ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ แห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การแห่ผ้าผืนยาว ไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการนำขึ้นห่มโอบล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชและพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียง ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน
ความเชื่อ นครศรีธรรมราชรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียและลังกา จึงรับความเชื่อของชาวอินเดียและลังกาเข้ามาด้วย ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่าการทำบุญและการกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริง จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์และให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าให้มากที่สุดแม้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วแต่ก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์อยู่ ได้แก่ พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าโดยตรงเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันมาว่า การนำผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ ถือเป็นการบูชาที่ใกล้ชิดกับพระพุทธองค์ ชาวพุทธในนครศรีธรรมราชจากทุกที่จึงมุ่งหมายมาสักการะเมื่อถึงวันดังกล่าว
แต่เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุนิยมจัดปีละสองครั้ง ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม (วันมาฆบูชา) และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก (วันวิสาขบูชา) โดยนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ปัจจุบันนิยมทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม (วันมาฆบูชา) มากกว่า และในวันมาฆบูชาที่ผ่านมาทาง งานนี้ก็ได้จัดขึ้นมาอีกครั้งโดยมีประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก.
ประเพณีกวนข้าวยาคู
เป็นความเชื่อเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ ตอนนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสยาคู เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยแล้วก็ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ พุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชมีความเชื่อว่า ข้าวยาคูเป็นอาหารทิพย์ ผู้ได้รับประทานจะมีสมองดีเกิดปัญญา มีอายุยืนยาวลานามัยสมบูรณ์ ผิวพรรณผ่องใส และเป็นยาขนานเอกที่สามารถขจัดโรคร้ายได้ทุกชนิด ทั้งยังบันดาลความสำเร็จสมความปรารถนาในสิ่งที่คิดด้วยแต่เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุนิยมจัดปีละสองครั้ง ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม (วันมาฆบูชา) และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก (วันวิสาขบูชา) โดยนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ปัจจุบันนิยมทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม (วันมาฆบูชา) มากกว่า และในวันมาฆบูชาที่ผ่านมาทาง งานนี้ก็ได้จัดขึ้นมาอีกครั้งโดยมีประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น