เพิ่มพูนความรู้ ประยุกต์ใช้ Software สู่ Digital Business โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs)
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัด “กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบดิจิทัลบริหารจัดการธุรกิจ” ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) เพื่อมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจและการลดต้นทุนการผลิต โดยการผลักดันให้ SMEs นำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจ โดยมีผู้ประกอบการทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการ เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 250 กิจการ ถือเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่แก่ผู้ประกอบการ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ทางธุรกิจ อาทิ ระบบบริหารจัดการสต๊อคสินค้า ระบบบัญชี ระบบ POS ระบบ CRM และ ระบบ HR 29 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ : ในงานสัมมนาสรุปผลการดำเนิน
กิจกรรมนี้ นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวถึงวัตถุประสงค์และความสำเร็จในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ว่า “กสอ. ได้ตระหนักถึงการสร้างศูนย์กลางการประกอบกิจการอย่างเป็นระบบของ SMEs โดยเฉพาะยุคสมัยที่เทคโนโลยีและระบบดิจิทัล จะเข้ามาเป็นบทบาทหลักสำคัญในการยกระดับการดำเนินธุรกิจ จากแนวคิดนี้ถือเป็นภารกิจหลักในการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล”
จากการร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า SMEs ที่ได้นำระบบดิจิทัลบริหารจัดการธุรกิจมาประยุกต์ใช้ทั้งสิ้น 130 กิจการ และมีความพึงพอใจต่อกระบวนการคิดเป็นร้อยละ 90 จากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ผลถึงศักยภาพทางธุรกิจและมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วพบว่าเกิดตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ หรือ Success Case ถึง 30 กิจการ ทั้งนี้ SMEs ที่ได้ใช้ระบบดิจิทัลนี้ มีการลดของเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 9 ล้านบาท ลดต้นทุนการผลิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 คิดเป็นมูลค่า 20 ล้านบาท และเสริมสร้างมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 9 ถึง 95 กิจการ สำหรับการดำเนินโครงการส่งผลให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท”ผู้ประกอบการกว่า 95% ยืนยัน ถึงประโยชน์ของโครงการว่า เป็นการยกระดับ SMEs ไทย ให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับโลกได้ อีกทั้งยังมีผลที่เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย “ควรมีโครงการต่อในปีที่ 2 คือผลตอบรับจากเสียงส่วนใหญ่”
กสอ. เล็งเห็นประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติ มุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนและเร่งผลักดันให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้กรอบแนวคิดของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
โดยภายในงานได้มีการจัดเสวนา เรื่อง “Success with Digital 4.0” โดยแบ่งเป็น 2 หัวข้อคือ ประเภทกลุ่มนวัตกรรม และ ประเภทกลุ่มการค้าขายและบริการ เสวนาโดยวิทยากร และ Success Case 6 ผู้ประกอบการ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าชาวเขา Piyasrila, บริษัท ทิพย์สมงาม จำกัด, บริษัท ไบโอเดอเนซ จำกัด, บริษัท เฟรช แอนด์ เฟรนลี่ฟาร์ม จำกัด, บริษัท กวางอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด และบริษัท ซิงโครอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด
กิจกรรมนี้ นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวถึงวัตถุประสงค์และความสำเร็จในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ว่า “กสอ. ได้ตระหนักถึงการสร้างศูนย์กลางการประกอบกิจการอย่างเป็นระบบของ SMEs โดยเฉพาะยุคสมัยที่เทคโนโลยีและระบบดิจิทัล จะเข้ามาเป็นบทบาทหลักสำคัญในการยกระดับการดำเนินธุรกิจ จากแนวคิดนี้ถือเป็นภารกิจหลักในการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล”
จากการร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า SMEs ที่ได้นำระบบดิจิทัลบริหารจัดการธุรกิจมาประยุกต์ใช้ทั้งสิ้น 130 กิจการ และมีความพึงพอใจต่อกระบวนการคิดเป็นร้อยละ 90 จากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ผลถึงศักยภาพทางธุรกิจและมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วพบว่าเกิดตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ หรือ Success Case ถึง 30 กิจการ ทั้งนี้ SMEs ที่ได้ใช้ระบบดิจิทัลนี้ มีการลดของเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 9 ล้านบาท ลดต้นทุนการผลิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 คิดเป็นมูลค่า 20 ล้านบาท และเสริมสร้างมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 9 ถึง 95 กิจการ สำหรับการดำเนินโครงการส่งผลให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท”ผู้ประกอบการกว่า 95% ยืนยัน ถึงประโยชน์ของโครงการว่า เป็นการยกระดับ SMEs ไทย ให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับโลกได้ อีกทั้งยังมีผลที่เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย “ควรมีโครงการต่อในปีที่ 2 คือผลตอบรับจากเสียงส่วนใหญ่”
กสอ. เล็งเห็นประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติ มุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนและเร่งผลักดันให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้กรอบแนวคิดของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
โดยภายในงานได้มีการจัดเสวนา เรื่อง “Success with Digital 4.0” โดยแบ่งเป็น 2 หัวข้อคือ ประเภทกลุ่มนวัตกรรม และ ประเภทกลุ่มการค้าขายและบริการ เสวนาโดยวิทยากร และ Success Case 6 ผู้ประกอบการ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าชาวเขา Piyasrila, บริษัท ทิพย์สมงาม จำกัด, บริษัท ไบโอเดอเนซ จำกัด, บริษัท เฟรช แอนด์ เฟรนลี่ฟาร์ม จำกัด, บริษัท กวางอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด และบริษัท ซิงโครอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น