การประชุมเชิงวิชาการ International Symposium on Converging Technologies and Disruptive Communications – Moving Forward
ในวันที่ 10 - 11 กันยายน 2561 ณ ห้อง Ballroom 1 ชั้น 2โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงวิชาการระดับนานาชาติ International Symposium on Converging Technologies and Disruptive Communications- Moving Forward
การประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมทั้ง ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยได้มีโอกาสรับทราบรูปแบบธุรกิจต่างๆที่เกิดขึ้นบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม และนโยบายในเรื่อง Converging Technologies ที่หลอมรวมแพลตฟอร์มเข้าด้วยกัน ความท้าทายในการอยู่รอดของการพัฒนาเนื้อหา (Contents) เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้และการเข้าถึงของผู้ใช้งาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเชื่อมต่อและการเข้าถึงของการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยให้การดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนแนวคิดและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้เกิดการหลอมรวมของแพลตฟอร์ม ส่งผลให้เกิดการขยายช่องทาง และการใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจำนวนมากเพื่อสร้างธุรกิจเกิดใหม่ กลุ่มธุรกิจที่มีฐานข้อมูลจากผู้ใช้บริการแฟลตฟอร์มที่หลากหลายจึงได้เปรียบคู่แข่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เมื่อโลกเข้าสู่ยุคข้อมูลไร้พรมแดน ไม่มีการแบ่งเชื้อชาติ และสถานะ ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและมีต้นทุนดำเนินงานราคาถูก คำถามคือหน่วยงานที่กำกับดูแลในแต่ละประเทศจะก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อกำหนดแนวนโยบายที่สนับสนุนต่อการดำเนินธุรกิจ และคุ้มครองผู้บริโภคให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสื่อซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของเทคโนโลยีที่ผลักดันการขยายตัวธุรกิจดิจิทัลได้อย่างไร
ขณะเดียวกันเม็ดเงินรายได้ที่มาจากธุรกิจดิจิทัลได้กระจายอยู่ในภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ หรือไหลกลับประเทศต้นทางที่กุมแพลตฟอร์มเกิดใหม่ สถานการณ์ขณะนี้และทิศทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร การประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้จะได้นำความคิดเห็นที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนต่อยอดในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้คนไทยได้สามารถใช้ระบบดิจิทัลที่มีความปลอดภัยได้มากขึ้น สำหรับการประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้สำนักงาน กสทช. ได้เชิญวิทยากรทั้งจากในประเทศและต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางการกำกับดูแล เพื่อให้ทันกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยี เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพตลอดจนตั้งรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ยังให้ข้อคิดและแนวโน้มที่กำลังจะเกิดกับประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องนี้
โดยวิทยากรที่เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้มีทั้งสิ้น 27 คน ประกอบด้วย ประธานองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศแคนาดา(CRTC), กรรมการองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศอิตาลี (AGCOM), กรรมการองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศไอร์แลนด์ (BAI) ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศมาเลเซีย (MCMC), รองประธานองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศออสเตรเลีย (ACMA ), ผู้แทนจากองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมประเทศสิงค์โปร์ (IMDA), ผู้บริหารระดับสูงจาก True, AIS , DTAC , LINE Thailand , Netflix , Microsoft , 21st century fox, Google , GMM One TV, Workpoint เป็นต้น
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้เกิดการหลอมรวมของแพลตฟอร์ม ส่งผลให้เกิดการขยายช่องทาง และการใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจำนวนมากเพื่อสร้างธุรกิจเกิดใหม่ กลุ่มธุรกิจที่มีฐานข้อมูลจากผู้ใช้บริการแฟลตฟอร์มที่หลากหลายจึงได้เปรียบคู่แข่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เมื่อโลกเข้าสู่ยุคข้อมูลไร้พรมแดน ไม่มีการแบ่งเชื้อชาติ และสถานะ ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและมีต้นทุนดำเนินงานราคาถูก คำถามคือหน่วยงานที่กำกับดูแลในแต่ละประเทศจะก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อกำหนดแนวนโยบายที่สนับสนุนต่อการดำเนินธุรกิจ และคุ้มครองผู้บริโภคให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสื่อซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของเทคโนโลยีที่ผลักดันการขยายตัวธุรกิจดิจิทัลได้อย่างไร
ขณะเดียวกันเม็ดเงินรายได้ที่มาจากธุรกิจดิจิทัลได้กระจายอยู่ในภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ หรือไหลกลับประเทศต้นทางที่กุมแพลตฟอร์มเกิดใหม่ สถานการณ์ขณะนี้และทิศทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร การประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้จะได้นำความคิดเห็นที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนต่อยอดในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้คนไทยได้สามารถใช้ระบบดิจิทัลที่มีความปลอดภัยได้มากขึ้น สำหรับการประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้สำนักงาน กสทช. ได้เชิญวิทยากรทั้งจากในประเทศและต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางการกำกับดูแล เพื่อให้ทันกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยี เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพตลอดจนตั้งรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ยังให้ข้อคิดและแนวโน้มที่กำลังจะเกิดกับประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องนี้
โดยวิทยากรที่เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้มีทั้งสิ้น 27 คน ประกอบด้วย ประธานองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศแคนาดา(CRTC), กรรมการองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศอิตาลี (AGCOM), กรรมการองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศไอร์แลนด์ (BAI) ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศมาเลเซีย (MCMC), รองประธานองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศออสเตรเลีย (ACMA ), ผู้แทนจากองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมประเทศสิงค์โปร์ (IMDA), ผู้บริหารระดับสูงจาก True, AIS , DTAC , LINE Thailand , Netflix , Microsoft , 21st century fox, Google , GMM One TV, Workpoint เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น