ยัง ดีไซน์เนอร์ไทยสุดเจ๋งคว้ารางวัลออกแบบแว่นตา ในงาน “SILMO Bangkok 2019” สานฝันสู่เวทีแฟชั่นระดับโลก

นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้ร่วมสนับสนุนการจัดประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์แว่นตา “SILMO Bangkok Eyewear Design Contest 2019” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยผนึกกำลังร่วมกับผู้จัดงาน SILMO Bangkok 2019 เวทีเทรดแฟร์ธุรกิจแว่นตาระดับโลกที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อวันที่ 5-7 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้นักออกแบบไทยได้เรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานแว่นตาที่มีเอกลักษณ์ สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ในวงการแฟชั่นของไทย ให้ก้าวสู่เวทีระดับโลกต่อไป
“การประกวดในปีนี้จัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ The Art of Siam มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทั่วประเทศรวมกว่า 100 ผลงาน โดยทำการคัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบรวมทั้งสิ้น 30 ผลงาน พร้อมนำแว่นตาต้นแบบมานำเสนอแนวคิดการออกแบบ ซึ่งผู้ชนะทั้งรุ่นบุคคลทั่วไปและนิสิต นักศึกษา จะได้รับรางวัลรวมมูลค่ากว่า 120,000 บาท พร้อมนำผลงานไปจัดแสดงที่งาน SILMO Paris 2019”
 สำหรับผลตัดสินการประกวด “SILMO Bangkok Eyewear Design Contest 2019” มีดังนี้
รุ่นนิสิต นักศึกษา

แว่นอรุณ (ARUN)
น.ส.ณิชากมล ดันเจริญ    นางแบบ
รางวัลชนะเลิศ 
ผลงาน แว่นอรุณ (ARUN) ออกแบบโดยนางสาวณิชากมล ดันเจริญ นักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แรงบันดาลใจมาจากวัดอรุณราชวรารามฯ โดยนำจุดเด่นของวัดอรุณฯ
มาตัดทอน และนำมาใช้เป็นรายละเอียดของแว่น ซึ่งประกอบด้วย ยอดพระมงกุฎของพระปรางค์วัดอรุณ, รูปทรงจอมแหของพระปรางค์, รูปปั้นตุ๊กตาจีน และกระเบื้องเคลือบสีสันต่างๆ
 นายภูชิต ทองเงิน                            แว่น NONG-LUKS (นง-ลักษณ์)             นางแบบ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ผลงาน แว่น NONG-LUKS ของนายภูชิต ทองเงิน คณะมัณฑนศิลป์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
ซึ่งใช้คำว่า นง-ลักษณ์ แทนสัญลักษณ์ความงามของหญิงไทย โดยได้แรงบันดาลใจการออกแบบจากใบหน้าของตัวนางในวรรณคดี มาดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยโดยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ “ขนง” บริเวณกรอบเลนส์ด้านบนถูกตกแต่งให้มีลักษณะเหมือนคิ้วที่โก่งเป็นคันศร เป็นเอกลักษณ์ของหญิงไทยในอุดมคติ และ “อุบะ” จี้ที่ห้อยอยู่บริเวณข้างแว่นตาซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากมาลัยที่อยู่กับชฎาของตัวนาง และเมื่อสวมใส่จี้ที่บริเวณเชือกด้านหลังจะทำให้ดูเหมือนใส่ต่างหู
 แว่น LAPPING LIGHT
นายกิตติภณ โสดาตา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ผลงาน แว่น LAPPING LIGHT ออกแบบโดยนายกิตติภณ โสดาตา นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม
จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แว่นตาที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก
ว่าวจุฬา ซึ่งเป็นว่าวที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยและมีสัดส่วนสวยงาม โดยนำจุดเด่นของว่าวจุฬาที่เป็นเหมือนดาว 5 แฉกที่มาใช้ในการออกแบบ สร้างลูกเล่นให้เลนส์แต่ละแฉกสามารถหมุนได้ ซึ่งเลนส์ต่างแฉกก็จะมีสีที่ต่างกันออกไป เมื่อพับเลนส์มาซ้อนกันและมองผ่านเลนส์ก็จะเกิดสีที่ต่างออกไปตามการซ้อนกันของสีและแสงรุ่นบุคคลทั่วไป
 น.ส.พิชญาภา เพ็ชร์พิรุณ       แว่นอีสาน   
รางวัลชนะเลิศ ผลงาน แว่นอีสาน ออกแบบโดยนางสาวพิชญาภา เพ็ชร์พิรุณ ดีไซเนอร์ไทย
แว่นตาที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากลายเฉลว ซึ่งเป็นการนำตอก 3 เส้นมาสานขัดกันในแนวทแยง โดยใช้ชื่อคอนเซ็ปต์ว่า “อีสาน” ซึ่งเป็นการเล่นคำพ้องเสียงกับลายจักสานไทย โดยนำลายเฉลวมาสร้างสรรค์เป็นแพทเทิร์นที่ถูกปริ้นลงบนกรอบและขาแว่น นอกจากนี้มีการประดับด้วยโลหะฉลุลายเฉลวที่ขาแว่น เพิ่มความหรูหรา
 นายรชฏ นาคปานเสือ                            แว่นพระเครื่อง
 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ผลงาน แว่นพระเครื่อง ออกแบบโดยนายรชฏ นาคปานเสือ ดีไซเนอร์ไทย แว่นตาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระเครื่อง ซึ่งเป็นวัตถุมงคลและเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยมาช้านาน โดยออกแบบกรอบแว่นจากรูปทรงของกรอบพระเครื่อง มีสายคล้องแว่นที่เปรียบเสมือนสร้อยคอห้อยพระ พร้อมใส่กลิ่นอายของศิลปะผสมผสานแนว Art Décor เพื่อให้แว่นตามีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
ด้านมิสเตอร์เจอโรม โคลิน ประธานสมาคม GIFO และประธานกรรมการ SILMO ประเทศฝรั่งเศส หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินการประกวด กล่าวว่า การประกวด “SILMO Bangkok Eyewear Design Contest 2019” ถือเป็นการจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ให้แก่วงการแฟชั่นของไทย โดยเห็น
ได้จากผู้เข้าประกวดในปีนี้ที่มาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์และฝีมือการออกแบบแว่นตาที่ล้ำสมัย แต่ในขณะเดียวกันก็ผสมผสานศิลปะความเป็นไทยอย่างงดงามลงตัว ซึ่งผลงานของผู้ที่ชนะการประกวดจะถูกนำไปจัดแสดงในงาน SILMO Paris 2019 ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนกันยายนต่อไป

ความคิดเห็น