วันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร ผนึกกำลังต้านภัยยาเสพติด จับมือชุมชน และอาสาสมัคร จัดการประกวดผลการดำเนินงานของชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติด และอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดของกรุงเทพมหานคร ตามโครงการ “มหกรรมรวมพลังคนกรุงเทพฯ เอาชนะยาเสพติด” ในวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชนและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับที่สูงมาก และได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) ตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒ มีวิสัยทัศน์ว่า “สังคมไทยเข้มแข็งและรอดพ้นภัยจากยาเสพติดด้วยภูมิคุ้มกันและมาตรการลดผู้ค้าและผู้เสพ และความร่วมมือระหว่างประเทศด้านยาเสพติดบรรลุผลตามพันธกรณีและวิสัยทัศน์อาเซียนภายในปี ๒๕๖๒” ซึ่งกรุงเทพมหานครถือเป็นนโยบายสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเร่งดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยการเสริมสร้างพลังจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ ได้แก่ ชุมชน โรงเรียน และสถานประกอบการ ให้เกิดภูมิคุ้มกันในทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด รวมทั้งสร้างพลัง ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากในปี พ.ศ.๒๕๖๐ กรุงเทพมหานครมีชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติดที่ได้ดำเนินการตามแผนประชารัฐร่วมใจฯ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น ๖๒๙ ชุมชน และมีอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดปฏิบัติงานในชุมชนทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๐,๙๐๕ ราย โดยมีแผนที่จะดำเนินการพัฒนาการดำเนินงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างต่อเนื่องทุกปี
สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ตระหนักว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจะบรรลุผลสำเร็จได้ เกิดขึ้นจากการประสานพลังชุมชน พลังสังคม ของทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการ ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งการเปิดโอกาสภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติด และอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดที่มีผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดดเด่น ได้เผยแพร่ผลงานในการเป็นแบบอย่างที่ดี แก่ชุมชนอื่น ๆ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป จึงได้จัดโครงการมหกรรมรวมพลังคนกรุงเทพฯ เอาชนะยาเสพติด ซึ่งประกอบด้วย
- การรวมพลังต่อต้านยาเสพติดเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก
- พิธีมอบรางวัลแก่ผู้มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้ชนะการประกวดผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรุงเทพมหานคร พิจารณาจากผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินการประกวด ฯ โดยได้ดำเนินการประกวดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๔ แล้ว และหน่วยงานที่ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรุงเทพมหานคร พิจารณาจากผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งการมอบรางวัลในครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมสำคัญที่ชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติด อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด และหน่วยงานภาคีเครือข่ายของกรุงเทพมหานคร ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน แสดงศักยภาพของตนเองในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร โดยมีรางวัลรวมทั้งสิ้น ๒๗ รางวัล ประกอบด้วย ชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติด จำนวน ๘ รางวัล อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด จำนวน ๗ รางวัล สำนักงานเขต จำนวน ๘ รางวัล และศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร จำนวน ๔ รางวัล
- กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรุงเทพมหานคร เรื่อง “คนกรุงเทพฯ ร่วมใจ ไทยนิยมยั่งยืน ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด”
- นิทรรศการผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัล และนิทรรศการของหน่วยงานภาคเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
- การแสดงสร้างสรรค์ต้านยาเสพติด
สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ ๐-๒๓๕๔-๔๒๓๓ ,๐-๒๓๕๔-๔๒๔๑ โทรสาร ๐-๒๓๕๔-๓๕๐๖
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชนและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับที่สูงมาก และได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) ตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒ มีวิสัยทัศน์ว่า “สังคมไทยเข้มแข็งและรอดพ้นภัยจากยาเสพติดด้วยภูมิคุ้มกันและมาตรการลดผู้ค้าและผู้เสพ และความร่วมมือระหว่างประเทศด้านยาเสพติดบรรลุผลตามพันธกรณีและวิสัยทัศน์อาเซียนภายในปี ๒๕๖๒” ซึ่งกรุงเทพมหานครถือเป็นนโยบายสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเร่งดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยการเสริมสร้างพลังจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ ได้แก่ ชุมชน โรงเรียน และสถานประกอบการ ให้เกิดภูมิคุ้มกันในทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด รวมทั้งสร้างพลัง ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากในปี พ.ศ.๒๕๖๐ กรุงเทพมหานครมีชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติดที่ได้ดำเนินการตามแผนประชารัฐร่วมใจฯ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น ๖๒๙ ชุมชน และมีอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดปฏิบัติงานในชุมชนทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๐,๙๐๕ ราย โดยมีแผนที่จะดำเนินการพัฒนาการดำเนินงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างต่อเนื่องทุกปี
สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ตระหนักว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจะบรรลุผลสำเร็จได้ เกิดขึ้นจากการประสานพลังชุมชน พลังสังคม ของทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการ ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งการเปิดโอกาสภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติด และอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดที่มีผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดดเด่น ได้เผยแพร่ผลงานในการเป็นแบบอย่างที่ดี แก่ชุมชนอื่น ๆ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป จึงได้จัดโครงการมหกรรมรวมพลังคนกรุงเทพฯ เอาชนะยาเสพติด ซึ่งประกอบด้วย
- การรวมพลังต่อต้านยาเสพติดเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก
- พิธีมอบรางวัลแก่ผู้มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้ชนะการประกวดผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรุงเทพมหานคร พิจารณาจากผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินการประกวด ฯ โดยได้ดำเนินการประกวดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๔ แล้ว และหน่วยงานที่ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรุงเทพมหานคร พิจารณาจากผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งการมอบรางวัลในครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมสำคัญที่ชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติด อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด และหน่วยงานภาคีเครือข่ายของกรุงเทพมหานคร ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน แสดงศักยภาพของตนเองในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร โดยมีรางวัลรวมทั้งสิ้น ๒๗ รางวัล ประกอบด้วย ชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติด จำนวน ๘ รางวัล อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด จำนวน ๗ รางวัล สำนักงานเขต จำนวน ๘ รางวัล และศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร จำนวน ๔ รางวัล
- กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรุงเทพมหานคร เรื่อง “คนกรุงเทพฯ ร่วมใจ ไทยนิยมยั่งยืน ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด”
- นิทรรศการผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัล และนิทรรศการของหน่วยงานภาคเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
- การแสดงสร้างสรรค์ต้านยาเสพติด
สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ ๐-๒๓๕๔-๔๒๓๓ ,๐-๒๓๕๔-๔๒๔๑ โทรสาร ๐-๒๓๕๔-๓๕๐๖
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น