให้บริการทางเวชศาสตร์ชันสูตร เช่นการเจาะสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
๒.๔ การให้บริการทางรังสีวิทยา เช่น การเอกซเรย์อัลตราซาวด์
๒.๕ การให้บริการทางเภสัชกรรม เช่น การจำหน่ายยาเวชภัณฑ์ กายอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ
๒.๖ การให้บริการทางการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เช่นการนวดตัว นวดเท้า ประคบ อบหม้อเกลือการจ่ายยาสมุนไพรไทย
๒.๗ การให้บริการทางการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็มการจ่ายยาสมุนไพรจีน
๒.๘ การให้บริการทางการแพทย์ทางเลือก เช่นการฝังเข็มด้วยเลเซอร์
๓ การฟื้นฟูสุขภาพ
๓.๑ คลินิกเวชกรรมฟื้นฟู
๓.๒ กายภาพบำบัด
๓.๓ กิจกรรมบำบัด
๓.๔ อรรถบำบัด (แก้ไขปัญหาการพูด)
๓.๕ วารีบำบัด (ยังไม่ดำเนินการในระยะต้น)
๓.๖ กายอุปกรณ์ (ยังไม่ดำเนินการในระยะต้น)
๔ การให้บริการสุขภาพองค์รวมแก่ผู้สูงอายุ
๔.๑ แบบไปกลับ (Day care)
สำหรับผู้สูงอายุที่มารับบริการรักษาหรือฟื้นฟูและพร้อมกับการ
ทำกิจกรรมเสริม เช่น การให้ความรู้ฝึกปฏิบัติในการดูแล
หรือญาตินำผู้สูงอายุมาฝากดูแลแบบไปกลับกรณีไม่มีคนเฝ้า
๔.๒ แบบพักค้างระยะสั้น (Intermediate care)
โดยกำหนดการพักค้างที่ไม่เกิน ๔ สัปดาห์
เพื่อปรับตัวหรือทำการพื้นฟูสุขภาพภายหลังออกจากโรงพยาบาล
เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับไปดูแลที่บ้าน (Home care)
๔.๓ แบบพักค้างระยะยาว (Long term care)โดยเป็นการพักค้างตั้งแต่ ๑ เดือนขึ้นไปจะสงวนไว้เฉพาะในรายที่มีความจำเป็น เช่น มีปัญหาเรื่องผู้ดูแล (caregiver) เป็นต้น
๕ การบริการสุขภาพที่บ้านหรือชุมชน(Home care & community
care)
๕.๑ บริการเยี่ยมบ้าน (Home health care)เพื่อการตรวจคัดกรองเชิงรุกให้การดูแลสุขภาพกรณีผู้สูงอายุไม่สามารถเดินทางมารับบริการที่ศูนย์ได้
๕.๒ บริการจัดส่งยาหรือเวชภัณฑ์ทางไปรษณีย์ (Home healthdelivery service)สำหรับกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับยาและเวชภัณฑ์แต่ไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์
๕.๓ บริการรถรับ-ส่ง ทั้งรถโดยสารหรือรถพยาบาลกรณีผู้สูงอายุไม่สามารถเดินทางมาที่ศูนย์ ฯ หรือโรงพยาบาลได้
๕.๔ บริการรับปรึกษาสุขภาพทางโทรศัพท์หรือออนไลน์โดยผ่านทางโทรศัพท์ทางสายด่วนหรือเครือข่ายสื่อสารไร้สายผ่านทางโปรแกรมติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เนต เช่น วีดีโอคอล
๖การเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและเครือข่ายสุขภาพ
๖.๑การจัดตั้งหรือสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของชุมชน เช่นชมรมผู้สูงอายุ (Elderly health club)ทั้งของโรงพยาบาลหรือที่เกิดจากรวมกลุ่มของชุมชนเพื่อจัดกิจกรรมเชิงสุขภาพ
๖.๒ การเข้าร่วมภาคีเครือข่ายสุขภาพทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมเพื่อเสริมทั้งองค์ความรู้และกิจกรรมต่าง ๆให้การดูแลผู้สูงอายุดีขึ้น
๗การบริการทางวิชาการและฝึกอบรม(education & training)
๗.๑ สอนและฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (care giver) และญาติ
๗.๒ สอนนักศึกษาในระดับก่อนปริญญา ทั้งนักศึกษาแพทย์พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
๗.๓ สอนนักศึกษาในระดับหลังปริญญาเช่น แพทย์ประจำบ้านหรือแพทย์ฝึกอบรมในอนุสาขาหรือนักศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาต่าง ๆ
๗.๔ การเป็นแหล่งเรียนรู้และที่ศึกษาดูงาน
๗.๕ การค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาหาองค์ความรู้ใหม่ ๆทางด้านการดูแลผู้สูงอายุ
๗.๖ การจัดหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ เช่นการประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายของศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ
1 กลุ่มผู้สูงอายุ หมายถึงผู้รับบริการที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียงโดยกลุ่มดังกล่าวจะเข้ามารับบริการทั้งในแบบที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก
2 กลุ่มใกล้สูงอายุ หมายถึงผู้รับบริการที่มีอายุตั้งแต่ ๕๐ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียงโดยกลุ่มดังกล่าวจะเข้ามารับบริการทั้งในแบบที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกโดยจะเน้นที่บริการคัดกรองสุขภาพและการให้ความรู้และป้องกันก่อนจะเกิดโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง
3 กลุ่มที่ไม่สูงอายุ แต่มีความต้องการที่จะชะลอวัยหรือรับบริการอื่น ๆเป็นผู้รับบริการที่มีอายุไม่ถึง ๕๐ ปี
จะเน้นการให้บริการไปที่คลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัย และการป้องกันส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนการแพทยทางเลือก เพื่อให้มีสุขภาพดีตลอดจนอบรมให้สามารถเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
แผนกที่เปิดบริการ
แพทย์แพทย์ปัจจุบัน
หน่วยบริบาลผู้สูงอายุ
คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คลินิกกายภาพบำบัด
คลินิกกิจกรรมบำบัด
คลินิกเวชศาสตร์การกีฬา
คลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัย
คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์
คลินิกทันตกรรม
รังสีวิทยา
เวชศาสตร์ชันสูตร
คลินิกพลังงานบำบัด
คลินิกแพทย์แผนจีนและฝังเข็ม
คลินิกบำบัดด้วยแสงเลเซอร์ทางหลอดเลือด
โภชาการบำบัด
เภสัชกรรม
Fitness Center
เวลาเปิดบริการ
เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่ 8:00–16:00 น.
*คลิกนิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์
เปิดบริการ วันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่ เวลา 8:00–16:00 น.
เปิดบริการ วันเสาร์ ตั้งแต่ เวลา 8:30 – 16:30 น.
*คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู/คลินิกกายภาพบำบัด/คลินิกกิจกรรมบำบัด
เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่ เวลา 8:00–16:00 น.
เปิดบริการ วันเสาร์ ตั้งแต่ เวลา 8:00 – 12:00 น.
* Fitness Center
เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่ เวลา 16:00– 20:00 น.
เปิดบริการ วันเสาร์ ตั้งแต่ เวลา 12:00 – 20:00 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เลขที่ 2 หมู่ 4 ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20110
โทรศัพท์ 038-109-423 โทรสาร 038-109-424

ความคิดเห็น