“ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ”ทุเรียนภูเขาไฟ GI หนึ่งเดียวในโลก มีให้ชิมแล้วที่ กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาเอ็มควอเทียร์,เอ็มโพเรียม,สยามพารากอน และ เดอะมอลล์ บางกะปิ
ผู้ว่าฯศรีสะเกษ นายธวัช สุระบาลและนายบุญชัยปลื้มสืบกุล ผจก.ใหญ่บริหารสินค้าซุปเปอร์มารฺเก็ต กลุ่มเดอะ มอลล์ กรุ๊ป ร่วมเปิดตัว ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ทุเรียนภูเขาไฟ GI หนึ่งเดียวในโลก กรอบนอกนุ่มใน หวานมัน เนื้อละเอียดละมุนลิ้น มีให้ชิมแล้วที่ กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาเอ็มควอเทียร์,เอ็มโพเรียม,สยามพารากอน และ เดอะมอลล์ บางกะปิ พร้อมกับนำกาแฟทุเรียน และทุเรียนฯ มาให้สื่อมวลชนและลูกค้า ณ บริเวณ กูร์เมต์ มาร์เก็ตสาขาเอ็มควอเทียร์ ได้ลิ้มลอง
ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มีวางจำหน่ายในกูร์เมต์ มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้า เครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป ให้ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใน กทม.ได้ชิม เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม 2561 นี้แล้ว
ความเป็นมาของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษในอดีตเกษตรกรชาวสวนผลไม้เดิมทำไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง และพืชไร่อื่น ๆ ซึ่งมักประสบปัญหาขาดทุน ยิ่งทำก็ยิ่งจน หนี้สินยิ่งเพิ่มพูน อีกทั้งพืชเหล่านั้นต้องลงทุนใหม่ทุกปี และปีไหนผลผลิตมากราคาก็ตกต่ำ บางทีก็ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง จึงคิดหาอาชีพใหม่แทนจังหวัดศรีสะเกษ เริ่มมีการปลูกไม้ผลอย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา โดยเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 นับว่าศรีสะเกษเป็นจังหวัดแรกๆ ของภาคอีสานที่มีการปลูกทุเรียนและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ไม่แพ้ทุเรียนเจ้าตำรับจากภาคใต้ และภาคตะวันออก ซึ่งทุเรียนที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูก คือ พันธุ์หมอนทอง ปัจจุบันมีพื้นที่การปลูกทุเรียน 6,085 ไร่ โดยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอกันทรลักษ์ และขุนหาญ ปริมาณผลผลิตรวม 4,474.64 ตัน สามารถสร้างรายได้ให้จังหวัดปีละไม่น้อยกว่า 447 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีผลไม้และพืชเศรษฐกิจอีกหลายชนิดที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น เงาะ ลำไย มังคุด ลองกอง ซึ่งนับรวมแล้ว ถือว่าสร้างรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 500 ร้อยล้านบาท
ในปี พ.ศ. 2560 นายธวัช สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้สร้างอัตลักษณ์ของทุเรียนศรีสะเกษ โดยใช้ชื่อว่า “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” โดยชูคุณสมบัติเด่นของแหล่งผลิตที่ปลูกในบริเวณพื้นที่ภูเขาไฟโบราณ แถบเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ ดินจึงมีลักษณะเหนียวสีแดง ระบายน้ำดีมาก มีธาตุอาหารชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณสูง และเกษตรกรใช้น้ำใต้ดินที่มีความลึกมากกว่า 50-100 เมตร ในการให้น้ำผลไม้ จึงส่งผลให้ได้รับแร่ธาตุครบถ้วน ผลผลิตที่ได้มีรสชาติดี นอกจากนั้นด้วยลักษณะสภาพภูมิอากาศ ของจังหวัด ศรีสะเกษที่ไม่ชื้นจนเกินไป ประกอบกับแสงแดดที่มีความเข้มแสงสูง ทำให้พืชได้รับแสงอย่างเต็มที่ ทุเรียนจึงดูดธาตุอาหารจากดินมาช่วยสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื้อทุเรียนที่ได้ จึงอุดมไปด้วยธาตุอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เกิดเป็นทุเรียนที่มีคุณสมบัติเฉพาะ กล่าวคือ เนื้อทุเรียนแห้งและนุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะไม่ฉุนมาก รสชาติมันค่อนข้างหวาน ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทุเรียนทั้งภายในและต่างประเทศ จึงอาจกล่าวได้ว่า
สถานการณ์การผลิตทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษ
จากการสำรวจสถานการณ์การผลิตทุเรียน ปี 2561 พบว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ทุเรียนทั้งหมด 6,085 ไร่ เพิ่มขึ้น 988 ไร่ จากปี 2560 เนื่องจากจังหวัดมีการส่งเสริมการผลิตทุเรียนในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม (อำเภอขุนหาญ พื้นที่ 435 ไร่ เกษตรกร 87 ราย,อำเภอกันทรลักษ์ พื้นที่ 500 ไร่ เกษตรกร 100 ราย และอำเภอศรีรัตนะ พื้นที่ 65 ไร่ เกษตรกร 13 ราย) โดยทุเรียนพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดคือ พันธุ์หมอนทองซึ่งผลจากการศึกษาของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ พบว่าทุเรียนพันธุ์หมอนทองของศรีสะเกษ มีลักษณะดังนี้ สีเนื้อของทุเรียนเป็นสีเหลือง น้ำหนักผลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.65-4.99 กิโลกรัม/ผล จำนวนพู 5 พู/ผล เปอร์เซ็นต์เนื้อต่อเปอร์เซ็นต์เมล็ด เท่ากับ 88.9 : 11.1คาดการณ์ผลผลิตทุเรียนศรีสะเกษ ปี 2561 เท่ากับ 3,612.12 ตัน ลดลง 862.52 ตัน จากปี 2560 ที่มีผลผลิตรวม 4,474.64 ตัน คิดเป็นร้อยละ 19.28 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศหนาวเย็นและอิทธิพลจากพายุฤดูร้อนส่งผลให้ผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์
ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มีวางจำหน่ายในกูร์เมต์ มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้า เครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป ให้ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใน กทม.ได้ชิม เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม 2561 นี้แล้ว
ในปี พ.ศ. 2560 นายธวัช สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้สร้างอัตลักษณ์ของทุเรียนศรีสะเกษ โดยใช้ชื่อว่า “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” โดยชูคุณสมบัติเด่นของแหล่งผลิตที่ปลูกในบริเวณพื้นที่ภูเขาไฟโบราณ แถบเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ ดินจึงมีลักษณะเหนียวสีแดง ระบายน้ำดีมาก มีธาตุอาหารชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณสูง และเกษตรกรใช้น้ำใต้ดินที่มีความลึกมากกว่า 50-100 เมตร ในการให้น้ำผลไม้ จึงส่งผลให้ได้รับแร่ธาตุครบถ้วน ผลผลิตที่ได้มีรสชาติดี นอกจากนั้นด้วยลักษณะสภาพภูมิอากาศ ของจังหวัด ศรีสะเกษที่ไม่ชื้นจนเกินไป ประกอบกับแสงแดดที่มีความเข้มแสงสูง ทำให้พืชได้รับแสงอย่างเต็มที่ ทุเรียนจึงดูดธาตุอาหารจากดินมาช่วยสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื้อทุเรียนที่ได้ จึงอุดมไปด้วยธาตุอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เกิดเป็นทุเรียนที่มีคุณสมบัติเฉพาะ กล่าวคือ เนื้อทุเรียนแห้งและนุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะไม่ฉุนมาก รสชาติมันค่อนข้างหวาน ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทุเรียนทั้งภายในและต่างประเทศ จึงอาจกล่าวได้ว่า
สถานการณ์การผลิตทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษ
จากการสำรวจสถานการณ์การผลิตทุเรียน ปี 2561 พบว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ทุเรียนทั้งหมด 6,085 ไร่ เพิ่มขึ้น 988 ไร่ จากปี 2560 เนื่องจากจังหวัดมีการส่งเสริมการผลิตทุเรียนในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม (อำเภอขุนหาญ พื้นที่ 435 ไร่ เกษตรกร 87 ราย,อำเภอกันทรลักษ์ พื้นที่ 500 ไร่ เกษตรกร 100 ราย และอำเภอศรีรัตนะ พื้นที่ 65 ไร่ เกษตรกร 13 ราย) โดยทุเรียนพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดคือ พันธุ์หมอนทองซึ่งผลจากการศึกษาของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ พบว่าทุเรียนพันธุ์หมอนทองของศรีสะเกษ มีลักษณะดังนี้ สีเนื้อของทุเรียนเป็นสีเหลือง น้ำหนักผลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.65-4.99 กิโลกรัม/ผล จำนวนพู 5 พู/ผล เปอร์เซ็นต์เนื้อต่อเปอร์เซ็นต์เมล็ด เท่ากับ 88.9 : 11.1คาดการณ์ผลผลิตทุเรียนศรีสะเกษ ปี 2561 เท่ากับ 3,612.12 ตัน ลดลง 862.52 ตัน จากปี 2560 ที่มีผลผลิตรวม 4,474.64 ตัน คิดเป็นร้อยละ 19.28 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศหนาวเย็นและอิทธิพลจากพายุฤดูร้อนส่งผลให้ผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์
กาแฟทุเรียนภูเขาไฟ หอมเข้ม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น