ขอเชิญร่วมย้อนเวลาผ่านภาพถ่ายในงานนิทรรศการ “เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก Celebrating the National Glass Plate Negative Recognized as UNESCO Memory of the World”

     กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ
จำกัด มหาชน จัดนิทรรศการ “เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก” ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤษภาคม -๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสที่ฟิล์มกระจกและต้นฉบับภาพถ่ายชุดหอพระสมุดวชิรญาณของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกโดยองค์การยูเนสโกสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ ที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา
วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศให้ฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับจากฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณ เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ในฐานะที่เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมที่ได้บันทึกลงบนแผ่นฟิล์มที่ใช้กระจกเป็นตัวบันทึกภาพก่อนที่จะมีการใช้แผ่นฟิล์มเซลลูลอยด์ ประกอบด้วยฟิล์มกระจกที่ได้ถ่ายทำในยุคสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๗ ซึ่งเป็นการบันทึกภาพบุคคลเหตุการณ์ สถานที่ในยุคนั้น ผ่านมุมมองของผู้ถ่ายภาพ โดยเฉพาะภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ดังนั้น เพื่อเผยแพร่ภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกซึ่งเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ของชาติให้ประชาชนได้ศึกษา เรียนรู้ และเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว จึงได้คัดเลือกภาพมาจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนี้ โดยแบ่งออกเป็น ๘ หัวเรื่อง ได้แก่
๑. มองสยามผ่านฟิล์มกระจก นำเสนอการถ่ายภาพตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา
๒. สัญลักษณ์ของชาติ นำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ของชาติไทย ได้แก่ ช้างไทยและศาลาไทย ๓. พระราชพิธี พิธี และเหตุการณ์สำคัญ อาทิ ภาพที่เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีโสกัณต์
พระราชพิธีเปิดพระบรมรูปทรงม้า พระราชพิธีจรดพระนังแรกนาขวัญ ๔. การพัฒนาประเทศ นำเสนอภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของวิวัฒนาการความเจริญก้าวหน้าและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ถูกนำเข้ามาใช้ในบ้านเมือง
๕. ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อาทิ ภาพเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ที่พักอาศัย การเดินทาง การประกอบอาชีพ การค้าขาย การแต่งกายของบุรุษและสตรีไทย การแสดงนาฏศิลป์ ๖. อาคารสถานที่ นำเสนอภาพเกี่ยวกับโบราณสถาน วัด อาคารสถานที่ สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยนั้น ​๗. บุคคล นำเสนอภาพบุคคลสำคัญที่มีบทบาทต่อสังคมสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ และ ๘. สยามกับสังคมโลก นำเสนอภาพการเสด็จประพาสต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับนานาประเทศได้เป็นอย่างดี
     นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ การเสวนา การอวดภาพจากนักสะสมและ
บุคคลที่มีชื่อเสียง การจำหน่ายของที่ระลึก การสาธิตการทำฟิล์มกระจกและการถ่ายภาพด้วยฟิล์มกระจก และร่วมถ่ายภาพย้อยยุคกับ “ฉายานิติกร” ผู้สนใจสามารถเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤษภาคม – ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๙.๐๐ น. วันพุธถึงวันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์ – อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สำหรับคณะบุคคลหรือสถานศึกษาที่ต้องการเข้าชมและร่วมกิจกรรมการเสวนาเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อเพื่อระบุวันเวลาและจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๑๕๙๙ ต่อ ๒๒๒ ในวันและเวลาราชการ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง http://203.159.73.163/photoexhibition/index.php
     พระบรมวงศานุวงศ์รุ่นเล็กถ่ายภาพหมู่ร่วมกันข้างเรือนต้น พระราชวังดุสิต ประมาณพุทธศักราช ๒๔๔๗ ถึงต้นพุทธศักราช ๒๔๔๘ (จากซ้ายไปขวา)
๑. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร
๒. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)
๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
๔. หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่
๕. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
๖. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
                พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในทรงเล่นกล้องถ่ายภาพ ราวพุทธศักราช 2440 (จากซ้ายไปขวา)
๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี
๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
๓. เจ้าจอมเอื้อน
๔. เจ้าจอมเอิบ
๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ
                         ไม่ทราบสถานที่ช้างร่วมขบวนแห่ในพระราชพิธีโล้ชิงช้า ผ่านถนนบำรุงเมือง
                                อาคารหอพระสมุดในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
 ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ย้ายหนังสือจากหอพระสมุดในพระองค์ ไปที่หอสมุดสำหรับพระนคร และตั้งเป็นหอสมุดวชิราวุธ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสสวนสาธารณะบัวร์ เดอ บูลอญ (Bois de Bouloque) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ร.ศ. ๑๑๖ (พุทธศักราช ๒๔๔๐)
   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสสวนสาธารณะบัวร์ เดอ บูลอญ (Bois de Bouloque) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ร.ศ. ๑๑๖ (พุทธศักราช ๒๔๔๐)

ความคิดเห็น