เยือนวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง นนทบุรี - อยุธยา - สิงห์บุรี – อ่างทอง..ไปแล้วจะรัก..

กรมการพัฒนาชุมชนโดยภารกิจนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้นการ สร้างโอกาส อาชีพและการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้น ทางการท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและ ประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับพื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชน
 กรมการพัฒนาชุมชน นำสื่อลงพื้นที่เยี่ยมชุมชน OTOP Village เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปเกิดการรับรู้ รับทราบ เข้าใจ มีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่นไว้วางใจในด้านภาพลักษณ์ของกรมการพัฒนาชุมชนและภาพลักษณ์การดำเนินงานโครงการฯจนนำไปสู่การเชื่อมโยงเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนหรือเกิดความร่วมมือกับองค์กรในการพัฒนาต่อยอด เสริมความแกร่งให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง

​วันที่ 29-30 ตุลาคม 2561 กรมการพัฒนาชุมชน นำสื่อมวลชนจัดกิจกรรม Press Tour  เส้นทางที่ 5 :ในวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง นนทบุรี - อยุธยา - สิงห์บุรี – อ่างทอง เริ่มต้นเดินทางไปยังหมู่บ้านมอญลงเรือข้ามฟาก ที่วัดกลาง ไปยังหมู่บ้านมอญเกาะเกร็ด  สักการะวัดฉิมพลี ชมศูนย์หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา  เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพรชาวบ้าน  ชมการทำขนมหันตา  แวะบ้านจ่ามงกุฎ   สักการะศาลเจ้าพ่อหนุ่ม สักการะวัดปรมัยยิกาวาส ไปยังหมู่บ้านโอ่งอ่าง สักการะวัดไผ่ล้อม ชมพระอุปคุต พระบัวเข็ม จำลองเจดีย์ชเวดากอง หมู่บ้านเสาธงทอง สักการะวัดเสาธงทอง แล้วเดินทางจากวัดเสาธงทอง ข้ามฟากไปยังวัดบางจาก
  สำหรับเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นหมู่บ้าน OTOP ต้นแบบภาคกลาง (Knowledge-based Village Cluster) เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในด้านการผลิตสินค้าหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยมอญที่ได้สืบทอดกันมายาวนาน ซึ่งหมู่บ้านโอ่งอ่าง เป็นหมู่บ้าน OTOP Village Champion ที่นี้มีการขายของย้อนยุคในสมัยโบราณหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นขนมไทยสมัยโบราณหาทานยาก การทำขนมมงคล หม้อดินเผา เครื่องปั้นดินเผา ขนมน้ำตาลปั้นที่ปั้นเป็นรูป ดอกไม้ ตุ๊กตา สัตว์ต่างๆ ที่นี่นักท่องเที่ยวจะได้ชมวิถีชีวิตริมน้ำและชุมชนชาวมอญที่มีชื่อเสียงและโดดเด่นและมากล้นไปด้วยเสน่ห์ที่สุดแห่งหนึ่ง
​สักการะวัดไผ่ล้อม  วัดที่สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีปูชนียสถานที่สำคัญ คือ อุโบสถ เป็นโบสถ์สมัยอยุธยาที่งามมากแห่งหนึ่ง มีการซ่อมครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 3 ลายจำหลักไม้ที่หน้าบันเป็นลายดอกไม้สาหร่ายและรวงผึ้งแกะสลักไม้   มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามมาก  คนมอญเรียกวัดนี้ว่า "เพี๊ยะโต้" ข้างวัดไผ่ล้อมมีวัดเก่าแก่ที่รักษาไว้ คงสภาพเดิม ทำจากไม้
  วัดไผ่ล้อมตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างวัดปรมัยยิกาวาส กับวัดเสาธงทอง  สำหรับคนที่มาเที่ยวเกาะเกร็ดไม่ว่าจะข้ามฟากมาวัดปรมัยยิกาวาส หรือข้ามมาทางวัดเสาธงทอง ก็จะต้องผ่านวัดไผ่ล้อม ซึ่งอายุของวัดทั้ง 3 ใกล้เคียงกันแต่การบูรณะแตกต่างกัน ทำให้ดูว่าวัดไผ่ล้อมเป็นวัดใหม่ หน้าวัดสร้างหงส์คู่ขนาดใหญ่ ยังมีเจดีย์คู่อยู่ 2 ข้างของทางเดินเข้าหาโบสถ์ ที่อยู่ตรงกลางพอดีพระอุปคุต  ที่โบสถ์ มีพระอุปคุตแกะสลักจากไม้ทั้งองค์อยู่หน้าสุดเชื่อกันว่าการได้กราบไหว้พระอุปคุตจะเป็นสิริมงคลด้านโชคลาภ ด้านในยังมีสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี อยู่หน้าพระพุทธชินราช  มีเจดีย์ชเวดากอง  องค์จำลอง ที่สร้างได้สวยงามมาก รอบๆด้านมีกำแพงแก้ว มีซุ้มประดิษฐานพระอยู่หลายองค์ ได้แก่ พระสังกัจจายน์ พระสิวลี พระบัวเข็มไม้แกะสลักทั้งองค์ พระแม่ธรณี เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น
​กิจกรรมหลักที่ขาดไม่ได้คือการไหว้พระขอพร วัดต่างๆที่มีอยู่โดยรอบเกาะตามชุมชนต่างๆ และนักท่องเที่ยวทุกคนไม่พลาดคือ สักการะวัดปรมัยยิกาวาส หรือชื่อเดิมว่า วัดปากอ่าว โดดเด่นด้วยเจดีย์มุเตาสัญญลักษณ์ของเกาะเกร็ด  เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากที่ตั้งของวัดอยู่ตรงคุ้งน้ำ บริเวณทางแยกคลองลัดเกร็ด กับแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหัวมุมเกาะเกร็ด ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเรียกวัดนี้ว่า วัดปากอ่าว แต่ชาวมอญ เรียกวัดนี้ว่า เพี่ยะมุ๊ฮะเติ่ง แปลว่า วัดหัว(มุม)แหลม  ซึ่งภายใน มีพระมหารามัญเจดีย์ และวิหารพระไสยาสน์ ที่มีความสวยสดงดงามเป็นอย่างยิ่ง และที่ท่าเรือวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่

 ส่วนพระอุโบสถมีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ ปัจจุบันที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฎกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง


​เครื่องปั้นดินเผาของที่นี่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากดินเหนียวท้องนา สืบทอดมาจากบรรพบุรุษชนชาติมอญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบทั้งความทันสมัยแต่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิม เพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นที่ต้องการของตลาด ยังมีการรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจสมุนไพร,ขนมหวาน
โบราณและขนมหวานมงคล เช่น ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, เม็ดขนุน, ทองเอก, เสน่ห์จันทร์, และจ่ามงกุฏอันขึ้นชื่อว่าเป็นขนมที่หาทานยาก เพราะขั้นตอนการทำยากวัตถุดิบประกอบด้วย แป้งสาลี กระทิ น้ำตาลทราย ไข่แดง เม็ดแตงโม ทองคำเปลว
​จ.พระนครศรีอยุธยา หมู่บ้านหนองสรวง อ.บางไทร  เข้ากราบหลวงปู่เจียม ที่วัดกระแชง เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งตำบลกระแชง ตั้งขึ้นมาไม่ต่ำกว่า 350 ปี มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่าสมัยก่อนมีชาวมอญ และพวกพ่อค้าชาวจีนและอื่นๆ ได้เดินทางมาค้าขายโดยใช้เรือกระแชง ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ ล่องมาตามแม่น้ำน้อย เมื่อมาถึง
บริเวณที่ตั้งของตำบลกระแชงก็แวะพักทุกครั้ง และได้เห็นว่าที่นี่มีภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์จึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน โดยทางราชการได้จัดขึ้นเป็นชื่อตำบลกระแชง ในปี พ.ศ.2457  ตั้งชื่อตามเรือกระแชง ยังมี “พ่อปู่แสงอาทิตย์” สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านที่ทุกคนที่ตลอดจนผู้มาเยือนต้องสักการะและขอพร มีนั่งรถกระแทะให้ชมวิวท้องทุ่งและสูดอากาศบริสุทธิ์
​อัตลักษณ์ที่เด่นชัดของชุมชนแห่งนี้ คือ การคงความเป็นวิถีชุมชนแบบดั้งเดิมไว้ ปัจจุบันมีการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 110 -120 บาท  และเนื่องจากชุมชนแห่งนี้อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำน้อยเมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำแต่จนปี 2558 ผู้ใหญ่บ้านได้คิดนวัตกรรมแพผักลอยน้ำจากการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.9 โดยใช้ไม้ไผ่มาต่อเป็นแพ แล้วนำดินมาใส่ ปลูกผัก อาทิ ผักบุ้ง ตะไคร้ กะเพรา โหระพา ยังใช้เป็นการอนุบาลหน่อกล้วยได้อีกด้วย แนวคิดดังกล่าวท้าให้ผู้ใหญ่บ้านได้รับรางวัลแหนบทองคำในปี 2561 และชาวบ้านก็มีพืชผัก ผลไม้กินได้ตลอดปี ปัจจุบันที่นี่กิจกรรมหลากหลาย ให้เลือกท่องเที่ยวทั้งแบบ one day trip และค้างคืนที่โฮมสเตย์ของชาวบ้าน
​สินค้าชุมชนก็มีให้เลือกอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสบู่สมุนไพร สเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุง น้ำยาอเนกประสงค์จากมะกรูด งานจักสานทั้งจากผักตบชวาและไม้ไผ่  กิจกรรมของชุมชนเล็ก ๆ ริมแม่น้ำน้อย สาธิตการเพาะเห็ด,การเลี้ยงจิ้งหรีดและแปรรูป , การเผาถ่าน/การทำน้ำส้มควันไม้ ,การทำจักสานไม้ไผ่ สานกุ้งโชว์ พวงกุญแจกุ้งสาน ,การทำขนมพื้นถิ่นโบราณ,ขนมปิ้งกลางไฟ ,ขนมกะหรี่พั๊ฟ ,การดำนาวิถีไทยวิถีพอเพียง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้ร่วมด้วย ,ชมวิถีคนตกกุ้ง ,ชิม ชม ช้อป ผลิตภัณฑ์ OTOP/ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผักปลอดสาร  และสินค้าที่ระลึก ณ จุด  จำหน่ายสินค้า OTOP 12. จุดเช็คอิน “หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว"
​จ.สิงห์บุรี กิจกรรมที่นี่ ไหว้พระนอนจักรสีห์  ผู้นำชุมชนกล่าวต้อนรับ  ชมรำเคียว ชมประเพณีกวนข้าวทิพย์ตีข้าวบิณฑ์ ชมบ้านควายอาร์ต Workshop งานศิลปะ ไหว้พระวัดท่านาง ดูสาธิตการทำเต่ารั้งม่านบังตาชมบ้านขุนบริหารจักสีห์และสักการะพุทธมณฑล
​สำหรับวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร พระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่  เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศ สร้างมานานเก่าแก่ จนไม่ทราบแน่ชัดว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย ที่มีความงดงามมาก มีความยาวทั้งสิ้น 1 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ และ 7 นิ้ว ลักษณะพระพักตร์หันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก พระกรขวายื่นไปด้านหน้า ไม่งอพระกรขึ้นรับพระเศียร เหมือนแบบไทย ยังมีพระแก้ว พระกาฬ เป็นพระพุทธรูปนั่งศิลา ลงรักปิดทอง และพระนั่งขัดสมาธิเพชร อันศักดิ์สิทธิ์ และมีพุทธลักษณะงดงาม ด้านหน้าวิหารมีต้นสาละลังกาใหญ่ ต้นไม้สำคัญ ในพุทธประวัติ ผลิดอกบานสะพรั่ง อยู่เสมอ  ภายในตัววัดยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้กราบไหว้บูชา หลายจุด ทั้งรูปปั้นหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ ที่อยู่บริเวณหน้าทางเข้า  วิหารเจ้าแม่กวนอิม  ก่อนถึงทางเข้ามีสินค้าของฝากจากสิงห์บุรีหลากหลาย
​ประเพณีกวนข้าวทิพย์ตีข้าวบิณฑ์ เก่าแก่ที่ทำกันอยู่แห่งเดียวที่หมู่บ้านจักรสีห์ เมืองสิงห์บุรี ซึ่งตามความเคารพและความเชื่อของคนในสมัยก่อนที่นับถือความศักดิ์สิทธิ์ ได้กราบไหว้ ขอพรพระเพื่อให้ทำการเกษตร เมื่อเจ็บป่วย หรือให้ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนาก็จะบนบานสานกล่าว  ระหว่างวันที่ 13- 15 เมษายน ของทุกปี ชาวบ้านจะนัดกันทำพิธีโดยการนำข้าวเหนียวขาวหรือข้าวเหนียวแดงมาหุงหรือนึ่งพอสุก มากวนกับกะทิ น้ำตาลปี๊บแล้วนำมาใส่ใบตองพับเป็นรูปกรวย วางลงบนพานโรยด้วยมะพร้าวและดอกไม้ เรียกว่า “ พุ่มข้าวบิณฑ์” นำไปถวายหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์  พร้อมอาหารคาว หวาน แล้วสวดมนต์เช้า ขอพรร้องเพลงรำโทนถวายและลา ข้าวบิณฑ์ แบ่งส่วนหนึ่งให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว อีกส่วนหนึ่งแบ่งกันรับประทาน เพื่อความเป็นสิริมงคล จึงเกิดเป็นประเพณีตีข้าวบิณฑ์
โดยประเพณีตีข้าวบิณฑ์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ได้ถูกกล่าวไว้ในพระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือนเป็นวรรณคดีขนบประเพณี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ.2431 ซึ่งคำว่า “ ข้าวบิณฑ์”ได้ปรากฏอยู่ในพระราชพิธีเดือนห้า ซึ่งถือเป็นการทำบุญเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ของไทย ในเดือนเมษายน

​บ้านควายอาร์ต (KhwhyArt Singburi ) ไม่ไกลจากพรนอนจักรสีห์ เป็นพื้นที่ศิลปะ เพื่อจัดแสดงนิทรรศการผลงานศิลปกรรมหมุนเวียนกันในแต่ละช่วงเวลาและโอกาส ศิลปินชาวสิงห์บุรีหรือใกล้เคียง สนใจจะนำผลงานศิลปกรรมมาจัดแสดง ยังเปิดสอนศิลปะ ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป ยังติวศิลปะเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย  เป็นตลาดศิลป์จินตนาการ  รวบรวมเพื่อนพี่น้อง ที่สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรม นำผลงานเล็กๆน้อยๆ มาจัดจำหน่ายในราคาสบายๆสามารถจับต้องได้  บริการอาหารจานเดียว และเครื่องดื่ม


จ.อ่างทอง เยี่ยมหมู่บ้านยางทองชุมชนบางเจ้าฉ่า  ชมสาธิตการจักสาน , สาธิตนวดสมุนไพรป้าปุ้ม ,ทำปุ๋ยไส้เดือน  Showroom ศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอป ,นั่งรถอีต๊อกชมต้นยางนา เยี่ยมชมจักสานบ้านครูอ๊อด

​สำหรับบางเจ้าฉ่าเป็นชุมชนที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านได้เคยร่วมกับชาวแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ และชาวบางระจัน สู้รบกับทหารพม่า ณ บ้านบางระจัน โดยมีนายฉ่า เป็นผู้นำ ภายหลังการสู้รบยุติลงแล้ว "นายฉ่า" จึงได้นำชาวบ้านมา


ความคิดเห็น