พช.นำสื่อเยือนเส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม กำแพงเพชร-ตาก/สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืมกำแพงเพชร

กรมการพัฒนาชุมชนโดยภารกิจนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้นการ สร้าง โอกาส อาชีพและการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้น ทาง การท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม  แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับ พื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชนนั้น
  วันที่2-3พฤศจิกายน กรมการพัฒนาชุมชน นำสื่อลงพื้นที่เยี่ยมหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village) เพื่อประชาสัมพันธ์  เส้นทางที่ 8 : มรดกโลกด้านวัฒนธรรม​กำแพงเพชร - ตาก  เริ่มต้นจากจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมทำกิจกรรมที่หมู่บ้านวังพระธาตุ อ.เมือง ตามโครงการหมู่บ้าน Otop Village เพื่อการท่องเที่ยว ตำบลไตรตรึงษ์ อ. เมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีประชาชนบ้านวังพระธาตุ หมู่ 4 ตำบลไตรตรึงษ์ อ.เมือง และบ้านชุมชนไทร หมู่ 8 ตำบล โป่งน้ำร้อน บ้านเพชรนิยม หมู่2 ตำบลสักงามอ.คลองลาน
  โดยมีผู้นำชุมชนกล่าวต้อนรับพร้อมรับชมการแสดงต้อนรับ  สักการะวัดวังพระธาตุ,หลวงพ่อโต,หลวงพ่อเพชร,ท้าวแสนปม , เวียนเทียนรอบพระธาตุ ,ลอดใต้โบสถ์ ,นั่งรถอีต๊อกชมเจดีย์ 7 ยอด ตามรอยเสด็จ ร.5 ,สักการะวัดท้ายเกาะ ,ชมต้นหว้า 400 ปี
​กำแพงเพชร เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างของประเทศ ทางทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบ ทางทิศตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นน้ำของลำธารต่าง ๆ เช่น คลองสวนหมาก คลองวังเจ้า คลองขลุง และคลองแขยง ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านกลางพื้นที่ของจังหวัดตั้งแต่เหนือสุดจนใต้สุดมีชื่อเรียกว่าเมืองไตรตรึงษ์ เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่ และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์  ว่า "เจดีย์เจ็ดยอดงามสม  ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง  วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์"
   วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม) ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
     โดยเห็นรูปทรงของเจดีย์ได้อย่างครบถ้วน เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวที่นับว่าใหญ่ที่สุดในเมืองกำแพงเพชร
 ด้านหน้าพระเจดีย์มีพระวิหารฐานก่อด้วยอิฐ มีพระประธานประดิษฐานบนฐานชุกชี ด้านข้างอุโบสถมีศาลท้าวแสนปมรูปปั้นท้าวแสนปมหน้าเจดีย์วังพระธาตุ เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนครไตรตรึงษ์ มีนิทานเล่ากันมาว่า  เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ มีพระธิดาสิริโสภาองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่รักใคร่ดังดวงแก้วตาทรงพระนามว่า นางอุษา  ที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์นี้มีชายคนหนึ่งซึ่งร่างกายเต็มไป ด้วยปุ่มปม ชาวบ้านเรียกเขาว่า นายแสนปม มีอาชีพปลูกผักสวนครัวขายเลี้ยงตัว มะเขือที่เขาปลูกเอาไว้ต้นหนึ่งมีผลโตน่ากินเพราะ นายแสนปมถ่ายปัสสาวะรดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งเทวดาดลใจให้พระธิดานีกอยากเสวยมะเขือ พวกนางข้าหลวงจึงออกเสาะหาจนมาพบมะเขือในสวนของนายแสนปม ลูกใหญ่อวบจึงขอซื้อไปถวาย หลังจากพระราชธิดาเสวยมะเขือของนายแสนปมได้ไม่นานก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้น ท้าวไตรตรึงษ์รู้สึกอับอายขายหน้า พยายามสอบถามอย่างไรพระธิดาก็ไม่ยอมบอกว่าใครคือพ่อของเด็กในท้อง ครั้นเมื่อพระกุมารได้ เติบโตพอรู้ความ ท้าวไตรตรึงษ์จึงประกาศให้บรรดาขุนนางและเหล่าราษฎร์ทั้งหลายให้นำของกินเข้ามาในวัง หากพระกุมารยอมกิน ของผู้ใดผู้นั้นจะได้เป็นเขยหลวง บรรดาชายหนุ่มในเมืองต่างก็รีบเดินทางเข้าวังพร้อมของกินดีๆนายแสนปมทราบข่าวก็เข้าวังมาด้วยเช่นกัน
โดยถือเพียงข้าวสุกติดมือมาก้อนเดียว แต่พระกุมารรับไปเสวย ท้าวไตรตรึงษ์ทรงกริ้ว ที่พระธิดาไปได้กับคนชั้นไพร่ มิหนำซ้ำยังอัปลักษณ์จึงขับไล่ออกจากวัง นายแสนปมพาพระธิดากับพระกุมารเดินทางเข้าไปหาที่อยู่ใหม่ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องแปลงเป็นลิงนำกลองวิเศษมามอบให้ กลองนี้อยากได้อะไรก็ตีเอาตามได้ดังสารพัดนึก นายแสนปมอธิษฐานให้ปุ่มปมตามตัวหายไปแล้วตีกลองวิเศษ ร่างก็กลับเป็นชายรูปงาม จึงตีกลองขอบ้านเมืองขึ้นมาเมืองหนึ่ง ให้ชื่อ ว่า เมืองเทพนคร และสถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า ท้าวแสนปม ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความสงบสุข และเชื่อกันว่าราชโอรสของท้าวแสนปมคือพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์ผู้ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า นำไปพระราชนิพนธ์ เรื่อง ท้าวแสนปม ทำให้คนทั้งประเทศรู้จักท้าวแสนปมมากขึ้น
​เจดีย์เจ็ดยอดงามสม หมายถึง  ภายในกำแพงเมืองโบราณของนครไตรตรึงษ์ มีวัดประจำเมืองคือวัดเจดีย์เจ็ดยอด ซึ่งเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวง(ร.5) เสด็จประพาสต้น กำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2449  เมื่อถึงนครไตรตรึงษ์ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า...วิหารเจดีย์พังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยหนึ่ง เรียกว่าเจดีย์เจ็ดยอด จะเป็นด้วยผู้มาตรวจตราค้นพบ สามารถจะถางเข้าไปได้แค่เจ็ดยอดแต่ที่จริงคราวนี้ เขาถางได้ดีกว่า จึงได้พบมากกว่า 7 คือ พระเจดีย์ใหญ่ขนาดพระมหาธาตุริมน้ำอยู่กลาง มีพระเจดีย์สามด้าน... เจดีย์เจ็ดยอด มีเจดีย์รายล้อม พระมหาเจดีย์ อยู่ 3 ด้าน รวม 14 องค์
  ​ยังมีเศียรหลวงพ่อโต เดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนวิหาร เป็นพระที่สร้างขึ้นมาใหม่ จากคำบอกเล่าของนางเสนอ สิทธิ ปราชญ์ชาวบ้านเมืองไตรตรึงษ์ เล่าว่า เป็นพระที่สร้างขึ้นมาใหม่
 ทางวัดได้จัดหาลิเกมาเล่นและเล่นบนวิหารโบราณ ในคืนนั้นฝนตกหนัก ตอนเช้าได้พบว่าองค์พระได้โค่นลงมา พังเสียหายหมดเหลือแต่เศียรเท่านั้นทางวัดจึงยกเศียรขึ้นตั้งอย่างที่เห็นในปัจจุบัน บริเวณหน้าวัดมีศาลของท้าวแสนปมและในบริเวณวัด ก็มีมีรูปปั้นท้าวแสนปม ที่คนทั่วไปให้ความเคารพนับถือในฐานะเป็นตำนานของท้าวแสนปม ผู้สร้างเมืองเทพนคร ฝั่งตรงกันข้ามกับนครไตรตรึงษ์ตามตำนาน
        ​ ภายในโบสถ์ ได้รับการต่อเติมจากใหม่จากชาวบ้าน มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านเรียกขานกันว่า"หลวงพ่อเพชร" ใต้ฐานพระอุโบสถ ขุดลงไปทะลุไปทั้งสองด้าน ทำให้งดงาม ลมพัดผ่านเย็น เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญนิยมทีนักท่องเที่ยวนิยมมาลอดใต้โบสถ์ขอพรเพื่อความเป็นศิริมงคล
​ ที่หมู่บ้านเพชรนิยม อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร  ผู้นำชุมชนกล่าวต้อนรับพร้อมชมการแสดงต้อนรับ ทำกิจกรรมร่วมกัน ชมการสาธิตการทำจักสาน สินค้าโอทอป นั่งรถอีต๊อกชมวิวิถีปกาเกอะญอ เที่ยวชมถ้ำแสงเพชร ​​วิถีชาวปกาเกอะญอ หรือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่ อ.คลองลาน   มี2 หมู่บ้าน คือ  บ้านคลองน้ำไหลใต้และบ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ต.คลองลานพัฒนา



  อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย ปัจจุบันพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ทั้งภาษาและชุดประจำเผ่า ที่ชาวปกาเกอะญอ ยังคงใส่ในงานประเพณีสำคัญ


 โดยวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่ยังคงเรียบง่าย มีการปลูกผัก เลี้ยงหมูและไก่ไว้รับประทานในครอบครัว  หมู่บ้านแห่งนี้ยังคงความเป็นธรรมชาติที่เงียบสงบ มีธารน้ำตกไหลผ่าน ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความเย็นของสายน้ำ บริเวณน้ำตกยังมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ใสสะอาดเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนในหมู่บ้าน
ที่นี่มีอาคารศูนย์วัฒนธรรมกระเหรี่ยงน้ำตก เป็นหมู่บ้านอัตลักษณ์โอทอปเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อการเรียนรู้ มีสินค้าหลากหลายภายในชุมชนที่เกิดจากภูมิปัญญาชุมชน  สามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเครื่องจักสานและผลงานปักผ้า
​ชมความสวยงามของถ้ำแสงเพชร  มีหินงอกหินย้อย ความงดงามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่ยามต้องแสงส่องประกายดุจดั่งเพชร ส่องแสงเป็นประกายแวววาวระยิบระยับ หินงอก หินย้อย แต่ล่ะก้อนสะสมตัว ผ่านตามกาลเวลา  เป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ



ความคิดเห็น