“กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย” เดินหน้าแก้ปัญหาป่าไม้ น้ำหลากและน้ำแล้ง อ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ จ.แพร่

กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นกองทุนฉุกเฉินสำหรับดำเนินกิจกรรมให้ความช่วยเหลือประชาชนชาวไทยที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติในด้านต่างๆ อาทิ น้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว ภัยหนาว และภัยแล้ง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมากองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยมีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยทั่วประเทศในพื้นที่กว่า 37 จังหวัด คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 250 ล้านบาทฮอนด้าจะมอบเงิน 1,000 บาทต่อการขายรถยนต์หนึ่งคัน / 100 บาทต่อการขายรถจักรยานยนต์หนึ่งคัน / และ 10 บาทต่อการขายเครื่องยนต์อเนกประสงค์หนึ่งเครื่อง เข้าสมทบกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย เพื่อใช้ในภารกิจตามวัตถุประสงค์กองทุนฯ ซึ่งยอดเงินสะสมทั้งหมดนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 จนถึงเดือนตุลาคม 2561 มีจำนวนเงินทั้งสิ้นกว่า 1,000 ล้านบาท  การดำเนินงานของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9ระหว่างกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการผู้จัดการกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย กล่าวว่า “ปัญหาการจัดการน้ำนับเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ซึ่งกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยมีความพร้อมสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ตามเจตนารมณ์ของฮอนด้าในการสร้างคุณค่าเพื่อเป็นองค์กรที่สังคมไทยต้องการให้ดำรงอยู่ตลอดไป จึงผสานความร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยเริ่มดำเนินโครงการในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ตั้งแต่ปี 2558 โดยตลอด 4 ปีในการดำเนินงานสามารถแก้ไขปัญหาน้ำหลากและน้ำแล้งในพื้นที่ตำบลนาแขม ตำบลเมืองเก่า ตำบลดงขี้เหล็ก และตำบลหัวหว้า จังหวัดปราจีนบุรีได้บรรลุผลสำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้ขยายผลการดำเนินงานสู่พื้นที่ลุ่มน้ำน่าน โดยตลอด 2 ปีในการดำเนินงานสามารถพัฒนาแหล่งน้ำและเสริมศักยภาพโครงสร้างน้ำ รวมทั้งบรรเทาปัญหาน้ำหลาก น้ำท่วม และน้ำแล้ง ในพื้นที่ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลบ้านร้องแง จังหวัดน่าน และตำบลนครป่าหมาก จังหวัดพิษณุโลก และในปี 2561 โครงการฯ ได้ขยายผลการดำเนินงานสู่พื้นที่ลุ่มน้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำหนึ่งใน 25 ลุ่มน้ำหลักที่สำคัญของประเทศไทย ครอบคลุม 10 จังหวัดภาคเหนือ ทั้งนี้ กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยให้การสนับสนุนงบประมาณรวมทั้ง 3 ลุ่มน้ำตั้งแต่ปี 2558 – 2561 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 42.6 ล้านบาท”
“กิจกรรมในวันนี้ (1 ธ.ค.) เป็นการรวมพลังจิตอาสาของเครือข่ายชุมชนแม่จั๊วะ กองทัพภาคที่ 3 ร้านผู้จำหน่ายและกลุ่มลูกค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ฮอนด้าในจังหวัดแพร่ เพื่อฟื้นฟูลำห้วยหีดซึ่งเป็นลำห้วยสาขาของลำห้วยแม่จั๊วะ โดยการก่อสร้างฝายชะลอน้ำจำนวน 5 ฝาย ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ป่าต้นน้ำ รวมทั้งฝายหินก่อขนาดใหญ่จำนวน 1 ฝาย เพื่อช่วยดักตะกอนและชะลอน้ำหลากที่ทำให้เกิดปัญหาดินโคลนถล่มไหลเข้าอ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ ทำให้ประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำลดน้อยลง โดยคาดว่าโครงการดังกล่าว จะสามารถแก้ปัญหาน้ำแล้งและน้ำหลากที่ประสบมากว่า 10 ปี รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืนให้แก่ชุมชนตำบลแม่จั๊วะ ส่งผลให้ประชากร 243 ครัวเรือนมีน้ำสำรองใช้เพิ่มขึ้น 61,000 ลบ.ม. สำหรับการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรบนพื้นที่ 4,000 ไร่” นายพิทักษ์กล่าว
“น้ำ” มีความสำคัญอย่างยิ่งกับทุกชีวิตบนโลก ประเทศไทยประสบปัญหาการจัดการน้ำในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยจึงได้ผสานความร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9อย่างต่อเนื่อง โดยปี 2561 นี้นับเป็นปีที่ 4 (พ.ศ. 2558-2561) ในพื้นที่ 3 ลุ่มน้ำ โดยเริ่มจากลุ่มน้ำปราจีนบุรี ลุ่มน้ำน่าน และลุ่มน้ำยม เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ดำเนินงานสามารถบริหารจัดการน้ำได้ด้วยตนเอง พร้อมส่งต่อองค์ความรู้สู่ชุมชนอื่นต่อไป
  ​1. ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ดำเนินกิจกรรมในปี 2558 – 2561 ในพื้นที่ตำบลนาแขม ตำบลเมืองเก่า ตำบลดงขี้เหล็ก และตำบลห้วยหว้า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำมีปริมาณน้ำสำรองในพื้นที่ 4 ตำบล
รวม 3,563,500 ลบ.ม. ให้ประชาชน 5,043 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 17,884 ไร่
​2. ลุ่มน้ำน่าน ดำเนินกิจกรรมในปี 2559 – 2561 เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาเขาหัวโล้นกว่า 3,200 ไร่
ให้กลับเป็นป่าต้นน้ำที่สมบูรณ์ และช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง ป้องกันดินถล่ม ให้กับประชากรในพื้นที่ 4,700 ครัวเรือน
3. ลุ่มน้ำยม เป็นโครงการระยะยาว 3 ปี ดำเนินงานระหว่างปี พ.ศ.2559-2561 สำหรับปี 2561 เพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้งและน้ำหลาก การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืนให้แก่ชุมชนตำบลแม่จั๊วะ
มีน้ำสำรองใช้เพิ่มขึ้น 61,000 ลบ.ม. สำหรับการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรบนพื้นที่ 4,000 ไร่ และผู้ได้รับประโยชน์ 243 ครัวเรือน
 ​ลุ่มน้ำยม ประสบปัญหาน้ำท่วมหรือน้ำแล้งค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากขาดแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบน เพื่อช่วยชะลอและเก็บกักน้ำไว้ ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูน้ำหลาก และปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงน้ำแล้ง ชาวบ้านต้องนำดินลงไปทำฝายกันน้ำชั่วคราวเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ ส่งผลให้ปริมาณตะกอนดินในแม่น้ำยมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งก็จะเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ  โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนล่าง อ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ เป็นอ่างเก็บน้ำจากลำห้วยแม่จั๊วะ เป็น 1 ในลำห้วยสาขาของลำน้ำยม เป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญของชุมชนตำบลแม่จั๊วะ เพื่อใช้ในการเกษตรและการอุปโภคบริโภค แต่ที่ผ่านมา อ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ ขาดการดูแลรักษา มีปัญหาดินโคลนถล่ม ไหลลงอ่าง ทำให้ตื้นเขิน กักเก็บน้ำได้น้อย ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของชุมชนทั้งการอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยดำเนินการดังนี้
1) พื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำ - ฟื้นฟูและดูแลรักษาป่าต้นน้ำ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นป่า และดักตะกอนก่อนไหลลงอ่าง
2) พื้นที่อ่างเก็บน้ำ - ฟื้นฟูอ่างเก็บน้ำ เพิ่มโครงสร้างให้สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้น
3) พื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำ - มีระบบกักเก็บและกระจายน้ำสู่พื้นที่เกษตรด้านล่าง ด้วยการจัดทำลำเหมือง กระจายน้ำไปเก็บในสระน้ำแก้มลิง และ สระน้ำประจำไร่นา เพื่อทำเกษตรได้ตลอดปี
 กองทุนฮอนด้าฯ ร่วมกับมูลนิธิฯ ชุมชนเครือข่ายแม่จั๊วะ และกองทัพภาคที่ 3 สนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยมต่อเนื่อง ในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ได้แก่ การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น และดักตะกอน เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้น บรรเทาปัญหาน้ำหลากและดินสไลด์ ในพื้นที่ และส่งต่อความอุดมสมบูรณ์ ทางทรัพยากรธรรมชาติ ของพื้นที่ต่อไป
​รูปแบบกิจกรรม  สร้างฝายหินก่อ ขนาดกว้าง 8 เมตร สูง 1 เมตร จำนวน 1 ฝาย เพื่อดักตะกอน และสร้างฝายชะลอน้ำแบบคอกหมูไม้ไผ่ในลำห้วยหีด จำนวน 5 ฝาย
 เป็นโครงการนำร่อง ที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านน้ำในภาพรวมได้อย่างยั่งยืน ดังนี้
• บรรเทาปัญหาน้ำหลาก ลดภาวะขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ในช่วงฤดูแล้ง บรรเทาความรุนแรงของน้ำหลากลงสู่พื้นที่ภาคกลาง
• อนุรักษ์ฟื้นฟูลำน้ำ ชะลอน้ำหลาก และเพิ่มความชุ่มชื้นของพื้นที่ป่าต้นน้ำ
• ตัวอย่างพื้นที่ฟื้นฟูพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลาง ช่วยบรรเทาน้ำที่หลากลงมาและทำให้ประชาชนมีน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน
• การบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม เพิ่มการกักเก็บน้ำหลากช่วยให้ประชาชนมีน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน (กลางเดือนสิงหาคม-กลางเดือนตุลาคม)


ความคิดเห็น