บ้านห้วยหวาย
แต่เดิมชาวบ้านห้วยหวายมีอาชีพหลักคือการทำไร่สับปะรด มาจนถึงปี พ.ศ. 2546 ได้ประสบปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำและปัญหาภัยแล้ง จึงเริ่มคิดทำอาชีพอื่นนอกจากทำไร่สับปะรดเพื่อชดเชยรายได้ จึงได้คิดทำงานหัตถกรรมสแตนเลสรวมกับครอบครัว ญาติพี่น้อง ทำได้ประมาณ 4-5 เดือนได้มีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงสนใจจึงรวมกลุ่มกันเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 25 คน โดยลงหุ้นคนละ 5 หุ้น หุ้นละ 100 บาทปัจจุบันมีหุ้นทั้งหมด 6,470 หุ้น โดยจะจ้างแรงงานจากทุกคนและแบ่งรายได้กัน ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้รับความรู้การทำเครื่องสแตนเลสด้วยมืออีกด้วย
หลังจากนั้นก็เดินทางไปชมการสาธิตการเลี้ยงหนอนไหมและผลิตภัณฑ์จากหม่อน
ร้านบ้านห้อยขา ริมอ่าง
ร้านอาหารที่เน้นไปด้วยบรรยากาศสุดชิล ตั้งอยู่ใจกลางขุนเขาล้อมรอบอีกทั้งยังอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อย ที่ร้านยังมีอาหารที่สด สะอาด ไร้วัตถุกันเสีย ให้นักท่องเที่ยวได้ลิ้มลอง โดยทางร้านยังมีเมนูให้เลือกมากมาย หรือหากไม่ตรงตามใจก็สามารถสั่งเป็นเมนูตามสั่งได้ และยิ่งกวานั้นร้านยังเป็นจุดชมวิวทำให้คุณสามารถนั่งรับประทานอาหารพร้อมกับชมความงามไปพร้อมกันได้อีกด้วยรับประทานอาหารกลางวัน ก๋วยเตี๋ยวเมนูต่างๆ และเครื่องดื่ม........หลังท้องอิ่มก็เดินทางไปยัง ต.สมเด็จเจริญ ผ่านเส้นทางสะเดาเรียง ร่วมเรียนรู้เรื่องราวของพ่อหลวงฯ โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริและชมผลิตภัณฑ์ OTOP บ้านห้วยแม่ระวาง
จากนั้นเดินทางไปยังอำเภอศรีสวัสดิ์ ผ่านเส้นทางบ้านเขาโจดไปยังบ้านปลายนาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งเป็นหมู่ชาวกระเหรี่ยงซึ่งให้การต้อนรับด้วยเสียงเพลงกระเหรี่ยงและบายศรีรับขวัญพร้อมรับประทานอาหารเย็น ชมการแสดงประเพณีพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่น
ในคืนนี้เราพักผ่อนกันที่บ้านของชาวกระเหรี่ยงเข้าที่พักโฮมสเตย์ ณ บ้านปลายนาสวน อ.ศรีสวัสดิ์
บ้านปลายนาสวน
ประวัติความเป็นมา
บ้านปลายนาสวนเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 500 ปีที่เป็นหลักฐานสำคัญคือพระพุทธรูปวัดถ้ำ เป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยา ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนไทยกะหรี่ยงดั้งเดิมที่อาศัยในหมู่บ้านตั้งแต่บรรพบุรุษให้เคารพนับถือผู้อาวุโสและผู้นำชุมชน สภาพภูมิศาสตร์
อาหารพื้นถิ่น
1.แกงข้าวเบือ ข้าวเบือใช้สำหรับประกอบปรุงอาหารเมนูต่างๆเพื่อเพิ่มรสชาติความหอมอร่อย ชาวบ้านนิยมใส่ในแกงต่างๆ เช่น แกงหน่อไม้ แกงเห็ด เป็นต้น
2.น้ำพริกแตงเปรี้ยว ชาวกะเหรี่ยงนิยมนำแตงเปรี้ยวมาทำน้ำพริก แตงเปรี้ยวมีผลลักษณะกลมรีคล้ายแตงกวาแต่มีขนาดใหญ่กว่า
3.แกงหยวกกล้วยไก่บ้าน มีความหมายคือจะทำให้มีเยื้อใยต่อกัน
4.หลามบอน มีลักษณะคล้ายแกงบอนแต่ทำให้สุกโดยใส่ลงกระบอกไม้ไผ่ นำมาเผากับถ่านไม้โดยไม่ผัดเครื่องแกงกับน้ำมันพืช
5.ขนมทองโย๊ะ หรือ หมี่สิ แปลว่าข้าวบดที่ทำจากข้าวเหนียวนิ่ง งาดำคั่วกับเกลือ ดขลกรวมกัน จนเป็นเนื้อเดียว รสชาติเค็มมัน นิยมใช้เพื่อทำบุญให้กับผู้ล่วงลับ
6.ขนมข้าวเหนียวหัวหงอก นิยมใช้ในงานแต่งงาน
ผลิตภัณฑ์และสินค้าชุมชน
1.ย่ามกะเหรี่ยง5.พริกกะเหรี่ยงอินทรีย์ตากแห้ง 2.เสื้อกระเหรี่ยงเด็กผู้ชาย6.พริกกะเหรี่ยงอินทรีย์ป่น
3.ผ้าถุงกะเหรี่ยงทอมือ7.ทองโย๊ะ
4.เสื้อกะเหรี่ยงทอมือ8.งาคั่วอินทรีย์
1.วัดถ้ำองจุ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีประติมากรรมเป็นแบบกะเหรี่ยง
2.ท่าน้ำปลายนาสวน เขื่อนศรีนครินทร์ จะพบกับการทำประมงน้ำจืดมีแพที่พัก แสดงถึงวิถีชีวิตกะหรี่ยงที่อาศัยบริเวณริมแม่น้ำ
3.แปลงเกษตรอินทรีย์ โดยไม่ใช้สารเคมี ทำเกษตรแบบพอเพียง
ประเพณี
1.ประเพณีการค้ำต้นโพธิ์ 2.ประเพณีกินข้าวห่อ
รับประทานอาหารเช้าพร้อมเครื่องดื่มชากาแฟ บ้านปลายนาสวน ณ จุดชมวิวเขาโกเต็ง
ชมการแสดงและร่วมกิจกรรม นวัตวิถีชุมชนบ้านปลายนาสวน การละเล่นทอยสะบ้า ร่วมกิจกรรมประเพณีค้ำโพธิ์ ณ ศูนย์เรียนรู้วิถี กะเหรี่ยงกลุ่มทอผ้าสาธิตการทำอาหารกะเหรี่ยงแบบโบราณ
เสร็จสิ้นพิธีเราก็เดินทางไปยังบ้านแก่งแคบ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ รับประทานอาหารเที่ยงบนแพ บนแพท่องไปกับสายน้ำชมทัศนียภาพแม่น้ำแควใหญ่
ตามด้วยการไปจิบกาแฟยามบ่ายและและเลือกซื้อของฝากของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ศูนย์ OTOP Lifestyle
บ้านแม่กระบุง
หมู่บ้านแม่กระบุงตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ พื้นที่ทั้งหมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์และอุทยานแห่งชาติเอราวัณบางส่วน สภาพภูมิประเทศทั่วไปเป็นภูเขาสูง มีที่ราบสลับไหล่เขาสังคมและวิถีวัฒนธรรมมีความโดดเด่นเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง ที่มีชีวิตเรียบง่ายและผูกพันกับธรรมชาติ วัฒนธรรมที่โดดเด่นเช่น ภาษา การแต่งกาย การรำตง การทำไร่หมุนเวียนประเพณีวัฒนธรรม งานประเพณีประตูหลง(เขาวงกต) ประเพณีทอดผ้าป่าลอยน้ำ ประเพณีไหว้สะพาน ไหว้ต้นโพธิ์ ประเพณีเอาะเตียง(สะเดาะเคราะห์บูชาไฟ)ประเพณีสู่ขวัญ จะมีการผูกข้อมือเรียกขวัญลูกหลาน โดยผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจะผูกข้อมือลูกหลานทุกคน โดยเรียกขวัญให้พรปีละ 1 ครั้ง ในเดือนตุลาคม วันพระ 8 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ ผูกข้อมือเรียนขวัยลูกหลานกลับมา โดยมีความเชื่อว่าขวัญไปเที่ยวไกล ลืมตัว เป็นการเตือนสติ ให้พร ให้ลูกหลานอบอุ่นใจแม้ผิดพลัง้ไปผู้ใหญ่ก็ให้อภัยรำตง เป็นศิลปะการรำแบบกะเหรี่ยง แสดงในช่วงเทศกาลพิเศษโดยจะฝึกให้เด็กรำตั้งแต่ 9 ขวบขึ้นไป จนโตและจะหยุดรำต่อเมื่อออกเรือนมีครอบครัวเปรียบเสมือนส่งทอดให้กับเด็กรุ่นหลังต่อไป ประเพณีกินข้าวใหม่ จัดขึ้นช่วงกลางเดือนมกราคม ทุกปีเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จชาวบ้านจะนำไปตำหรือไปสี และจะนิมนต์พระมาฉันข้าวใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่ทุกคนที่ทำข้าวไร่ เพราะได้เรื่มต้นจากการบุญก่อนที่จะนำข้าวไปกินตลอดปีประเพณีไหว้ต้นโพธิ์ ประมาณช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เครื่องไหว้ประกอบด้วยปลา เหล้า และผู้นำ 1 คน ประหนึ่งว่าเพื่อให้ตะหนักถึงบุญคุณของไม้ใหญ่ ไม่ลบหลู่ ไม่ให้ทำลาย ถ้าคนหนึ่งตายอีกคนจะรับมรดกไป ก็คือมีการรับหน้าที่ทำแทนกันต่อไปเจดีย์สัจจะ เป็นสถานที่เคารพยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่กระบุง ถือเป็นกฎ กติกา ความศักดิ์สิทธิ์เป็นเหมือนตัวแทนของบรรพบุรษที่ทุกคนต้องเคารพทุกคนต้องไปตั้งสัจจะสาบานในเทศกาลวันสงกรานต์ทุกปี จะก้าวล่วงผิดคำไม่ได้ หลังเสร็จพิธีสรงน้ำพระรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ จะพากันไปสจจะอธิษฐานต่อเจดีย์ ซึ่งในเจดีย์บรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้มากมาย เจดีย์ก่อเป็นปูนสูงประมาณ 3 เมตร มีบันไดขึ้นไปถึงองค์เจดีย์ 500 ขั้นอาหารประจำถิ่น แกงข้าวเบือ ,ยำหัวปลีป่า,น้ำพริกปลาย่าง,หมี่ทง,ขนมทองโย๊ะ
ชมวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณี ศูนย์สมุนไพรส่วนมากที่นี่จะปลูกเป็นสมุนไพรจำพวกว่านและไพร และท่องเที่ยวชุมชนธรรมชาติสะพานในป่าหมาก ซึ่งก็ยาวประมาณ500เมตรเห็นจะได้ในขณะที่เราเดินเข้าไปไม้ไผ่ยังเขียวๆอยู่ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าพอมาเป็นท่องเที่ยวนวัตวิถีเขากลัวนักท่องเที่ยวจะลำบากก็เลยช่วยกันทำเสร็จใน2วัน พอเราได้เห็นแล้วเรา..ทึ่ง! มากเพราะมันทั้งสวยและเป็นunseenเลยก็ว่าได้
จากนั้นก็นั่งรถอีแต๋นไปต่อด้วยรถไถไปชมน้ำตกระหว่างทางก็สนุกสนานวี้ดว้าย...กันนิดหน่อย(รับรองไม่อันตรายและไม่น่ากลัว) แต่พอไปถึงน้ำตกสุดยอดไฮไลท์น้ำตกแม่กระบุง สวยงามมากเลยทีเดียวน้ำตกแม่กระบุง เป็นน้ำตกขนาด 3 ชั้น มีโขดหินลดหลั่นกันลงมา บรรยากาศรายล้อมไปด้วยป่าเขาและต้นไม้นานาพันธุ์ที่แสดงถึงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติห้วยน้ำอุ่น น้ำเย็น เป็นห้วยที่เกิดจากธรรมชาติเมื่อน้ำที่ไหลจากลำธาร 2 สายมาบรรจบกัน อีกสายเป็นน้ำอุ่นอีกสายเป็นน้ำเย็น ซึ่งถ้าสัมผัสจะรับรู้ได้ถึงความแตกต่างของอุณหภูมิ ซึ่งห้วยดังกล่าวมีน้ำไหลตลอดทั้งปี
สิ้นสุดการเดินทางจาก อ.ศรีสวัสดิ์–ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี การเดินทางครั้งนี้เป็นทริปที่ประทับใจมากและคิดว่าจะกลับมาอีกครั้งเพราะหลังจากที่เราลงรูปไปเพื่อนๆก็โทรมาจองตัวชวนเราให้พาไปเที่ยวแล้ว.......
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น