ในโอกาสที่ ตุน ดร.มาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมบรรยายพิเศษในหัวข้อ ‘ความสัมพันธ์มาเลเซีย-ไทยในบริบทอาเซียน’ (Malaysia - Thai Bilateral Reletions in the Context of ASEAN) โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ พร้อมผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ ณ หอประชุม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า ประเทศไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์กันมายาวนานตั้งแต่ปี 2500 และในปี 2510 ได้ร่วมลงนามข้อตกลงเป็นสมาชิกอาเซียน Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) เพื่อความร่วมมือด้านสภาพสังคมและเศรษฐกิจ“เราเห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งของท่าน ในฐานะนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียในการดำเนินการและให้ความร่วมมือเพื่อทำให้ภารกิจพิเศษเกิดขึ้นและเป็นจริง ทั้งการกำหนดทิศทางและมุ่งความสนใจในด้านสาธารณะเพื่อแก้ปัญหา ที่ไม่ใช่แค่ประโยชน์ต่อคนในชาติแต่ยังส่งผลต่อภูมิภาคในประเทศนี้อีกด้วย และประเทศไทยเองก็พร้อมและสามารถร่วมมือในแง่ของความสัมพันธ์กับประเทศมาเลเชีย นอกจากนี้ยังสามารถร่วมมือกับสมาชิกในประชาคมอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีถัดไปไทยในฐานะประธานของอาเซียนในปีหน้า
ทั้งนี้การมาเยือนของท่านแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดี พร้อมกับการบรรยายพิเศษที่ให้ความรู้แก่ประชาชนไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นที่จดจำของคนไทยไปอีกนาน ...และในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถมั่นใจได้ของการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของเรา เพื่อความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างคณาจารย์และพนักงานของเราทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยมาเลเซีย นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อการศึกษาในระดับภูมิภาคผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเพื่อนำไปสู่อนาคตของคนรุ่นใหม่ ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนอีกด้วย”ในการนี้ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬามหาวิทยาลัย ได้นำเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ มาให้การต้อนรับและเข้าร่วมการบรรยายครั้งนี้ พร้อมจัดอาหารว่างมารับรอง ด้วยทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่า ประเทศไทยคือศูนย์กลางด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของโลก ที่การันตีด้วยรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประเภทนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ ระดับดีเด่น
จากโครงการ ‘HAL-Q นวัตกรรมระบบบริหารจัดการคุณภาพความปลอดภัยผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลครบวงจร’ ซึ่งทุกนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์และคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้บริโภคทั้งสิ้น “ทุกครั้งที่มีงาน หรือแขกผู้มีเกียรติจากประเทศมุสลิมมาเยือน ทางศูนย์ฯ จะต้องต้อนรับและรับรองอาหารว่าง และครั้งนี้เช่นกันได้มาต้อนรับคณะผู้นำประเทศมาเลเซียซึ่งประเทศไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีกันมานานแล้ว ทั้งได้มีการร่วมมือและส่งเสริมทางด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล โดยปี 2546 ได้เปิดศักราชใหม่กับความร่วม มือระหว่างกิจการฮาลาลของประเทศไทยและมาเลเซียด้วย ทั้งได้รับเชิญไปบรรยายพิเศษเรื่องความสำเร็จของฮาลาลประเทศไทยโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุน ที่รัฐซาราวัก มาเลเซีย จนผู้นำของรัฐแสดงความประสงค์ใช้ประเทศไทยเป็นโมเดลในการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของเขา และรัฐยะโฮร์ ได้มาปรึกษารูปแบบของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาศูนย์ฮาลาลให้เป็นศูนย์กลางฮาลาลที่ทันสมัยที่สุดของมาเลเซีย
นอกจากนี้ ได้มาเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ และส่งเจ้าหน้าที่มาเข้ารับการอบรมด้วย เพราะอยากทราบความก้าวหน้าของฮาลาล ประเทศไทย และประสงค์จะสร้างความร่วมมือระหว่างมาเลเซียและประเทศไทยด้านการพัฒนางานรับรองฮาลาล...ในการขับเคลื่อนงานฮาลาลที่ทำให้ทั่วโลกมองประเทศไทยเป็นแบบอย่าง เป็นอีกครั้งที่สร้างความภาคภูมิใจและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ด้วยมุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยด้านกายภาพและจิตวิญญาณของผู้บริโภคมุสลิมทั้งในประเทศและทั่วโลก ดังนั้นวิทยาศาสตร์ฮาลาล จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สาขาต่างๆ นำไปสู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ”
ตุน ดร.มาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า อาเซียนมีศักยภาพสูง จากการมีประชากรมากกว่า 660 ล้านคน นับเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่อาเซียนควรทำคือ“การหันมาผลิตสินค้าต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะถ้าผลิตเองจะทำให้มีผลผลิตมากมาย และเติบโตได้รวดเร็วขึ้น และจากการที่อาเซียนมีความหลากหลาย แต่ละชาติจึงควรใช้ความแตกต่างให้เกิดประโยชน์…สำหรับการแก้ปัญหา ได้พิสูจน์ว่าอาเซียนประสบความสำเร็จในการรักษาเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาค โดยใช้วิธีที่ดีที่สุด เป็นสิ่งที่เราให้คุณค่าว่าเราแก้ไขได้โดยผ่านการเจรจา”นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ผู้นำที่อาวุโสที่สุดในโลกด้วยอายุ 93 ปี หากยังคงความสง่า แข็งแรง ทั้งปฏิภาณไหวพริบยอดเยี่ยม เผยเคล็ดลับว่า- -“ผมไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่กินเยอะเกินไปจนปล่อยให้อ้วน เราจะอายุสั้นหากกินมากเกินไป และผมออกกำลังกายด้วย รวมถึงผมชอบสู้กับคน และการตอบคำถามทำให้ผมใช้สมองอย่างสม่ำเสมอ ผมเป็นคนที่ตื่นตัวอยู่เสมอ...และผมไม่เครียดเกินไป ผมไม่คิดว่าผมเป็นคนเครียดนะ เมื่อมีบางสิ่งเกิดขึ้น คุณต้องยอมรับมันและรู้จักปรับตัวอยู่กับปัญหาให้ได้”
นี่คือ มหาบุรุษแห่งเอเชีย ผู้ไม่เคยหยุดนิ่ง
ทั้งนี้การมาเยือนของท่านแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดี พร้อมกับการบรรยายพิเศษที่ให้ความรู้แก่ประชาชนไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นที่จดจำของคนไทยไปอีกนาน ...และในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถมั่นใจได้ของการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของเรา เพื่อความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างคณาจารย์และพนักงานของเราทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยมาเลเซีย นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อการศึกษาในระดับภูมิภาคผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเพื่อนำไปสู่อนาคตของคนรุ่นใหม่ ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนอีกด้วย”ในการนี้ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬามหาวิทยาลัย ได้นำเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ มาให้การต้อนรับและเข้าร่วมการบรรยายครั้งนี้ พร้อมจัดอาหารว่างมารับรอง ด้วยทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่า ประเทศไทยคือศูนย์กลางด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของโลก ที่การันตีด้วยรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประเภทนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ ระดับดีเด่น
จากโครงการ ‘HAL-Q นวัตกรรมระบบบริหารจัดการคุณภาพความปลอดภัยผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลครบวงจร’ ซึ่งทุกนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์และคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้บริโภคทั้งสิ้น “ทุกครั้งที่มีงาน หรือแขกผู้มีเกียรติจากประเทศมุสลิมมาเยือน ทางศูนย์ฯ จะต้องต้อนรับและรับรองอาหารว่าง และครั้งนี้เช่นกันได้มาต้อนรับคณะผู้นำประเทศมาเลเซียซึ่งประเทศไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีกันมานานแล้ว ทั้งได้มีการร่วมมือและส่งเสริมทางด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล โดยปี 2546 ได้เปิดศักราชใหม่กับความร่วม มือระหว่างกิจการฮาลาลของประเทศไทยและมาเลเซียด้วย ทั้งได้รับเชิญไปบรรยายพิเศษเรื่องความสำเร็จของฮาลาลประเทศไทยโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุน ที่รัฐซาราวัก มาเลเซีย จนผู้นำของรัฐแสดงความประสงค์ใช้ประเทศไทยเป็นโมเดลในการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของเขา และรัฐยะโฮร์ ได้มาปรึกษารูปแบบของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาศูนย์ฮาลาลให้เป็นศูนย์กลางฮาลาลที่ทันสมัยที่สุดของมาเลเซีย
นอกจากนี้ ได้มาเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ และส่งเจ้าหน้าที่มาเข้ารับการอบรมด้วย เพราะอยากทราบความก้าวหน้าของฮาลาล ประเทศไทย และประสงค์จะสร้างความร่วมมือระหว่างมาเลเซียและประเทศไทยด้านการพัฒนางานรับรองฮาลาล...ในการขับเคลื่อนงานฮาลาลที่ทำให้ทั่วโลกมองประเทศไทยเป็นแบบอย่าง เป็นอีกครั้งที่สร้างความภาคภูมิใจและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ด้วยมุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยด้านกายภาพและจิตวิญญาณของผู้บริโภคมุสลิมทั้งในประเทศและทั่วโลก ดังนั้นวิทยาศาสตร์ฮาลาล จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สาขาต่างๆ นำไปสู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ”
ตุน ดร.มาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า อาเซียนมีศักยภาพสูง จากการมีประชากรมากกว่า 660 ล้านคน นับเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่อาเซียนควรทำคือ“การหันมาผลิตสินค้าต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะถ้าผลิตเองจะทำให้มีผลผลิตมากมาย และเติบโตได้รวดเร็วขึ้น และจากการที่อาเซียนมีความหลากหลาย แต่ละชาติจึงควรใช้ความแตกต่างให้เกิดประโยชน์…สำหรับการแก้ปัญหา ได้พิสูจน์ว่าอาเซียนประสบความสำเร็จในการรักษาเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาค โดยใช้วิธีที่ดีที่สุด เป็นสิ่งที่เราให้คุณค่าว่าเราแก้ไขได้โดยผ่านการเจรจา”นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ผู้นำที่อาวุโสที่สุดในโลกด้วยอายุ 93 ปี หากยังคงความสง่า แข็งแรง ทั้งปฏิภาณไหวพริบยอดเยี่ยม เผยเคล็ดลับว่า- -“ผมไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่กินเยอะเกินไปจนปล่อยให้อ้วน เราจะอายุสั้นหากกินมากเกินไป และผมออกกำลังกายด้วย รวมถึงผมชอบสู้กับคน และการตอบคำถามทำให้ผมใช้สมองอย่างสม่ำเสมอ ผมเป็นคนที่ตื่นตัวอยู่เสมอ...และผมไม่เครียดเกินไป ผมไม่คิดว่าผมเป็นคนเครียดนะ เมื่อมีบางสิ่งเกิดขึ้น คุณต้องยอมรับมันและรู้จักปรับตัวอยู่กับปัญหาให้ได้”
นี่คือ มหาบุรุษแห่งเอเชีย ผู้ไม่เคยหยุดนิ่ง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น