NEA สุดยอดสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่โดยผู้บริหารยุคใหม่

   NEA สุดยอดสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่โดยผู้บริหารยุคใหม่
   นายพรวิช ศิลาอ่อน เผยว่า สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่เป็นสถาบันที่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในการเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศด้วยองค์ความรู้เพื่อรองรับเศรษฐกิจยุคใหม่ นอกจากนี้ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีหลายอย่างในปัจจุบันที่ได้เปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ รวมถึงลักษณะการประกอบธุรกิจต่างๆ ไปอย่างรวดเร็ว สถาบันฯ ก็จะทำเป็นเสมือนพี่เลี้ยงในการเสริมสร้างให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยเร่งพัฒนาผู้ประกอบการและเกษตรกรให้เป็น Smart Entrepreneur และ Smart Farmer ที่จะก้าวสู่การพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand4.0 พร้อมกระจายองค์ความรู้ไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นต่อไป
"ทั้งนี้ ทางสถาบันฯ เรายังมีเครือข่ายที่เป็นแรงผลักสำคัญในการกระจายองค์ความรู้ไปยังทุกภูมิภาคของประเทศและเข้าถึงผู้ประกอบการในระดับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาที่พร้อมจะผนึกกำลังเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการของเรามีความขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ปัจจุบันทางสถาบันฯ ได้มีพันธมิตรรวมทั้งหมดกว่า 68 หน่วยงาน โดยมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือไปแล้วกว่า 19 หน่วยงาน"
ซึ่งแนวทางหนักสูตรความสำเร็จที่จะพาผู้ประกอบการไปถึงจุดมุ่งหมายนั้น นายพรวิช กล่าวว่า สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA มีแนวทางในการผลักดันผู้ประกอบการยุคใหม่ ผ่าน 5 หลักสูตร สำคัญได้แก่ 
1.หลักสูตร New Economy Amplifier เพื่อเตรียมความพร้อม ให้ความรู้และสร้างความชำนาญในด้านเทคนิควิธีการถ่ายทอด สำหรับผู้ที่จะต้องนำองค์ความรู้ไปกระจายต่อกับบุคคลที่สนใจทั่วไป อาทิ โครงการสร้างพี่เลี้ยงทางการค้า (Train the Trainers) ระยะเวลาตั้งแต่ เดือนมกราคม – เดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 6 ครั้ง โดยดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วมีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้ง 2 ครั้ง 415 ราย ในจังหวัด ชลบุรีเชียงใหม่ โดยอีก 4 ครั้งที่เหลือ จะเป็นที่ ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพ มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1,200 ราย
2. หลักสูตร New Economy Foundation เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการใหม่หรือผู้ที่สนใจจะประกอบธุรกิจ เป็นหลักสูตรที่จะสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้มีศักยภาพในตลาดโดยเน้นตลาดในประเทศ อาทิ 
• โครงการสัมมนา "เรียนรู้ เรียนลัด มุ่งการส่งออก (Express Exporter) ในจังหวัด 5 โดยในกลุ่มเป้าหมาย 1,200 ราย 
- 1.ครั้งที่ 1 วันที่ 26-28 มีนาคม 2561 (จ.กาญจนบุรี) 

- 2.ครั้งที่ 2 วันที่ 13– 15 มิถุนายน2561 (จ.ลำปาง) 
- 3. ครั้งที่ 3 วันที่ 27 – 29 มิถุนายน 2561 (จ.สงขลา) 
- 4. ครั้งที่ 4 วันที่ 18 – 20 กรกฎาคม 2561 (อุบลราชธานี) 
- 5.ครั้งที่ 5 วันที่ 1 – 3 สิงหาคม 2561 (จ.จันทบุรี) 
• โครงการ “สร้างความรู้พื้นฐานเศรษฐกิจยุคใหม่ Express Exporter Plus ในจังหวัด 5 โดยในกลุ่มเป้าหมาย 1,200 ราย ได้แก่ 
- 1.วันที่ 4 - 5 เมษายน 2561 (จ.อุดรธานี) 
- 2.วันที่ 24– 25 พฤษภาคม 2561 (จ.สุราษฎร์ธานี) 
- 3.วันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2561 (จ.นครสวรรค์) 
- 4. วันที่ 21 – 22 มิถุนายน 2561 (จ.ระยอง) 
- 5.วันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2561
(พระนครศรีอยุธยา

3.หลักสูตร New Economy Driver หลักสูตรขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ เพื่อฝึกอบรมสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถทางการแข่งขัน ให้สามารถแข่งขันได้ ในตลาดการค้าทั้งในและต่างประเทศ (Local to Global) อาทิ 
• โครงการ “พัฒนาธุรกิจสู่การค้าระหว่างประเทศ Passport to Global 5 ครั้ง ได้แก่ ตรัง เชียงราย ขอนแก่น จันทบุรี และกทม. 
• โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "ผู้ส่งออกอัจฉริยะ : Smart Exporter ระหว่างเดือน เมษายน-กรกฎาคม 2561 
4.หลักสูตร New Economy Connector หลักสูตรสร้างเครือข่ายการค้าสำหรับผู้บริหาร เป็นหลักที่สร้างเวทีเครือข่ายและแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างบุคลากรชั้นนำทั้งภาครัฐ และเอกชนตามความเหมาะสมในแต่ละกลุ่มภูมิภาค โดยในระยะเริ่มต้นจะได้เน้นภายในกลุ่มประเทศ CLMVT เพราะปัจจุบันเป็นกลุ่มเป้าหมายของการส่งออกจากประเทศไทยเป็นอันดับ 1 และมีเป้าหมายที่จะขยายต่อไปในระดับโลก สร้างศักยภาพบุคลากรจากมุมมองธุรกิจจริง เน้นข้อมูลเชิงลึกสำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่ม การทดลองปฏิบัติด้วยวิธีต่างๆ และการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศคู่ค้า ผ่านโครงการ CLMVT Executive Program on New Economy และ โครงการสร้างภาคีเครือข่ายพันธมิตรของสถาบันฯ
5.หลักสูตร IT 4 SME (E-Business) ถือว่าเป็นหลักสูตรสำคัญในยุคที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจโดยหลักสูตรจะส่งเสริมสร้างองค์ความรู้ด้าน IT ให้กับผู้ประกอบการ SME ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยทักษะด้าน E-Business รวมไปถึงความเข้าใจในธุรกิจ และกระบวนการต่างๆ เช่น การตลาดดิจิทัล(Digital Marketing) ระบบการชำระเงินออนไลน์ และระบบการขนส่ง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อพัฒนาต่อยอดสมรรถภาพของธุรกิจเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำการค้าออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าออนไลน์ในตลาดโลกได้เช่นกัน อาทิ โครงการสัมมนาการตลาดดิจิทัลหลากหลายรูปแบบ โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการขยายตลาดส่งออกผ่านอาลีบาบา และโครงการหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Academy) 
- โครงการ Startup 101 ระยะเวลา 23 มีนาคม 2561 ณ สถาบัน NEA โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 250 ราย 
- โครงการสัมมนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้ Creative Thailand ในระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนา 2561 จำนวน 3 ครั้ง 
วันที่ 27-28 กุมพาพันธ์ 2561 เชียงใหม่ 
วันที่ 6-7 มีนาคม 2561 นครศรีธรรมราช 
วันที่ 13-14 มีนาคม 2561 นครราชสีมา 
จะเห็นได้ชัดเลยว่า ทุกโครงการเราทำเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการทุกระดับชั้นและทุกภูมิภาคเพื่อให้เกิดเอสเอ็มอีใหม่ๆในทุกมุมจังหวัด ก่อเกิดการสร้างรายได้และการจ้างงานขับเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ
ทางด้านเป้าหมายของ NEA ในการเป็นพี่เลี้ยงหลักทางการค้านั้น ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่กล่าวว่า จากการเติบโตของธุรกิจ SMEs ในปีที่ผ่านมาผลการสำรวจธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม การส่งออกของ SME ในเดือนมกราคม ปี 2561 มีมูลค่า 156,937.7 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.0 และเมื่ออยู่ในรูปดอลล่าร์สหรัฐ มูลค่าการ ส่งออกขยายตัวร้อยละ 16.5 โดยสัดส่วนของการส่งออกของ SME ต่อการส่งออกรวม เท่ากับร้อยละ 24.1 โดย SMEs ยังคงมีมูลค่าการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนมากที่สุด มีมูลค่า 47,051 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ประเทศจีน มีมูลค่าการส่งออก 18,069ล้านบาท และประเทศญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 13,939 ล้านบาท สำหรับสินค้าส่งออก สำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ หมวดพลาสติก และของทำด้วยพลาสติก และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ด้านธุรกิจภาคการค้าและบริการ
"ปัจจุบันตัวเลขการจ้างงานของ SME มีทั้งสิ้น 11,747,093 ราย เทียบกับปีก่อนมีทั้งสิ้น 10,751,965 ราย เพิ่มขึ้น 995,128 ราย หรือเพิ่มขึ้น 9.30% เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจากภาคบริการ 552,532 ราย ภาคการค้า 325,907 ราย ภาคการผลิต 113,722 ราย และภาคธุรกิจการเกษตร 2,967 ราย 
จะเห็นได้ว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยลักษณะการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นยุคที่คนตัวเล็กอยากเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเองทำให้มีธุรกิจเอสเอ็มอีเกิดขึ้นมาก นับเป็นความท้าทายของ NEA ที่จะจัดหลักสูตรให้เข้าถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งหมด อีกเรื่องคือการทำความเข้าใจเทรนด์ตลาดและความคิดของกลุ่มอสเอ็มอีในแต่ละกลุ่มว่ามีความต้องการพัฒนาความรู้แบบใด ในส่วนนี้เราจะต้องทำการวิเคราะห์เทรนด์ของการฝึกอบรมด้านการค้าระหว่างประเทศที่ทันสมัยที่สุด รวมทั้งใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลมาช่วยประมวลผลข้อมูลผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรมว่าทำธุรกิจอะไรและมีความสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ เพื่อนำไปวิจัยออกแบบหลักสูตรให้สามารถพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอีไทยสู่การเป็น Smart SMEs อย่างแท้จริง"
คุณพรวิช กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางสถาบันฯยังให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง CLMVT ทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย ที่ขานรับนโยบายของท่าน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนให้มีการกระจายการส่งออกไปยันประเทศเพื่อนบ้านและยังถือว่าเป็นการสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น สถาบันจึงผลักดันในมีการร่วมมือให้เกิดผลประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิต ยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งกลุ่มประเทศ CLMV นับว่าเป็นกลุ่มคู่ค้าที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยในปี 2560 มีมูลค่าการส่งออก กว่า 25.13 พันล้าน US เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 ที่มีมูลค่าการส่งออก 22.047 พันล้าน US เพิ่มขึ้นกว่า 13%
สำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการอบรมเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน "เศรษฐกิจยุคใหม่" ในระหว่างวันที่ 4-5 เมษายน 2561 ที่โรงแรมนภาลัย จังหวัดอุดรธานี สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.085-057-3865 และ 096-985-9039 หรือ www.nea.ditp.go.th

ความคิดเห็น