คุณฟุมิ ซาซาดะ ประธานและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บราวิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Bravis International) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Branding Consultant และ Branding Design เปิดเผยว่า บริษัท บราวิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ก่อตั้งในปี ค.ศ.1996 โดยเริ่มจากทีมงานเพียง 5 ท่าน ก่อนจะขยายมาเป็น 108 ท่านในปัจจุบัน โดยมีธุรกิจหลักทางด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และการสร้างแบรนด์ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และสาขาในอีกหลายประเทศ ประกอบด้วย เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน,โซล เกาหลี, นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา, โลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์, บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา และ ไทเป ไต้หวัน หนึ่งในตัวอย่างผลงานอันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของ BRAVIS คือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาพร้อมดื่ม “เชามิน” ผลิตภัณฑ์โดยบริษัทUni-President ในประเทศจีน โดยรับโจทย์การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากตัวละครในตำราเรียนของเด็กๆ จนทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในจีน สร้างยอดขายดีเป็นอันดับ 1 ในปีที่ทำการวางตลาด พร้อมทั้งรางวัล Gold Pentaward 2015 ทางด้านการดีไซน์ยอดเยี่ยม และทำให้ชื่อของ BRAVIS มีชื่อเสียงมากในจีน
กล่าวได้ว่าในครั้งนั้น BRAVIS ได้พลิกภาพลักษณ์ของสินค้าชาพร้อมดื่ม ซึ่งไม่เป็นที่นิยมนักสำหรับวัยรุ่นในจีน ให้กลับมาเป็นสินค้าขายดีอีกครั้ง ด้วยการออกแบบแพ็กเกจจิ้งที่มีลักษณะสดใส ผ่านตัวละครที่ผูกพันในวัยเยาว์ และมุขตลกที่เพิ่มเติมลงไป
สำหรับประเทศไทย BRAVIS ได้เข้ามาเปิดตลาดราว 3 ปี ที่ผ่านมามีลูกค้าให้ความสนใจใช้บริการแล้ว อาทิ ผลิตภัณฑ์ประเภทชีส ของฟาร์มโชคชัย, Malee Jelijoop และ BSC Cornsoy โดยต่อจากนี้ไปยังคงขยายตลาดสู่สินค้าระดับพรีเมียมอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตที่ดี ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่น มีคู่แข่งอยู่มากมาย โดยมีบริษัทที่ให้บริการด้านนี้มากกว่า 4,000 แห่ง แต่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็ก ซึ่งมีพนักงานเพียง 2-10 คน โดยมีบริษัทใหญ่อยู่ประมาณ 10 แห่ง
“การเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งมีความสำคัญมากต่อยอดขาย มีกรณีศึกษาจากสินค้าอาหารเด็กของเมจิ ที่หันมาปรับดีไซน์และแพ็กเกจ ด้วยการเปลี่ยนรูป ขยายขนาดตัวอักษร 2.5 เท่า จนทำให้สินค้าขายดีมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีกรณีศึกษา ในการปรับเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งจนทำให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าเดิมไม่ได้ จนส่งผลกระทบต่อยอดขาย ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นกับ BRAVIS”
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะการปรับโฉมบรรจุภัณฑ์ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมยอดขาย โดยคุณฟุมิ เล่าต่อว่า ในประเทศญี่ปุ่น การปรับโฉมแพ็กเกจจิ้งเป็นเรื่องที่ทำกันเป็นปกติ เรียกได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ปี สำหรับสินค้าบางตัว หรือ 5-10 ปีสำหรับสินค้าอีกหลายชนิด เนื่องจากเจ้าของสินค้าต้องการความแปลกใหม่อยู่เสมอ
นอกจากนี้สีก้อมีส่วนทำให้"แพ็กเกจจิ้ง"น่าสนใจ อย่างเช่น ถ้าเป็นอาหาร "แพ็กเกจจิ้ง"ก้อจะเน้นไปในทางสีแดง เพราะจะทำให้อาหารน่ารับประทานมากขึ้น
จุดเด่นของ BRAVIS คือ การเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบให้กับแบรนด์สินค้าระดับสากลมาถึง 22 ปี อีกทั้งยังมีเครือข่ายสำนักงานและนักออกแบบในหลายประเทศ พร้อมด้วยความเชี่ยวชาญในการสร้างแบรนด์ เพื่อผลักดันความสำเร็จทางด้านการตลาดให้กับลูกค้า ซึ่งถือว่า มีเพียงไม่กี่บริษัทที่มีความพร้อมทั้งสองด้าน โดยคู่แข่งหลักของ BRAVIS คือบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งจับกลุ่มเป้าหมายลูกค้าระดับพรีเมียม
ทั้งนี้ บริษัท บราวิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้กำหนดจัดงาน“Bravis Branding Seminar” ในวันที่ 9 สิงหาคม 2561 เวลา 13.00-18.00 น. ณ แกรนด์บอลรูม โรงแรมเรดิสัน บลู พลาซ่า สุขุมวิท 27
นำโดย “ฟุมิ ซาซาดะ” พร้อมแขกรับเชิญจากแบรนด์ชั้นนำอย่าง AJINOMOTO และ Meiji งานสัมมนานี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สามารถลงทะเบียนได้ทาง e-mail : bbs.bravis@gmail.com tel. : 081-822-0646 ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 5 สิงหาคม 2561
เกี่ยวกับคุณฟุมิ ซาซาดะ
ประธานและประธานกรรมการบริหาร
บริษัท บราวิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
คุณฟุมิ ซาซาดะ เกิดที่ประเทศญี่ปุ่น และ ท่านได้ไปศึกษาต่อในระดับมัธยมปลายและระดับมหาวิทยาลัยที่เมืองลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากสำเร็จการศึกษาในปีพ.ศ.2518 จากวิทยาลัยศูนย์การออกแบบศิลปะที่พาซาเดนา สาขาวิชากราฟฟิกและบรรจุภัณฑ์ คุณฟุมิ ซาซาดะ เริ่มทำงานที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทแลนดอร์ แอสโซซิเอทส์ (Landor Associates) ในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีพ.ศ.2535 คุณซาซาดะ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนและรักษาการตำแหน่งประธานบริษัทแลนดอร์ แอสโซซิเอทส์ (Landor Associates) ในกรุงโตเกียว จนกระทั่ง ในปีพ.ศ.2539 คุณซาซาดะ ได้ก่อตั้งบริษัทบราวิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขึ้น
นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึง ปีพ.ศ.2557 ท่านได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ประเทศญี่ปุ่น (JPDA) และในปี พ.ศ 2558 ท่านยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินเพื่อคัดเลือก “ตราสัญลักษณ์ประจำงานโตเกียวโอลิมปิค และ งานพาราลิมปิค ปี 2020 ” อีกด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น