เที่ยวนครศรีธรรมราช ห้ามพลาด 5 หลาดสุดหรอย ช้อป ชิม ชม ของอร่อย และศิลปวัฒนธรรม แห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
เมืองนครศรีธรรมราช เป็นนครแห่งการเรียนรู้ ที่มีประวัติอันยาวนานไม่น้อยกว่า 1800 ปี จึงมีมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมามากมายถึงปัจจุบัน ทั้งด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ประติมา กรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ช่างฝีมือพื้นบ้าน การละเล่น รวมทั้งวิถีชีวิตของผู้คน และอาหารการกิน ก็มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของภาคใต้ ทุกวันนี้สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งของภาคใต้ก็เป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกอยากมาปักหมุด
แต่เมื่อโลกก้าวหน้าเร็วขึ้น เสน่ห์ของอดีตที่หายไปกลับยิ่งเด่นชัด จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงร่วมมือกับ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช เอกชนและชุมชน ร่วมกันฟื้นฟูวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ของชาวนครศรีธรรมราชที่อาจเลือนหายไป ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในรูปแบบของ หลาดหรือตลาดแนวย้อนยุค ซึ่งทั้ง 5 หลาดที่จะนำเสนอนี้ มีความน่าสนใจแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือทำให้ผู้มาเยือนได้เรียนรู้และสัมผัสกับวิถีคนเมืองคอน ในหลายด้านทั้ง ศิลปะ วัฒนธรรม อาหาร การเกษตร การท่องเที่ยว และความร่วมมือร่วมใจของชุมชน
"หลาดหน้าพระธาตุ"
“ตลาดต้องชม บนถนนสายธรรม”
หลาดหน้าพระธาตุ บนถนนราชดำเนิน ช่วงหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร “ตลาดต้องชม บนถนนสายธรรม” แหล่งรวมของอร่อย ศิลปะและวัฒนธรรม วิถีของคนคอน เปิดทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลาสี่โมงเย็น ถึงสี่ทุ่ม จัดตั้งขึ้นภายใต้แนวคิด “ไม่ได้สร้างถนนคนเดินเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการเผยแพร่ และอนุรักษ์วัฒนธรรมของนครฯ พร้อมกับสร้างเศรษฐกิจในท้องถิ่น” พื้นที่ของหลาดหน้าพระธาตุ แบ่งเป็น 3 โซน คือ โซนศิลปวัฒนธรรม มีการออกร้านแนว DIY การสาธิตทำผ้าบาติก หนังตะลุง ย้อมผ้า, โซน OTOP หัตถกรรม จำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ของดีมีคุณภาพ เมืองนครศรีฯ และโซนอาหาร ซึ่งมีอาหารพื้นถิ่น ของกินอร่อยทั้งคาวหวานสารพัด รวมร้านค้าของหลาดแห่งนี้มีประมาณ 300 กว่าคูหา พ่อค้าแม่ขายเป็นคนในพื้นที่ซึ่งผ่านการคัดเลือกเข้ามา ตลาดสไตล์ย้อนยุคแห่งนี้จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยของกินของใช้ให้เลือกชมเลือกซื้อมากมาย
จุดเด่นของหลาดหน้าพระธาตุ คือ บรรยากาศของตลาด พ่อค้าแม่ค้าหลายๆ ร้านแต่งกายแบบไทยๆ มาขายของ ใครที่สนใจอยากลองชิมของกินพื้นบ้าน มาที่นี่ไม่ผิดหวัง เพราะมีให้เลือกตลอดทาง ไม่ว่าจะเป็น ขนมจีน ข้าวยำ ไตปลา น้ำชุบตะไคร้ อาหารสมุนไพรห่อใบตองปิ้ง เหนียวห่อกล้วย (ข้าวต้มมัด) ขนมค่อม (ขนมสอดไส้) จำปาดะทอด ตอกคง (ข้าวโพดคั่ว) ขนมฝรั่งหน้าเบื้อง ขนมขี้มอด ยาหนม (กาละแม) ยาร่วงผัดน้ำตาลโตนด (มะม่วงหิมพานต์ฉาบน้ำตาล) โดยภาชนะที่ใส่อาหารนั้นเน้นวัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ใบตอง ถุงกระดาษ กะลามะพร้าว และที่น่ารักคือ หลายร้านค้าจะมีถุงรับฝากขยะให้ทิ้งได้ เป็นการช่วยดูแลความสะดวกอีกทางหนึ่ง เดินไปกินไปจนเหนื่อย หากอยากนั่งพักชมการแสดงต่างๆ มาจับจองพื้นที่กันได้ที่ ลานวัฒนธรรม ที่แบ่งเป็น 3 ลาน เปิดกว้างสำหรับทุกคนที่มีความสามารถ ทั้งการแสดงเชิงศิลปวัฒนธรรม ดนตรี หรือโชว์ความสามารถ ต่างๆ ดังนี้ลาน 1 การแสดงเชิงศิลปวัฒนธรรม แบบท้องถิ่น เช่น มโนราห์ หนังตะลุง เพลงบอก ร็องเง็ง ลิเกฮูลู นาฏศิลป์ ลาน 2 การแสดงดนตรี ขับร้อง สไตล์ต่างๆ นาฏศิลป์ประยุกต์ ลาน 3 การแสดงเปิดหมวกของนักเรียน นักศึกษา หรือต้องการเข้าไหว้หรือชมความงดงามของวัดพระมหาธาตุฯ ในช่วงค่ำก็เป็นโอกาสดี เพราะวันปกติทางวัดปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้านมัสการองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในเวลา 17.00 น. แต่ในวันเสาร์ที่มีหลาด ทางวัดจะเปิดให้เข้า จนถึงเวลา 21.00 น. เรียกว่า เดินเที่ยวกันแบบ อิ่มบุญ อิ่มท้อง เลยก็ว่าได้
ตลาดริมน้ำเชียรใหญ่
....มาคอน ต้องนอนเชียรใหญ่....
จากลานกว้างริมแม่น้ำเชียรใหญ่อันกว้างใหญ่ สวยงาม สะอาด ไร้มลพิษ ที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย ได้รับการต่อยอดให้เพิ่มจุดขายเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ กลายมาเป็นตลาดริมน้ำเชียรใหญ่ เปิดทุกวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 15.00-21.00 น.พ่อค้าแม่ค้าที่มาขายก็อยู่ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นหลัก มีการตกแต่งร้านค้าเป็นซุ้มไม้ไผ่หลังคามุงจาก ให้บรรยากาศย้อนยุคแบบไทยๆ มีจำหน่ายทั้ง ผลิตภัณฑ์โอท็อป อาหารพื้นบ้าน ของหวานพื้นเมือง รสชาติอร่อยมีคุณภาพ ใครมาเที่ยวตลาดแห่งนี้ต้องห้ามพลาด แกงส้มปลากดลูกเถาคัน กุ้งแม่น้ำสดๆ ขนมจีนแกงน้ำเคย ซึ่งน้ำเคยเป็นเมนูอาหารพื้นบ้าน หมี่ผัด ข้าวยำ ส่วนของหวานแบบพื้นบ้าน มีทั้งขนมจาก ขนมลา ข้าวเหนียวสองดัง ขนมครก ซึ่งรสชาติจะต่างจากกรุงเทพ หลายเมนูมีการบรรจุในภาชนะที่ทำจากธรรมชาติ อาทิ กระทง หมาจาก กระบอกไม้ไผ่ ภาชนะจักสาน ดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น
ทางเทศบาลตำบลเชียรใหญ่ยังมีแนวคิดนำต้นจาก พืชสำคัญของท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นสินค้าชุมชน ได้แก่ น้ำส้มจาก และสาโท อีกด้วย ใครที่เดินช้อปจนเมื่อยก็มีพื้นที่นั่งทานอาหารและชมวิวหลายจุด อิ่มแล้วอย่าลืมเดินไปชมการแสดงพื้นบ้านที่ลานกิจกรรม เพื่อให้กำลังใจพี่ๆน้องๆ ที่มาแสดงสลับสับเปลี่ยนกันไปแต่ละสัปดาห์ เช่น มโนราห์ หรือศิลปะพื้นบ้านอื่นๆ รวมถึงอุดหนุนงานฝีมือของผู้เฒ่าผู้แก่ที่มาสาธิตการทำภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ เช่น หมาจากตักน้ำ เป็นต้น ถ้าอยากใกล้ชิดแม่น้ำแบบไม่ต้องเปียกแถมได้ออกกำลังขา ทางตลาดแห่งนี้มีเรือถีบให้บริการด้วย และในบริเวณใกล้ๆ กัน ยังมี ศาลเจ้าทวดปากเชียร ที่ชาวเชียรใหญ่มักจะมาสักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
แต่หากต้องการสัมผัสกับวิถีชีวิตชุมชนชาวเชียรใหญ่แบบลงลึกมากกว่านี้ ต้องจัดโปรแกรม One Day Trip คือ ล่องเรือชมบรรยากาศแม่น้ำเชียรใหญ่และวิถีชีวิตชุมชนริมฝั่งคลอง แวะทำบุญไหว้พระที่วัดสำคัญที่อยู่คู่กับชาวอำเภอเชียรใหญ่มานาน อย่างเช่น วัดแม่เจ้าอยู่หัว ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพระนางพระมเหสีเอกของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ 5 หรือพระเจ้าสีหราช แห่งนครศรีธรรมราช (ตามพรลิงค์) ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่
ความเป็นมาของตำนานพระนางเลือดขาว คือ พระนางเป็นคนงามด้วยเบญจกัลยาณี คือ ผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม และวัยงาม มีนิสัยโอบอ้อมอารี เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีเลือดสีขาวแต่กำเนิด เมื่อคราวช่วยงานในหมู่บ้าน ทำหน้าที่เจียนหมากพลูจนกรรไกรหนีบนิ้วมีเลือดไหลออกมาเป็นสีขาวต่อหน้าผู้คนที่มาร่วมงาน จนร่ำลือถึงพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 5 แห่งนครศรีธรรมราช (ตามพรลิงค์) ณ เมืองพระเวียง จนคราวศึกเมืองทะรังหรือเมืองกันตังแข็งข้อ หลังชนะศึกชนช้าง ระหว่างพักแรมกลางทางกลับ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงพระสุบินเห็นสตรีมีลักษณะงดงามตามเบญจกัลยาณี มีใจกุศล เป็นคู่บุญบารมี พำนักอยู่ทางทิศใต้ตามเส้นทางหาดทรายแก้ว และมีเลือดสีขาว
เมื่อเข้าเมืองนครศรีธรรมราช นมัสการพระบรมธาตุแล้วจึงจัดขบวนเสด็จออกค้นหาจนถึงสำนักพ่อท่านขรัว ได้พบพระนางเลือดขาวที่มารับเสด็จ โดยขณะทอผ้าถวายได้ทำตรน (อุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่มีความคมมาก) บาดนิ้วเลือดออกเป็นสีขาว จึงขอพระนางไปเป็นพระนางเมือง พระนางได้ปรนนิบัติรับใช้ ทำนุบำรุงพระพุทธ ศาสนามากมาย เป็นที่รักของไพร่ฟ้า พระนางเลือดขาว พร้อมกับราษฎรที่ศรัทธาในตัวพระนางได้ร่วมกันสร้างวัดแม่เจ้าอยู่หัวขึ้นมา เพื่อเป็นอารามในการประพฤติธรรมในยามที่ทรงชรา และอุทิศบุญกุศลให้กับบ้านเมือง แต่ถึงกระนั้นก็ยังถูกกลั่นแกล้งจากพระสนมอื่น ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นแม่เจ้าอยู่หัว พระนางเลือดขาวอัครมเหสี จึงได้ขอต่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชว่าหากสิ้นพระชนม์ลงขอให้นำศพกลับบ้านเกิด ต่อมาข่าวที่พระนางถูกกลั่นแกล้งทราบถึงพ่อท่านขรัว จึงได้เดินทางมาขอบิณฑบาตรับแม่เจ้าอยู่หัวกลับบ้านเดิม พระองค์ทรงอนุญาตพร้อมทั้งให้สร้างวังขึ้นริมฝั่งแม่น้ำปากพนัง (บ้านในวัง ตำบลแม่เจ้าอยู่หัวปัจจุบัน) แต่การสร้างล่าช้าเพราะพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงประวิงเวลาไว้ไม่อยากให้พระนางกลับบ้านเดิม
จนกระทั่งคราวแม่เจ้าอยู่หัว เสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่เมืองทะรัง (ตรัง) ได้สิ้นพระชนม์ระหว่างทางขณะประทับแรมด้วยกลด พระศพถูกอัญเชิญกลับสู่เมืองนครศรีธรรมราช (เมืองพระเวียง) ตั้ง ณ วัดท้าวโคตร แล้วจัดขบวนทางน้ำตามลำคลองท่าเรือ ออกทะเลปากนคร เข้าแม่น้ำปากพนัง (ปากพระนาง) มาขึ้นฝั่งที่บ้านหน้าโกศ จนถึงสำนักพ่อท่านขรัว (บริเวณวัดบ่อล้อปัจจุบัน) ถวายพระเพลิงแล้วนำพระอัฐิและพระอังคารประดิษฐานในมณฑปสูง 12 วา มีเจดีย์บริวารโดยรอบ ณ วัดแม่เจ้าอยู่หัว
มาถึงจุดที่น่าแวะอีกแห่งหนึ่งคือ บ้านยาย โฮมสเตย์ ฟังแค่ชื่ออาจเฉยๆ แต่ถ้ามาเห็นกับตารับรองต้องร้องว้าว เพราะทุกพื้นที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ห้องพักเป็นเรือนไม้แบบสมัยก่อน มีดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่เก๋ไก๋ ใช้วัสดุจากธรรมชาติตกแต่งได้อย่างลงตัว
นอกจากจะได้สัมผัสที่พักและบรรยากาศ ราคาหลักล้านแล้ว เมื่อบวกกับแนวคิดของเจ้าของโฮมสเตย์ที่ว่า “คุณกอดยายครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่” สถานที่แห่งนี้อาจปลุกความทรงจำในวัยเด็กของผู้มาเยือนให้กลับมาอีกครั้ง
หมู่บ้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองนคร
“หลาดกรีน ภูมิปัญญา ตลาดเที่ยวได้ ... สไตล์ไทยๆ”
เมืองคอน เป็นเมืองประวัติศาสตร์ จึงมีงานศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น งานฝีมือ หัตถกรรม ต่างๆ มากมาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่นับวันมรดกทางด้านวัฒนธรรมเหล่านี้เริ่มสูญหายไปเพราะขาดการสืบทอดต่อ อาจารย์ทวี พลายด้วง ศิลปินชาวนครศรีธรรมราช ผู้ทรงความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงริเริ่มจัดสร้าง “หมู่บ้านภูมิปัญญา” บนพื้นที่ 12 ไร่ของตนเองที่ ซอยบ้านวัดลาว ต.ท่าเรือ อ.เมืองนครศรีฯ เพื่อเป็นศูนย์บ่มเพาะ ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช โดยคิดรวบรวมและสร้างกิจกรรมวัฒนธรรมให้เห็นถึงวิถีของอดีต เห็นความเป็นปัจจุบัน และสามารถสืบสานต่ออย่างมีอนาคต
จุดเด่นของ หมู่บ้านภูมิปัญญา สวนอาจารย์ทวี ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนได้เสมอคือ หลาดกรีนภูมิปัญญา ที่เสริมสร้างศักยภาพและยกระดับการท่องเที่ยว วิถีไทย ในเรื่องของเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตชุมชนที่มีความโดดเด่น เรียกว่าเป็นตลาดท่องเที่ยวของคนทุกเพศทุกวัย ภายใต้แนวคิด “ตลาดเที่ยวได้ ... สไตล์ไทยๆ” โดยมี ครกสียักษ์ ซึ่งทำจากเครื่องจักสานเป็นสัญลักษณ์ของที่นี่ เพราะสื่อถึงความสำคัญเบื้องต้นของวิถีชีวิตและชุมชนคือ เครื่องกินเครื่องใช้
หลาดกรีน สวน อ.ทวี นอกจากสร้างความสุขให้คนมาเยี่ยมชมแล้ว ยังสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เสริมเม็ดเงินให้หมุนเวียนให้ระบบเศรษฐกิจชุมชนด้วย เพราะสินค้าที่มาขายในตลาดกรีนภูมิปัญญา เป็นฝีมือการผลิตของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น สินค้าจากภูมิปัญญา งานศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ผ้าทอ เครื่องจักสาน เครื่องประดับจากกะลามะพร้าว สินค้ากระจูดมีทั้งกระเป๋า เสื่อ ยิ่งในด้านอาหารการกิน หลาดแห่งนี้มีของหรอยๆ ไม่แพ้ที่อื่น แม่ค้าพ่อค้าน่ารักใจดีทุกร้าน เตรียมเมนูอร่อยไว้ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยน้ำใจไมตรี ทั้ง ผัดไทยโบราณสูตรเด็ด ขนมจีนแกงเคย น้ำยาต่างๆ ข้าวแกงรสเด็ด ผัดหมี่ กล้วยทอด ข้าวเม่า ข้าวต้มมัด ผักสด ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นก็มีอีกหลากหลาย โดยใส่ภาชนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สถานที่แห่งนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นศูนย์บ่มเพาะด้านความรู้วิถีชีวิตชุมชน โดยคิดหลักสูตรที่จะรวมช่างของเมืองนครกว่า 100 หลักสูตร ให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ภูมิปัญญาซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถนำไปทำมาหาเลี้ยงชีพได้ เช่น ผลิตภัณฑ์จากกาบหมาก ผลิตภัณฑ์ผ้าพระบถ โครงการเรือนมพระ ของเล่นเด็กจากใบลาน การปลูกข้าวโดยไม่ต้องทำนา การทำข้าวใหม่ปลามัน การปลูกพืชแบบอนาถาพาตัวรอด ฯลฯ รวมทั้งมีพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตที่เชื่อมโยงเครื่องมือเครื่องใช้กับวิถีชีวิต อย่าง เครื่องสีข้าวโบราณ โรงขนมจีน
หมู่บ้านภูมิปัญญา ถือว่าเป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีครบทุกคุณค่าทั้ง ความอร่อย สวยงาม ประณีต ราคาไม่แพง มีกิจกรรมดนตรี ศิลปะท้องถิ่น การละเล่นพื้นบ้าน ให้ชม แถมมีมุมสบายๆ ให้เลือกนั่ง
แต่เมื่อโลกก้าวหน้าเร็วขึ้น เสน่ห์ของอดีตที่หายไปกลับยิ่งเด่นชัด จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงร่วมมือกับ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช เอกชนและชุมชน ร่วมกันฟื้นฟูวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ของชาวนครศรีธรรมราชที่อาจเลือนหายไป ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในรูปแบบของ หลาดหรือตลาดแนวย้อนยุค ซึ่งทั้ง 5 หลาดที่จะนำเสนอนี้ มีความน่าสนใจแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือทำให้ผู้มาเยือนได้เรียนรู้และสัมผัสกับวิถีคนเมืองคอน ในหลายด้านทั้ง ศิลปะ วัฒนธรรม อาหาร การเกษตร การท่องเที่ยว และความร่วมมือร่วมใจของชุมชน
"หลาดหน้าพระธาตุ"
“ตลาดต้องชม บนถนนสายธรรม”
หลาดหน้าพระธาตุ บนถนนราชดำเนิน ช่วงหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร “ตลาดต้องชม บนถนนสายธรรม” แหล่งรวมของอร่อย ศิลปะและวัฒนธรรม วิถีของคนคอน เปิดทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลาสี่โมงเย็น ถึงสี่ทุ่ม จัดตั้งขึ้นภายใต้แนวคิด “ไม่ได้สร้างถนนคนเดินเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการเผยแพร่ และอนุรักษ์วัฒนธรรมของนครฯ พร้อมกับสร้างเศรษฐกิจในท้องถิ่น” พื้นที่ของหลาดหน้าพระธาตุ แบ่งเป็น 3 โซน คือ โซนศิลปวัฒนธรรม มีการออกร้านแนว DIY การสาธิตทำผ้าบาติก หนังตะลุง ย้อมผ้า, โซน OTOP หัตถกรรม จำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ของดีมีคุณภาพ เมืองนครศรีฯ และโซนอาหาร ซึ่งมีอาหารพื้นถิ่น ของกินอร่อยทั้งคาวหวานสารพัด รวมร้านค้าของหลาดแห่งนี้มีประมาณ 300 กว่าคูหา พ่อค้าแม่ขายเป็นคนในพื้นที่ซึ่งผ่านการคัดเลือกเข้ามา ตลาดสไตล์ย้อนยุคแห่งนี้จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยของกินของใช้ให้เลือกชมเลือกซื้อมากมาย
จุดเด่นของหลาดหน้าพระธาตุ คือ บรรยากาศของตลาด พ่อค้าแม่ค้าหลายๆ ร้านแต่งกายแบบไทยๆ มาขายของ ใครที่สนใจอยากลองชิมของกินพื้นบ้าน มาที่นี่ไม่ผิดหวัง เพราะมีให้เลือกตลอดทาง ไม่ว่าจะเป็น ขนมจีน ข้าวยำ ไตปลา น้ำชุบตะไคร้ อาหารสมุนไพรห่อใบตองปิ้ง เหนียวห่อกล้วย (ข้าวต้มมัด) ขนมค่อม (ขนมสอดไส้) จำปาดะทอด ตอกคง (ข้าวโพดคั่ว) ขนมฝรั่งหน้าเบื้อง ขนมขี้มอด ยาหนม (กาละแม) ยาร่วงผัดน้ำตาลโตนด (มะม่วงหิมพานต์ฉาบน้ำตาล) โดยภาชนะที่ใส่อาหารนั้นเน้นวัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ใบตอง ถุงกระดาษ กะลามะพร้าว และที่น่ารักคือ หลายร้านค้าจะมีถุงรับฝากขยะให้ทิ้งได้ เป็นการช่วยดูแลความสะดวกอีกทางหนึ่ง เดินไปกินไปจนเหนื่อย หากอยากนั่งพักชมการแสดงต่างๆ มาจับจองพื้นที่กันได้ที่ ลานวัฒนธรรม ที่แบ่งเป็น 3 ลาน เปิดกว้างสำหรับทุกคนที่มีความสามารถ ทั้งการแสดงเชิงศิลปวัฒนธรรม ดนตรี หรือโชว์ความสามารถ ต่างๆ ดังนี้ลาน 1 การแสดงเชิงศิลปวัฒนธรรม แบบท้องถิ่น เช่น มโนราห์ หนังตะลุง เพลงบอก ร็องเง็ง ลิเกฮูลู นาฏศิลป์ ลาน 2 การแสดงดนตรี ขับร้อง สไตล์ต่างๆ นาฏศิลป์ประยุกต์ ลาน 3 การแสดงเปิดหมวกของนักเรียน นักศึกษา หรือต้องการเข้าไหว้หรือชมความงดงามของวัดพระมหาธาตุฯ ในช่วงค่ำก็เป็นโอกาสดี เพราะวันปกติทางวัดปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้านมัสการองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในเวลา 17.00 น. แต่ในวันเสาร์ที่มีหลาด ทางวัดจะเปิดให้เข้า จนถึงเวลา 21.00 น. เรียกว่า เดินเที่ยวกันแบบ อิ่มบุญ อิ่มท้อง เลยก็ว่าได้
ตลาดริมน้ำเชียรใหญ่
....มาคอน ต้องนอนเชียรใหญ่....
จากลานกว้างริมแม่น้ำเชียรใหญ่อันกว้างใหญ่ สวยงาม สะอาด ไร้มลพิษ ที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย ได้รับการต่อยอดให้เพิ่มจุดขายเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ กลายมาเป็นตลาดริมน้ำเชียรใหญ่ เปิดทุกวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 15.00-21.00 น.พ่อค้าแม่ค้าที่มาขายก็อยู่ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นหลัก มีการตกแต่งร้านค้าเป็นซุ้มไม้ไผ่หลังคามุงจาก ให้บรรยากาศย้อนยุคแบบไทยๆ มีจำหน่ายทั้ง ผลิตภัณฑ์โอท็อป อาหารพื้นบ้าน ของหวานพื้นเมือง รสชาติอร่อยมีคุณภาพ ใครมาเที่ยวตลาดแห่งนี้ต้องห้ามพลาด แกงส้มปลากดลูกเถาคัน กุ้งแม่น้ำสดๆ ขนมจีนแกงน้ำเคย ซึ่งน้ำเคยเป็นเมนูอาหารพื้นบ้าน หมี่ผัด ข้าวยำ ส่วนของหวานแบบพื้นบ้าน มีทั้งขนมจาก ขนมลา ข้าวเหนียวสองดัง ขนมครก ซึ่งรสชาติจะต่างจากกรุงเทพ หลายเมนูมีการบรรจุในภาชนะที่ทำจากธรรมชาติ อาทิ กระทง หมาจาก กระบอกไม้ไผ่ ภาชนะจักสาน ดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น
แต่หากต้องการสัมผัสกับวิถีชีวิตชุมชนชาวเชียรใหญ่แบบลงลึกมากกว่านี้ ต้องจัดโปรแกรม One Day Trip คือ ล่องเรือชมบรรยากาศแม่น้ำเชียรใหญ่และวิถีชีวิตชุมชนริมฝั่งคลอง แวะทำบุญไหว้พระที่วัดสำคัญที่อยู่คู่กับชาวอำเภอเชียรใหญ่มานาน อย่างเช่น วัดแม่เจ้าอยู่หัว ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพระนางพระมเหสีเอกของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ 5 หรือพระเจ้าสีหราช แห่งนครศรีธรรมราช (ตามพรลิงค์) ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่
ความเป็นมาของตำนานพระนางเลือดขาว คือ พระนางเป็นคนงามด้วยเบญจกัลยาณี คือ ผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม และวัยงาม มีนิสัยโอบอ้อมอารี เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีเลือดสีขาวแต่กำเนิด เมื่อคราวช่วยงานในหมู่บ้าน ทำหน้าที่เจียนหมากพลูจนกรรไกรหนีบนิ้วมีเลือดไหลออกมาเป็นสีขาวต่อหน้าผู้คนที่มาร่วมงาน จนร่ำลือถึงพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 5 แห่งนครศรีธรรมราช (ตามพรลิงค์) ณ เมืองพระเวียง จนคราวศึกเมืองทะรังหรือเมืองกันตังแข็งข้อ หลังชนะศึกชนช้าง ระหว่างพักแรมกลางทางกลับ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงพระสุบินเห็นสตรีมีลักษณะงดงามตามเบญจกัลยาณี มีใจกุศล เป็นคู่บุญบารมี พำนักอยู่ทางทิศใต้ตามเส้นทางหาดทรายแก้ว และมีเลือดสีขาว
เมื่อเข้าเมืองนครศรีธรรมราช นมัสการพระบรมธาตุแล้วจึงจัดขบวนเสด็จออกค้นหาจนถึงสำนักพ่อท่านขรัว ได้พบพระนางเลือดขาวที่มารับเสด็จ โดยขณะทอผ้าถวายได้ทำตรน (อุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่มีความคมมาก) บาดนิ้วเลือดออกเป็นสีขาว จึงขอพระนางไปเป็นพระนางเมือง พระนางได้ปรนนิบัติรับใช้ ทำนุบำรุงพระพุทธ ศาสนามากมาย เป็นที่รักของไพร่ฟ้า พระนางเลือดขาว พร้อมกับราษฎรที่ศรัทธาในตัวพระนางได้ร่วมกันสร้างวัดแม่เจ้าอยู่หัวขึ้นมา เพื่อเป็นอารามในการประพฤติธรรมในยามที่ทรงชรา และอุทิศบุญกุศลให้กับบ้านเมือง แต่ถึงกระนั้นก็ยังถูกกลั่นแกล้งจากพระสนมอื่น ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นแม่เจ้าอยู่หัว พระนางเลือดขาวอัครมเหสี จึงได้ขอต่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชว่าหากสิ้นพระชนม์ลงขอให้นำศพกลับบ้านเกิด ต่อมาข่าวที่พระนางถูกกลั่นแกล้งทราบถึงพ่อท่านขรัว จึงได้เดินทางมาขอบิณฑบาตรับแม่เจ้าอยู่หัวกลับบ้านเดิม พระองค์ทรงอนุญาตพร้อมทั้งให้สร้างวังขึ้นริมฝั่งแม่น้ำปากพนัง (บ้านในวัง ตำบลแม่เจ้าอยู่หัวปัจจุบัน) แต่การสร้างล่าช้าเพราะพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงประวิงเวลาไว้ไม่อยากให้พระนางกลับบ้านเดิม
จนกระทั่งคราวแม่เจ้าอยู่หัว เสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่เมืองทะรัง (ตรัง) ได้สิ้นพระชนม์ระหว่างทางขณะประทับแรมด้วยกลด พระศพถูกอัญเชิญกลับสู่เมืองนครศรีธรรมราช (เมืองพระเวียง) ตั้ง ณ วัดท้าวโคตร แล้วจัดขบวนทางน้ำตามลำคลองท่าเรือ ออกทะเลปากนคร เข้าแม่น้ำปากพนัง (ปากพระนาง) มาขึ้นฝั่งที่บ้านหน้าโกศ จนถึงสำนักพ่อท่านขรัว (บริเวณวัดบ่อล้อปัจจุบัน) ถวายพระเพลิงแล้วนำพระอัฐิและพระอังคารประดิษฐานในมณฑปสูง 12 วา มีเจดีย์บริวารโดยรอบ ณ วัดแม่เจ้าอยู่หัว
มาถึงจุดที่น่าแวะอีกแห่งหนึ่งคือ บ้านยาย โฮมสเตย์ ฟังแค่ชื่ออาจเฉยๆ แต่ถ้ามาเห็นกับตารับรองต้องร้องว้าว เพราะทุกพื้นที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ห้องพักเป็นเรือนไม้แบบสมัยก่อน มีดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่เก๋ไก๋ ใช้วัสดุจากธรรมชาติตกแต่งได้อย่างลงตัว
นอกจากจะได้สัมผัสที่พักและบรรยากาศ ราคาหลักล้านแล้ว เมื่อบวกกับแนวคิดของเจ้าของโฮมสเตย์ที่ว่า “คุณกอดยายครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่” สถานที่แห่งนี้อาจปลุกความทรงจำในวัยเด็กของผู้มาเยือนให้กลับมาอีกครั้ง
หมู่บ้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองนคร
“หลาดกรีน ภูมิปัญญา ตลาดเที่ยวได้ ... สไตล์ไทยๆ”
เมืองคอน เป็นเมืองประวัติศาสตร์ จึงมีงานศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น งานฝีมือ หัตถกรรม ต่างๆ มากมาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่นับวันมรดกทางด้านวัฒนธรรมเหล่านี้เริ่มสูญหายไปเพราะขาดการสืบทอดต่อ อาจารย์ทวี พลายด้วง ศิลปินชาวนครศรีธรรมราช ผู้ทรงความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงริเริ่มจัดสร้าง “หมู่บ้านภูมิปัญญา” บนพื้นที่ 12 ไร่ของตนเองที่ ซอยบ้านวัดลาว ต.ท่าเรือ อ.เมืองนครศรีฯ เพื่อเป็นศูนย์บ่มเพาะ ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช โดยคิดรวบรวมและสร้างกิจกรรมวัฒนธรรมให้เห็นถึงวิถีของอดีต เห็นความเป็นปัจจุบัน และสามารถสืบสานต่ออย่างมีอนาคต
จุดเด่นของ หมู่บ้านภูมิปัญญา สวนอาจารย์ทวี ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนได้เสมอคือ หลาดกรีนภูมิปัญญา ที่เสริมสร้างศักยภาพและยกระดับการท่องเที่ยว วิถีไทย ในเรื่องของเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตชุมชนที่มีความโดดเด่น เรียกว่าเป็นตลาดท่องเที่ยวของคนทุกเพศทุกวัย ภายใต้แนวคิด “ตลาดเที่ยวได้ ... สไตล์ไทยๆ” โดยมี ครกสียักษ์ ซึ่งทำจากเครื่องจักสานเป็นสัญลักษณ์ของที่นี่ เพราะสื่อถึงความสำคัญเบื้องต้นของวิถีชีวิตและชุมชนคือ เครื่องกินเครื่องใช้
หลาดกรีน สวน อ.ทวี นอกจากสร้างความสุขให้คนมาเยี่ยมชมแล้ว ยังสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เสริมเม็ดเงินให้หมุนเวียนให้ระบบเศรษฐกิจชุมชนด้วย เพราะสินค้าที่มาขายในตลาดกรีนภูมิปัญญา เป็นฝีมือการผลิตของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น สินค้าจากภูมิปัญญา งานศิลปหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ผ้าทอ เครื่องจักสาน เครื่องประดับจากกะลามะพร้าว สินค้ากระจูดมีทั้งกระเป๋า เสื่อ ยิ่งในด้านอาหารการกิน หลาดแห่งนี้มีของหรอยๆ ไม่แพ้ที่อื่น แม่ค้าพ่อค้าน่ารักใจดีทุกร้าน เตรียมเมนูอร่อยไว้ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยน้ำใจไมตรี ทั้ง ผัดไทยโบราณสูตรเด็ด ขนมจีนแกงเคย น้ำยาต่างๆ ข้าวแกงรสเด็ด ผัดหมี่ กล้วยทอด ข้าวเม่า ข้าวต้มมัด ผักสด ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นก็มีอีกหลากหลาย โดยใส่ภาชนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สถานที่แห่งนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นศูนย์บ่มเพาะด้านความรู้วิถีชีวิตชุมชน โดยคิดหลักสูตรที่จะรวมช่างของเมืองนครกว่า 100 หลักสูตร ให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ภูมิปัญญาซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถนำไปทำมาหาเลี้ยงชีพได้ เช่น ผลิตภัณฑ์จากกาบหมาก ผลิตภัณฑ์ผ้าพระบถ โครงการเรือนมพระ ของเล่นเด็กจากใบลาน การปลูกข้าวโดยไม่ต้องทำนา การทำข้าวใหม่ปลามัน การปลูกพืชแบบอนาถาพาตัวรอด ฯลฯ รวมทั้งมีพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตที่เชื่อมโยงเครื่องมือเครื่องใช้กับวิถีชีวิต อย่าง เครื่องสีข้าวโบราณ โรงขนมจีน
หมู่บ้านภูมิปัญญา ถือว่าเป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีครบทุกคุณค่าทั้ง ความอร่อย สวยงาม ประณีต ราคาไม่แพง มีกิจกรรมดนตรี ศิลปะท้องถิ่น การละเล่นพื้นบ้าน ให้ชม แถมมีมุมสบายๆ ให้เลือกนั่ง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น