พม. จับมือภาคีเครือข่ายจัดประชุมวิชาการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ระดับภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก เนื่องในวันสังคมสงเคราะห์โลก 2562
วันที่ 4 เม.ย. 62 เวลา 10.00 น. พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2562 ระดับภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ครั้งที่ 3 เนื่องในวันสังคมสงเคราะห์โลก ภายใต้หัวข้อ “การเสริมสร้าง ความตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์” (Promoting the Importance of Human Relationships) โดยมีผู้แทนจากสหประชาชาติ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้ปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคมจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งรัฐและเอกชน
จำนวนทั้งสิ้น 300 คน เข้าร่วม ณ ห้องประชุม Conference 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
พลเอก อนันตพร กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้มีวันสังคมสงเคราะห์โลก พร้อมด้วยหัวข้อการประชุมตามวาระโลกเพื่อการสังคมสงเคราะห์และ การพัฒนาสังคมประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวง พม. ได้ดำเนินการจัดงานวันสังคมสงเคราะห์โลกตั้งแต่ ปี 2551 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นสำหรับนักสังคมสงเคราะห์และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แนวทางที่ร่วมกันกำหนดระหว่างสหประชาชาติและสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ
พลเอก อนันตพร กล่าวต่อไปว่า สำหรับปี 2562 กระทรวง พม. โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ร่วมกับสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ และภาคีความร่วมมือสังคมสงเคราะห์ในประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงาน วันสังคมสงเคราะห์โลกในฐานะตัวแทนของภูมิภาคเอเชีย เป็นการจัดการประชุมวิชาการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2562 ระดับภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “การเสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์” (Promoting the Importance of Human Relationships) ซึ่งเป็นวาระโลกในปี 2562 ที่ถูกกำหนดโดยสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ และเป็นประเด็นสถานการณ์ทางสังคมที่จำเป็นต้องแสวงหาทิศทางการพัฒนาร่วมกัน โดยนักสังคมสงเคราะห์จำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคม อีกทั้งต้องพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์อย่างมีจุดมุ่งหมาย โดยส่งเสริม ให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการช่วยเหลือทางสังคม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการฟื้นฟู รักษา และเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล ครอบครัว กลุ่มสังคม องค์กร และชุมชน อย่างยั่งยืน
พลเอก อนันตพร กล่าวต่ออีกว่า การจัดงานในครั้งนี้ นับว่าเป็นเวทีระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการเผยแพร่ การดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ต่อสาธารณะ ด้วยการส่งเสริมให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดการพัฒนาการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม พัฒนาสังคม ระหว่างผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักสังคมสงเคราะห์และผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการสังคมในการเรียนรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวางในระดับภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก
โดยงานดังกล่าวได้กำหนดจัดกิจกรรมที่สนใจ ประกอบด้วย
1) การปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ Human relationships and roles of social service workforce โดย Mr. Thomas Davin ผู้แทนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และ
2). การอภิปราย หัวข้อ การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันของทั้งระดับบุคคล องค์กร และเครือข่าย โดย ผู้แทนจากองค์กรสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ (IFSW) สมาคมสภาการศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระหว่างประเทศ (IASSW) สภาสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ (ICSW) 3. การอภิปราย หัวข้อ การสร้างความเข้าใจและมุมมองต่อการขับเคลื่อนการเสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ พ.ศ. 2562 - 2564 จะดำเนินการอย่างไร โดย รองศาสตราจารย์เดชา สังขวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภุชงค์ เสนานุช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายชินชัย ชี้เจริญ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ” “กระทรวง พม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานในครั้งนี้ จะเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งความรู้เชิงวิชาการและประสบการณ์การทำงาน ส่งผลให้เกิดการพัฒนามุมมองในการดำเนินงานให้ทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลงในระดับโลก อีกทั้งยกระดับการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เกิด ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นำไปสู่สังคมแห่งความเอื้ออาทรต่อไป” พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย
พลเอก อนันตพร กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้มีวันสังคมสงเคราะห์โลก พร้อมด้วยหัวข้อการประชุมตามวาระโลกเพื่อการสังคมสงเคราะห์และ การพัฒนาสังคมประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวง พม. ได้ดำเนินการจัดงานวันสังคมสงเคราะห์โลกตั้งแต่ ปี 2551 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นสำหรับนักสังคมสงเคราะห์และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แนวทางที่ร่วมกันกำหนดระหว่างสหประชาชาติและสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ
พลเอก อนันตพร กล่าวต่อไปว่า สำหรับปี 2562 กระทรวง พม. โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ร่วมกับสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ และภาคีความร่วมมือสังคมสงเคราะห์ในประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงาน วันสังคมสงเคราะห์โลกในฐานะตัวแทนของภูมิภาคเอเชีย เป็นการจัดการประชุมวิชาการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2562 ระดับภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “การเสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์” (Promoting the Importance of Human Relationships) ซึ่งเป็นวาระโลกในปี 2562 ที่ถูกกำหนดโดยสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ และเป็นประเด็นสถานการณ์ทางสังคมที่จำเป็นต้องแสวงหาทิศทางการพัฒนาร่วมกัน โดยนักสังคมสงเคราะห์จำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคม อีกทั้งต้องพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์อย่างมีจุดมุ่งหมาย โดยส่งเสริม ให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการช่วยเหลือทางสังคม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการฟื้นฟู รักษา และเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล ครอบครัว กลุ่มสังคม องค์กร และชุมชน อย่างยั่งยืน
พลเอก อนันตพร กล่าวต่ออีกว่า การจัดงานในครั้งนี้ นับว่าเป็นเวทีระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการเผยแพร่ การดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ต่อสาธารณะ ด้วยการส่งเสริมให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดการพัฒนาการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม พัฒนาสังคม ระหว่างผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักสังคมสงเคราะห์และผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการสังคมในการเรียนรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวางในระดับภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก
โดยงานดังกล่าวได้กำหนดจัดกิจกรรมที่สนใจ ประกอบด้วย
1) การปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ Human relationships and roles of social service workforce โดย Mr. Thomas Davin ผู้แทนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และ
2). การอภิปราย หัวข้อ การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันของทั้งระดับบุคคล องค์กร และเครือข่าย โดย ผู้แทนจากองค์กรสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ (IFSW) สมาคมสภาการศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระหว่างประเทศ (IASSW) สภาสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ (ICSW) 3. การอภิปราย หัวข้อ การสร้างความเข้าใจและมุมมองต่อการขับเคลื่อนการเสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ พ.ศ. 2562 - 2564 จะดำเนินการอย่างไร โดย รองศาสตราจารย์เดชา สังขวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภุชงค์ เสนานุช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายชินชัย ชี้เจริญ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ” “กระทรวง พม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานในครั้งนี้ จะเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งความรู้เชิงวิชาการและประสบการณ์การทำงาน ส่งผลให้เกิดการพัฒนามุมมองในการดำเนินงานให้ทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลงในระดับโลก อีกทั้งยกระดับการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เกิด ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นำไปสู่สังคมแห่งความเอื้ออาทรต่อไป” พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น