Thailand Halal Assembly 2018​​​ งานแสดงสินค้าฮาลาลที่ดีที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 14 – 16 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) บางนา

​ด้วยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย (สมฮท.) และหน่วยงานร่วมจัดอื่นๆ มีกำหนดจัดงาน “Thailand Halal Assembly 2018” (THA 2018) โดยงานนี้ได้รวบรวมสินค้าฮาลาลทั้งในและต่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีฮาลาล วิทยาศาสตร์ฮาลาล เวชภัณฑ์ฮาลาล อุตสาหกรรมฮาลาล เบเกอร์รี่ฮาลาล เป็นต้น โดยจะมีขึ้น ระหว่างวันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) บางนา
​​​​​​​​​ ​​​รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ประธานจัดงาน THA 2018 และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า​​​​​​​​​​​​“ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ภายใต้แนวคิด ‘บูรณาการฮาลาลแม่นยำ ยุคเศรษฐกิจฐานชีวภาพ’ (Precision Halalization in Bioeconomy Era) ด้วยกิจการฮาลาลประเทศไทยกำลังพัฒนาสู่ยุคสมัยแห่งการฮาลาลแม่นยำ เช่นเดียวกับยุคการแพทย์แม่นยำ (Precision medicine) และการเพาะปลูกแม่นยำ (Precision farming) นั่นเอง เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพในฐานะที่ประเทศไทยมีจุดแข็งด้านการเกษตร รวมถึงได้จัดนิทรรศการ 2 ทศวรรษมาตรฐานฮาลาลไทยขึ้นภายในงานเพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 20 ปี ของการพัฒนามาตรฐานฮาลาลไทย และเพื่อแสดงถึงศักยภาพอุตสาหกรรมฮาลาลไทยให้ผู้ร่วมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับรู้ถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นในระบบและกระบวนการดำเนินงาน
ภายใต้หลักการศาสนารับรองและวิทยาศาสตร์รองรับ (Religion Certifies - Halal Science Supports) อันเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์ฮาลาลของไทยเป็นที่เชื่อถือในระดับนานาชาติ”​​​​​ด้วยใน ยุคเดิมทางการแพทย์  มีการใช้ยาเพื่อการบำบัดรักษาโรค โดยใช้ยาปริมาณมากเจือจางด้วยปริมาตรเลือดทั้งร่างกายเพื่อให้ยาเพียงน้อยนิดเข้าสู่จุดที่ต้องการรักษา ทว่าด้วยเทคโนโลยีใหม่ตัวยาถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีสร้างความจำเพาะส่งตัวยาสู่บริเวณที่ต้องการรักษาโดยไม่สร้างปัญหาให้เซลล์และอวัยวะอื่น ไม่เพียงยาเท่านั้น เทคโนโลยีในการรักษาโรคก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน ปริมาณยารวมถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์จึงลดปริมาณการใช้ลงมากในยุคการแพทย์แม่นยำ​​​​​​​​​​​​​​สำหรับในส่วนของ การเพาะปลูกทางการเกษตร ก็ไม่ต่างกัน มีการลดการใช้น้ำหรือปุ๋ยอย่างมากด้วยการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นระบบการเกษตรน้ำหยดที่พัฒนาถึงระดับ fine-tune dripping irrigation โดยส่งน้ำหรือปุ๋ยตรงไปยังรากในจังหวะเวลาที่พืชต้องการน้ำและปุ๋ย เป็นผลให้การใช้น้ำและปุ๋ยจำกัดปริมาณลงอย่างมหาศาล มีการประยุกต์ระบบโดรน (Drone) ร่วมกับการกำหนดพิกัดด้วย GPS และอื่นๆ การเพาะปลูกแม่นยำที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีเข้าไปเช่นนี้ได้สร้างยุคใหม่ให้กับการเพาะปลูกทางการเกษตรซึ่งกำลังพัฒนาเข้าสู่งานการเกษตรด้านอื่นรวมถึงการทำปศุสัตว์​​​​​​​​​​​​​และในส่วน การบูรณาการฮาลาลแม่นยำ เป็นความพยายามของประเทศไทยในการผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อการรับรองฮาลาล ไม่ว่าจะการตรวจทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาล โดยนำระบบ H-number ที่พัฒนาขึ้นใหม่เข้ามาใช้ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารสามารถเลือกวัตถุดิบฮาลาลอย่างถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องตรวจการปนเปื้อนในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อีกต่อไป โดยเลือกใช้ห้องปฏิบัติการเฉพาะที่จำเป็น ในระบบการมาตรฐานฮาลาล มีการพัฒนาระบบ HAL-Q
 Plus เพื่อให้การดำเนินงานการมาตรฐานฮาลาลเป็นไปอย่างจำเพาะโดยใช้เวลาสั้น และเลือกทำเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนหะรอมเท่านั้น​​​​​​​​​​นอกจากระบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาลและระบบการมาตรฐานฮาลาลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นการใหญ่ แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ‘มาตรฐานและมาตรวิทยา’  ซึ่งทางสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาเพื่อประเทศอิสลาม (Standard and Metrology Institute for Islamic Country) หรือ SMIIC ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย (สมฮท.) ซึ่งจะเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 20 ปีของมาตรฐานฮาลาลประเทศไทย ซางในงาน THA 2018 จะร่วมกับ ศวฮ.พัฒนามาตรฐานฮาลาลใหม่ๆ ให้กับประเทศไทยอย่างน้อย 5 - 6 มาตรฐานเพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินงานฮาลาลทุกด้าน การใช้มาตรฐานฮาลาลที่ถูกต้องมีส่วนอย่างสำคัญในการพัฒนางานบูรณาการฮาลาลแม่นยำอีกด้วย​​และภายในงาน THA 2018 ยังมีความสำคัญอีกเช่นกัน คือการรำลึกถึง ‘ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ’ ด้วยปีที่แล้ว ไม่มีผู้ใดสามารถลืมได้ว่า ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ จากพวกเราทุกคนไปในขณะกำลังเตรียมตัวมาเป็นประธานเปิดงาน THA 2017 นั่นคือวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 เหตุนี้งาน THA 2018 จึงจัดให้มีนิทรรศการและการบรรยายพิเศษที่ชื่อว่า Tansri Dr.Surin Pitsuwan Memorial Lecture เพื่อรำลึกถึงท่าน​​​​​​​​​“กล่าวถึง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ชื่อของท่านจะถูกจารึกไว้กับงาน THA ไปตลอด ย้อนหลังกลับไปในงาน World of Halal Science, Industry and Business หรือ ‘ WHASIB 2008’ ซึ่งเป็นงานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่ ศวฮ.จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่กระบี่ ท่านเป็นประธานเปิดงาน
 ต่อมาในงาน WHASIB ครั้งที่ 4 ค.ศ. 2011 ซึ่งจัดขึ้นที่สงขลา ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นประธานเปิดงานอีกครั้ง ท่านแนะนำให้ตัดอักษร W ออกเปลี่ยนชื่อเป็น HASIB ซึ่งให้ความหมายที่เป็นมงคลเนื่องจาก HASIB คือหนึ่งใน 99 พระนามของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เข้าปี 2012 ศวฮ.เปลี่ยนชื่องานเป็น HASIB ครั้งที่ 5 จัดที่สงขลา ดร.สุรินทร์เป็นประธานเปิดอีกครั้ง จนถึง HASIB ครั้งที่ 7 งานยกระดับขึ้นเป็น THA 2018 จัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นทารา เซ็นทรัลเวิร์ล มีท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน โดยครอบคลุมงาน Thailand International Halal Expo หรือ THIHEX  พร้อมกันไปด้วย” รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน กล่าว​​งาน THA 2018 นับเป็นครั้งที่ 5 มีงาน  HASIB ครั้งที่ 11 และงาน THIHEX 2018 จัดขึ้นภายใต้งานนี้ เป็นอีกครั้งที่ ศวฮ.ตั้งใจจะยกระดับงาน HASIB โดยยกขึ้นสู่ระดับงาน International Halal Science and Technology Conference เรียกสั้นๆว่า IHSATEC 2018 เพื่อเป็นการประกาศความเป็นหนึ่งทางด้านการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลนานาชาติที่พร้อมจะพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
​​​​​​​ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมงาน Thailand Halal Assembly 2018 ที่จะทำให้ทุกท่านตื่นตาตื่นใจกับเวทีสุดยิ่งใหญ่ แสงสีเสียงตระการตา พร้อมพบกับบูธกว่า 380 และเติมเต็มความรู้ในการประชุม-เสวนาหลากหลายเรื่องราวจากนักวิชาการฮาลาลจากทั่วทุกมุมโลก อาทิ บูรณาการฮาลาลแม่นยำยุคเศรษฐกิจชีวภาพ, สตรีมุสลิมกับการผลักดันสู่สังคมบูรณาการฮาลาลแม่นยำ, โอกาสและความท้าทายของตลาดฮาลาลโลกกับศักยภาพของธุรกิจจากประเทศไทยในยุคเศรษฐกิจฐานชีวภาพ และการประชุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อผลิตภัณฑ์และการบริการด้านฮาลาล เป็นต้น

ความคิดเห็น