พม. เจาะลึกถึงชุมชนจังหวัดขอนแก่น หาเครือข่ายเฝ้าระวัง โดยใช้กลไก สายด่วน 1300ป้องกันความเสี่ยงของหญิงไทยที่มีคู่สมรสชาวต่างชาติ และปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
ในวันที่ 28 เมษายน 2561 เวลา 10.30 น. ณ โรงเรียนหินฮาวคุรุประชาสรรค์ บ้านหินฮาว ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานเปิดการเสวนา “การพัฒนาบทบาทผู้นำทางสังคมด้านสตรีและครอบครัว” โดยมีวิทยากรร่วมเสวนาทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นางพัชรี อาระยะกุล รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นายศุภชัย คำภู ประธานเครือข่ายกลุ่มอาชีพสตรีบ้านหินฮาว นายอัตรา ขุนทองจันทร์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย สำนักงานอัยการจังหวัดคดีศาลแขวงภูเก็ต นายสราวุธ ศรีพัก นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ ในฐานะเลขานุการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนห้วยม่วง (ศพค.ห้วยม่วง) อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น และได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ดุษฎี อายุวัฒน์ เป็นผู้ดำเนินรายการและวิทยากรร่วมเสวนา เกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือหญิงไทยในต่างประเทศ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ /สะท้อนปัญหา ผู้ได้รับผลกระทบจากการเดินทางไปต่างประเทศ และการดูแลชุมชน เฝ้าระวัง ให้คำแนะนำ เนื่องจาก ชุมชนดังกล่าวก็เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่สตรีในชุมชนสมรสกับชาวต่างชาติค่อนข้างมาก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมรับฟังการเสวนากว่า 300 คน
นอกจากนี้ นายเลิศปัญญาฯ ยังได้นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ตลอดจนสื่อมวลชนจากส่วนกลาง ร่วมกิจกรรม CSR มอบทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา และของเล่นให้แก่เด็กนักเรียน โดยมี นายอุทัย คงอุ่น ผู้อำนวยการโรงเรียนหินฮาวคุรุประชาสรรค์ เป็นผู้แทนรับมอบ ก่อนเดินเยี่ยมชมผลสัมฤทธิ์จากการฝึกอาชีพให้แก่สตรีในชุมชนของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภา จังหวัดขอนแก่น ซึ่งสตรีกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ได้นำสินค้าและผลิตภัณมาแสดงและจำหน่าย จากนั้นได้ลงพื้นที่พบปะชุมชน เยี่ยมชมกลุ่มสตรีที่ได้รับการฝึกอาชีพ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรปลอดภัย (ทำข้าวไรซ์เบอรี่ ปลูกผักปลอดสารพิษ) ที่มีความเข้มแข็งด้านการรวมกลุ่มสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และมีภาวะความเป็นผู้นำชุมชน
นายเลิศปัญญา กล่าวว่า วันนี้ ได้เลือกมาลงพื้นที่ชุมชนนี้เพราะเป็นชุมชนหนึ่งที่มีสตรีในชุมชนสมรสกับชาวต่างชาติค่อนข้างมาก การที่ผู้หญิงไทยได้สมรสกับชาวต่างชาติชีวิตไม่ได้สวยหรูทุกคนเสมอไป ผู้หญิงหลายคนถูกฝ่ายชายใช้การแต่งงานบังหน้า เพื่อให้ง่ายต่อการหลอกพาหญิงไทยเข้าประเทศและบังคับค้าประเวณีในต่างแดน ดังนั้น การเข้าถึงชุมชน จึงถือเป็นโอกาสที่ดี ที่ สค. ซึ่งรับผิดชอบดูแลในเรื่องการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรีทุกกลุ่ม และได้ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้หญิงที่อยู่ทั้งในและต่างประเทศมาโดยตลอด ได้เข้ามาสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงต่อผลกระทบที่จะมากับการแต่งงานของหญิงไทยกับชายชาวต่างชาติ การที่หญิงไทยเดินทางไปพำนักอยู่ในต่างประเทศ นอกจากจะห่างไกลครอบครัวญาติพี่น้องแล้ว ในกรณีที่ประสบปัญหาและตกทุกข์ได้ยาก อาจจะหาคนให้คำปรึกษาได้อย่างยากลำบาก ถึงแม้ว่าชีวิตคู่ทุกคนมีสิทธิเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าหากเป็นไปได้ ไม่อยากให้หญิงไทยไปอยู่ที่ไหนที่ห่างไกลบ้านเกิดและครอบครัวของตนเอง แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าหญิงไทยหรือคนไทยจะไปพำนักอยู่ที่ไหน รัฐบาลก็ไม่ทอดทิ้ง โดยในเบื้องต้น สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นหญิงไทยมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก เข้าใจถึงสถานการณ์ เป็นที่พึ่งพาเมื่อต้องการความช่วยเหลือ และให้ความรู้สึกอุ่นใจเหมือนอยู่ใกล้บ้านเอาไว้ก่อน ซึ่งสามารถ Download ได้ โดยพิมพ์คำว่า Yingthai ได้ทั้ง 2 ระบบ คือ ระบบ iOS ผ่าน App Store และระบบ Android ผ่าน Play Store
นายเลิศปัญญา กล่าวต่ออีกว่า นอกจากเรื่องหญิงไทยในต่างประเทศแล้ว สค. ก็อยากจะขอความร่วมมือชุมชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายภาคประชาชนที่คอยเฝ้าระวัง ป้องกันภัย และแก้ไขปัญหาด้านครอบครัวในชุมชนด้วยกัน โดยเฉพาะปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หากพบเห็น ขออย่านิ่งเฉย ต้องช่วยกันสอดส่องดูแล ปัญหาก็จะลดน้อยลง และหมดไปจากสังคมได้ในที่สุด หากไม่กล้าเข้าไปช่วยเหลือด้วยตัวเอง เพราะเสี่ยงอันตราย แต่กลัวว่าถ้าเข้าไปช้าเกินไปก็จะไม่ทันการณ์ ก็ชวนกันเข้าไปหลาย ๆ คน เข้าไปพูดคุยหรือห้ามปรามก่อน เพราะปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีกฎหมายรองรับ คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 อยู่แล้ว
“เราต้องทำให้เห็นว่าความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องปกติของสามีและภรรยา ความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องภายในครอบครัว แต่เป็นเรื่องที่สังคมต้องไม่ยอมรับ และไม่นิ่งเฉย โดยขอให้ทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคมที่เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามแนวพระราชดำริ ว่าด้วย ‘การพัฒนา ครอบครัวมั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง’ และหากใครประสบปัญหาหรือพบเห็นใครประสบปัญหาไม่ว่าในหรือนอกประเทศ สามารถโทรสายด่วน 1300 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง” นายเลิศปัญญา กล่าวในตอนท้าย
นอกจากนี้ นายเลิศปัญญาฯ ยังได้นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ตลอดจนสื่อมวลชนจากส่วนกลาง ร่วมกิจกรรม CSR มอบทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา และของเล่นให้แก่เด็กนักเรียน โดยมี นายอุทัย คงอุ่น ผู้อำนวยการโรงเรียนหินฮาวคุรุประชาสรรค์ เป็นผู้แทนรับมอบ ก่อนเดินเยี่ยมชมผลสัมฤทธิ์จากการฝึกอาชีพให้แก่สตรีในชุมชนของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภา จังหวัดขอนแก่น ซึ่งสตรีกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ได้นำสินค้าและผลิตภัณมาแสดงและจำหน่าย จากนั้นได้ลงพื้นที่พบปะชุมชน เยี่ยมชมกลุ่มสตรีที่ได้รับการฝึกอาชีพ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรปลอดภัย (ทำข้าวไรซ์เบอรี่ ปลูกผักปลอดสารพิษ) ที่มีความเข้มแข็งด้านการรวมกลุ่มสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และมีภาวะความเป็นผู้นำชุมชน
นายเลิศปัญญา กล่าวว่า วันนี้ ได้เลือกมาลงพื้นที่ชุมชนนี้เพราะเป็นชุมชนหนึ่งที่มีสตรีในชุมชนสมรสกับชาวต่างชาติค่อนข้างมาก การที่ผู้หญิงไทยได้สมรสกับชาวต่างชาติชีวิตไม่ได้สวยหรูทุกคนเสมอไป ผู้หญิงหลายคนถูกฝ่ายชายใช้การแต่งงานบังหน้า เพื่อให้ง่ายต่อการหลอกพาหญิงไทยเข้าประเทศและบังคับค้าประเวณีในต่างแดน ดังนั้น การเข้าถึงชุมชน จึงถือเป็นโอกาสที่ดี ที่ สค. ซึ่งรับผิดชอบดูแลในเรื่องการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรีทุกกลุ่ม และได้ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้หญิงที่อยู่ทั้งในและต่างประเทศมาโดยตลอด ได้เข้ามาสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงต่อผลกระทบที่จะมากับการแต่งงานของหญิงไทยกับชายชาวต่างชาติ การที่หญิงไทยเดินทางไปพำนักอยู่ในต่างประเทศ นอกจากจะห่างไกลครอบครัวญาติพี่น้องแล้ว ในกรณีที่ประสบปัญหาและตกทุกข์ได้ยาก อาจจะหาคนให้คำปรึกษาได้อย่างยากลำบาก ถึงแม้ว่าชีวิตคู่ทุกคนมีสิทธิเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าหากเป็นไปได้ ไม่อยากให้หญิงไทยไปอยู่ที่ไหนที่ห่างไกลบ้านเกิดและครอบครัวของตนเอง แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าหญิงไทยหรือคนไทยจะไปพำนักอยู่ที่ไหน รัฐบาลก็ไม่ทอดทิ้ง โดยในเบื้องต้น สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นหญิงไทยมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก เข้าใจถึงสถานการณ์ เป็นที่พึ่งพาเมื่อต้องการความช่วยเหลือ และให้ความรู้สึกอุ่นใจเหมือนอยู่ใกล้บ้านเอาไว้ก่อน ซึ่งสามารถ Download ได้ โดยพิมพ์คำว่า Yingthai ได้ทั้ง 2 ระบบ คือ ระบบ iOS ผ่าน App Store และระบบ Android ผ่าน Play Store
นายเลิศปัญญา กล่าวต่ออีกว่า นอกจากเรื่องหญิงไทยในต่างประเทศแล้ว สค. ก็อยากจะขอความร่วมมือชุมชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายภาคประชาชนที่คอยเฝ้าระวัง ป้องกันภัย และแก้ไขปัญหาด้านครอบครัวในชุมชนด้วยกัน โดยเฉพาะปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หากพบเห็น ขออย่านิ่งเฉย ต้องช่วยกันสอดส่องดูแล ปัญหาก็จะลดน้อยลง และหมดไปจากสังคมได้ในที่สุด หากไม่กล้าเข้าไปช่วยเหลือด้วยตัวเอง เพราะเสี่ยงอันตราย แต่กลัวว่าถ้าเข้าไปช้าเกินไปก็จะไม่ทันการณ์ ก็ชวนกันเข้าไปหลาย ๆ คน เข้าไปพูดคุยหรือห้ามปรามก่อน เพราะปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีกฎหมายรองรับ คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 อยู่แล้ว
“เราต้องทำให้เห็นว่าความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องปกติของสามีและภรรยา ความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องภายในครอบครัว แต่เป็นเรื่องที่สังคมต้องไม่ยอมรับ และไม่นิ่งเฉย โดยขอให้ทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคมที่เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามแนวพระราชดำริ ว่าด้วย ‘การพัฒนา ครอบครัวมั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง’ และหากใครประสบปัญหาหรือพบเห็นใครประสบปัญหาไม่ว่าในหรือนอกประเทศ สามารถโทรสายด่วน 1300 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง” นายเลิศปัญญา กล่าวในตอนท้าย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น