พช.พาสื่อเยือนเมืองตาก ชมวิถีชีวิตมูเซอดำและปกาเกอะญอ

กรมการพัฒนาชุมชนโดยภารกิจนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้นการ สร้าง โอกาส อาชีพและการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้น ทาง การท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม  แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับ พื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชนนั้น

วันที่ 3 พ.ย.61 คณะเดินทางไปยังหมู่บ้านห้วยปลาหลด อ.แม่สอด และเข้าหมู่บ้านด้วยรถระกระบะของชุมชน ทำกิจกรรม ที่หมู่บ้านห้วยปลาหลด ,ชมต้นสนสองใบ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิภพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรง ปลูก ณ เขตอุทยานตากสินมหาราช ,สักการะวัดถ้ำจุนโท พร้อมฟังธรรมเทศนา,ชมไร่กาแฟและการสาธิตการทำ กาแฟ ,ผู้นำชุมชนกล่าวต้อนรับพร้อมชมการแสดงชุด จะคึ ถ่ายภาพ ณ จุดชมวิว ล้อ ฆ้อ คอ ชมต้นน้ำและการ จัดการหมู่บ้าน ,ชมสินค้า OTOP ,ไปยังหมู่บ้านป่าไร่เหนือ….. จ.ตาก และร่วมทำกิจกรรม มีผู้นำชุมชนกล่าวต้อน รับพร้อมรับชมการแสดงชุดรำดาบกระเหรี่ยง และการละเล่นพื้นเมือง ณ ลานวัฒนธรรม ,ชมสินค้า OTOP ,ชมประวัติศาสตร์ถ้ำซามูไร ,ชมบ้านภูมิปัญญาชาวบ้าน,ชมการสาธิตการทอผ้า
หมู่บ้านห้วยปลาหลด อ.แม่สอด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวกะเหรี่ยงเคยอาศัยมาก่อน ชาวมูเซอเกือบทั้งหมู่บ้าน ทำมาหากินโดยปลูกและค้าฝิ่น ใช้ที่ดินจนหมดความสมบูรณ์ หรือที่เรียกว่าไร่เลื่อนลอย ผืนป่ามหาศาลจึงกลาย สภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม เมื่อป่าถูกทำลาย แหล่งน้ำจึงแห้งแล้ง และดินเสื่อมสภาพ เมื่อเดือนมกราคม ปี 2517 พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชุมชนบ้านห้วยปลาหลดและทรงมีพระ ราชกระแสให้ปลูกพืชที่ทำรายได้ทดแทนฝิ่น พร้อมกับตั้งตลาดมูเซอ เพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน เป็นแรงบันดาลใจให้ชาวบ้านหันมาปลูกกาแฟผสมในพื้นที่ป่า นำไปสู่การดูแลรักษาป่า อีกทั้งยังปลูกผักหลาก หลายชนิด เช่น ฟักแม้ว หรือมะระหวาน ซึ่งให้ผลผลิตตลอดปี สามารถเก็บขายและเป็นรายได้หลักให้กับชุมชน

ปี 2524 ชุมชนบ้านห้วยปลาหลดถูกประกาศพื้นที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ทางอุทยาน ฯ จึงขอให้ชุมชนคืนพื้นที่เพื่อดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ แต่สภาพพื้นที่อพยพที่จัดเตรียมไว้ ไม่เหมาะสมกับวิถี ชีวิตของชาวบ้าน 
ชุมชนบ้านห้วยปลาหลดจึงหยุดทำไร่เลื่อนลอยและเริ่มหันมาดูแลรักษาป่าต้นน้ำอย่างจริงจัง การ อยู่ร่วมกับป่าของชุมชนบ้านห้วยปลาหลด นับเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวมูเซอดำ บ้านห้วปลาหลดกับหน่วยจัดการป่าต้นน้ำดอยมูเซอ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปัจจุบันพืชเศรษฐกิจสำคัญของ ชุมชน ได้แก่ กาแฟอาราบิก้า หน่อไม้ มะขามป้อม และฟักแม้ว(ซาโยเต้) ชาวบ้านจะนำไปขายที่ตลาดมูเซอ ซึ่งเป็น แหล่งรองรับผลผลิตทางการเกษตร ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนประมาณ 20,000 – 35,000 บาทต่อเดือน ชุมชนได้พึ่งพิงป่าจากความหลากหลายของพืชและสัตว์ โดยเป็นแหล่งอาหาร และไม้ใช้สอยที่ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ ชาวบ้านชุมชนบ้านห้วยปลาหลดจึงมีคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสามารถพึ่งพาตนเองได้



บ้านไร่เหนือ ไปยังบ้านป่าไร่เหนือบ้านป่าไร่เหนือ ตำบลพระธาตุ อ.แม่ระมาด จ.ตาก เป็นพื้นที่เป็นราบเชิงเขามีลำน้ำ ไหลผ่านหมู่บ้าน ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ มีวิถีชีวิตเป็นอัตลักษณ์ มีการจัดทำสื่อเรียนรู้อัต ลักษณ์ภูมิปัญญา ชาติพันธุ์และวิถีชีวิต การออกแบบปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว พัฒนาอาหารพื้นถิ่น
ผู้นำชุมชนร่วมกับชาวบ้านได้พัฒนาฟื้นฟูอัตลักษณ์ชาติพันธุ์วิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่นขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมพัฒนาแหล่งเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเช่นลานวัฒนธรรม มีการจัดแสดงชีวิตปากากะญอ ต้อนรับนักท่องเที่ยว บ้านภูมิปัญญา แสดงการแปรรูปการทอผ้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนผลิตภัณฑ์ OTOP สินค้าที่ระลึกและบ้านปากากะญอดั้งเดิมมีไว้เป็นที่พักโฮมสเตย์เพื่อรับรองนักท่องเที่ยว

ถ้ำซามูไร เป็นที่สนใจของกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศญี่ปุ่น ที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น จาก การที่หลากหลายหน่วยงานได้ร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่หลายจุด และในพื้นที่บ้านตีนธาตุ ต.พระธาตุ อ.แม่ระมาด กลุ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมาศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ที่เกี่ยวข้องกับชาวญี่ปุ่น นั่นคือเส้นทางเดินทัพของกองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่น ดินแดนอาทิตย์อุทัย ณ ถ้ำซามูไร(คลังแสง) ในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่ทหารญี่ปุ่นเคยใช้เดินทางมาตั้งค่ายพักแรมในถ้ำที่บ้านตีนธาตุ และต่อมามีคนพบเครื่องมือ-อุปกรณ์ ของ ข้าวเครื่องใช้ของทหารญี่ปุ่นเก็บไว้ในถ้ำ
เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรมตาก จะทำให้นักท่องเที่ยวสัมผัสถึงชีวิตตลอดจนประวัติศาสาตร์อันยาวนานของชุชนและสถานที่อันน่าสนใจ ที่มีประเพณีดั้งเดิมและการต่อยอดทางด้านภูมิปัญญาในทุกๆด้านที่จะสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนอย่างไม่รู้ลืม นอกจากไปเชคอิน แชะ ชม ชิม ช้อป แชร์..แล้วยังจะรัก…ในดินแดนแห่งนี้อย่างไม่รู้ลืม..

ความคิดเห็น