เยาวชนไทยคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จากเวที ASEAN Data Science Explorers ระดับภูมิภาค ประจำปี 2562 จากการนำเสนอโครงการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศ
กรุงเทพมหานคร, 10 ตุลาคม 2562 – มูลนิธิอาเซียน เอสเอพี และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ประกาศผลผู้ได้รับรางวัลในรอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน ASEAN Data Science Explorers หรือ ASEANDSE ระดับภูมิภาค ประจำปี 2562 ได้แก่ ทีมจากประเทศเวียดนาม ประเทศสิงคโปร์ และประเทศไทย ซึ่งได้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในการระบุอินไซท์และแนวทางในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคอาเซียน ที่จำเป็นแก่การบริหารจัดการอย่างเร่งด่วน การแข่งขันดังกล่าวได้รับการจัดขึ้น โดยมีสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นเจ้าภาพร่วม และนางสาว กษมา คงสมัคร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นผู้มอบรางวัล ทั้งนี้รายละเอียดผู้ได้รับรางวัลในรอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน ASEANDSE ระดับภูมิภาค มีดังต่อไปนี้
ทีมผู้ชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม “AWM” ประกอบด้วย Trung Vu และ Ha Vu จาก RMIT University Vietnam กับโครงการ “Empowering Ethnic Minorities in ASEAN” ซึ่งเล็งเห็นศักยภาพของชนกลุ่มน้อยในการช่วยขับเคลื่อนพัฒนาการทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ทีมรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม “Re:volution” ประกอบด้วย Egwin Fan และ Shi Xuan Teng จาก Nanyang Technological University กับโครงการ “Waste Management” ซึ่งให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาด้านการบริหารจัดการของเสียของภูมิภาค
ทีมรองชนะเลิศอันดับที่สอง คือ ทีม “NT” ประกอบด้วย นางสาวนพวรรณ รักถิ่นกำเนิด และนางสาวบาวเจิง โงเล นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับโครงการ “Workforce gender gaps” ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศในสถานที่ทำงานการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคในปี 2562 เป็นบทสรุปของโครงการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านดาต้าอนาลิติกส์ ที่ดำเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ซึ่งมีคณาจารย์ประมาณ 500 คนและเยาวชนประมาณ 3,000 คนเข้าร่วมรับการอบรมด้านการใช้ซอฟต์แวร์อนาลิติกส์ คลาวด์ ของเอสเอพี ทั้งนี้โครงการ ASEAN Data Science Explorers หรือ ASEANDSE ระดับภูมิภาค ประจำปี 2562 มีเยาวชนจำนวนทั้งสิ้น 1,341 คน ให้ความสนใจเข้าร่วมแข่งขันในระดับประเทศ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 70%) ซึ่งมีขึ้นใน 10 ประเทศทั่วภูมิภาค โดยทีมผู้ชนะเลิศจากแต่ละประเทศเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ณ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ผู้ได้รับรางวัลในรอบชิงชนะเลิศ ระดับภูมิภาคทั้ง 3 ทีม ได้รับเลือกจากการพิจารณาความสามารถในการพัฒนาโซลูชั่น ซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเป็นพื้นฐานในการระบุและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาทางสังคม ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ได้แก่ (1) สุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี, (2) การศึกษาที่มีคุณภาพ, (3) ความเท่าเทียมทางเพศ, (4) การทำงานที่ดีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ, (5) อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน และ (6) เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
“พวกเรารู้สึกตื่นเต้นและดีใจมากที่ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของเราได้รับการยอมรับโดยอาเซียน องค์การสหประชาชาติ และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เพื่อนำวิสัยทัศน์ของเราไปทำให้เกิดขึ้นจริง เราได้สัมผัสวัฒนธรรมที่หลากหลายผ่านการพบปะเยาวชนจากประเทศต่างๆ ซึ่งได้กลายเป็นเพื่อนใหม่ของพวกเรา เราได้เรียนรู้จากกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองที่แตกต่าง โดยผมเชื่อว่าการเข้าถึงความหลากหลายเช่นนี้คือปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นพลเมืองโลกอย่างแท้จริง ดังที่ผมและเยาวชนคนอื่นๆ มุ่งหวัง” Trung Vu สมาชิกทีม “AWM” จากเวียดนามกล่าว
ทีม “Re:volution” จากสิงคโปร์ ซึ่งประกอบด้วย Egwin Fan และ Shi Xuan Teng เผย “โครงการ ASEANDSE ทำให้เราได้ตระหนักว่าภูมิภาคของเรากำลังเผชิญปัญหาทางสังคมจำนวนมาก ซึ่งเราจำเป็นต้องร่วมมือกันเข้าไปจัดการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ จากการแข่งขันในครั้งนี้ มากไปกว่าเพื่อนใหม่จากทั่วภูมิภาค เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับดาต้า อนาลิติกส์ ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าใจสถานการณ์ความท้าทายต่างๆ ได้อย่างทะลุปรุโปร่งและระบุแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ ASEANDSE นั้นทำให้เราเห็นว่าเยาวชนอย่างเราก็สามารถเป็นผู้นำเสนอนโยบายเพื่อสังคมได้ และเราคือผู้ขับเคลื่อนประเทศชาติของเราให้พัฒนาไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน”
ขณะที่ ทีม “NT” จากประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย นางสาวนพวรรณ รักถิ่นกำเนิด และนางสาวบาวเจิง โงเล กล่าวว่า “พวกเราดีใจมากที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ASEANDSE ประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับดาต้า อนาลิติกส์ในครั้งนี้ ทำให้เราเข้าใจถึงบทบาทของดาต้าต่อการทำความเข้าใจปัญหาทางสังคมที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ดังเช่น โครงการของเรา ซึ่งให้ความสำคัญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศในสถานที่ทำงาน ประเด็นดังกล่าวคือปัญหาทางสังคมที่เราได้พบเจอในชีวิตประจำวัน โดยอินไซท์ที่เราพบจากการเข้าการร่วมโครงการ ASEANDSE ก็ได้ตอกย้ำว่าปัญหาดังกล่าวต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน”
โครงการ ASEANDSE คือ โครงการระดับภูมิภาค ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมเยาวชนให้มีศักยภาพ ที่สอดคล้องกับยุคอุตสาหกรรม 4.0 และตอบโจทย์การขับเคลื่อนภูมิภาคอาเซียนสู่อนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่การริเริ่มโครงการในปี 2560 โครงการ ASEANDSE ได้มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพด้านดาต้า อนาลิติกส์ให้แก่เยาวชนแล้วกว่า 9,000 คน จาก 230 สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วภูมิภาคอาเซียน โดยมีผู้สมัครจากหลากหลายสาขาวิชา เช่น สาชาวิชารัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรม เข้าร่วมพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางสังคม
นาง อีเลน ตัน ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า “มูลนิธิอาเซียน รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจกับความร่วมมือของเรากับเอสเอพีที่ได้ก้าวมาสู่ปีที่สามในปีนี้ เอสเอพีนั้นมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการผลักดันโครงการดังกล่าว เราต่างยึดมั่นต่อแนวทางการพัฒนาเยาวชนในช่วงหลังปี 2563 ด้วยการเสริมทักษะเชิงดิจิตอลให้แก่เยาวชนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมสำหรับอนาคต โดยโครงการ ASEANDSE มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการคว้าโอกาสในชีวิตประจำวันแก่เยาวชนอาเซียน อีกทั้งเสริมทักษะเชิงดิจิตอลที่จำเป็นต่อการจัดการความท้าทายในยุคอุตสาหกรรม 4.0”
นางสาว เวเรน่า เซียว กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า กล่าวว่า “เราพบว่าช่องว่างทางความรู้และทักษะเชิงดิจิทัล คือ ความท้าทายที่กำลังปะทุตัวในทุกอุตสาหกรรมทั่วภูมิภาคอาเซียน โดยโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียน ทำให้เอสเอพีสามารถผลักดันความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และยกระดับเยาวชนของอาเซียนทุกคน ให้เพรียบพร้อมไปด้วยทักษะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนดิจิทัลอีโคโนมี ทั้งนี้เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ด้วยโครงการ ASEANDSE เราจะสามารถช่วยให้ช่องว่างทางศักยภาพเชิงดิจิทัลนั้นหมดไป”
นางสาว กษมา คงสมัคร กล่าวว่า “เพราะเยาวชนคืออนาคตของภูมิภาค เราจึงใส่ใจส่งเสริมและสนับสนุนพวกเขา ด้วยกรอบความคิดที่เป็นสากล นวัตกรรมที่ทันสมัย และที่สำคัญที่สุดคือวิสัยทัศน์ที่ใส่ใจสังคม โครงการ ASEANDSE นั้นมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และแนวคิดหลักแห่งวาระการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยในปี 2562 ซึ่งได้แก่ ‘ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกลยั่งยืน’ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมสนับสนุนโครงการ ในฐานะเจ้าภาพร่วมของการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ระดับภูมิภาค ประจำปี 2562 ซึ่งมีขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร โดยเราคาดหวังว่าในอนาคต เราจะได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่นๆ ดังเช่นในครั้งนี้”
เกี่ยวกับ เอสเอพี (SAP)
ในฐานะบริษัทด้านคลาวด์ที่ขับเคลื่อนด้วย SAP HANA® เอสเอพี เป็นผู้นำตลาดซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นระดับองค์กร ที่ได้ช่วยเหลือองค์กรขนาดต่างๆในทุกอุตสาหกรรมให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดย 77% ของรายได้จากการทำธุรกรรมของโลกนั้นเกิดขึ้นบนระบบของเอสเอพี นอกจากนี้เทคโนโลยีแมชชีน เลิร์นนิ่ง อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงของเอสเอพี ช่วยเปลี่ยนธุรกิจของลูกค้าให้เป็นอินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เอสเอพีช่วยให้ผู้คนและองค์กรเข้าใจในธุรกิจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เราลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเราได้อย่างที่ต้องการและต่อเนื่อง ชุดแอพพลิเคชั่นและบริการครบวงจรของเอสเอพี ช่วยให้ลูกค้าธุรกิจและภาครัฐกว่า 437,000 ราย สามารถทำกำไร ปรับตัว และสร้างความแตกต่างได้ ด้วยเครือข่ายลูกค้าพาร์เนอร์ พนักงาน และผู้นำทางความคิดที่มีอยู่ทั่วโลก เอสเอพีช่วยให้โลกดำเนินงานได้ดีขึ้นและปรับปรุงชีวิตของผู้คน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sap.com
เกี่ยวกับ มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)
หลังจากที่ประชาคมอาเซียนก่อตั้งมาได้ 3 ทศวรรษ บรรดาผู้นำอาเซียนต่างตระหนักได้ว่า การแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันในหมู่สมาชิก การสร้างจิตสำนึกของความเป็นอาเซียน และการติดต่อสื่อสารกันหว่างประชาชนยังคงไม่เพียงพอ ซึ่งความวิตกกังวลดังกล่าวส่งผลมีการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียนขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 มูลนิธิอาเซียนก่อตั้งโดยอาเซียนเพื่ออาเซียน ด้วยวิสัยทัศน์เพียงหนึ่งเดียวคือการสร้างประชาคมอาเซียนให้มีความมั่งคั่งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีหน้าที่สนับสนุนการสร้างจิตสำนึก อัตลักษณ์ ปฏิสัมพันธ์ และพัฒนาการของประชาชนในอาเซียน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิอาเซียนได้ที่ www.aseanfoundation.org
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) หรือ ดีป้า จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบันเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ ตามมาตรา ๓๔ และให้มีคณะกรรมการกำกับสำนักงานฯคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ทำหน้าที่กำกับและติดตามการดำเนินงานของสำนักงานฯ
ทีมผู้ชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม “AWM” ประกอบด้วย Trung Vu และ Ha Vu จาก RMIT University Vietnam กับโครงการ “Empowering Ethnic Minorities in ASEAN” ซึ่งเล็งเห็นศักยภาพของชนกลุ่มน้อยในการช่วยขับเคลื่อนพัฒนาการทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ทีมรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม “Re:volution” ประกอบด้วย Egwin Fan และ Shi Xuan Teng จาก Nanyang Technological University กับโครงการ “Waste Management” ซึ่งให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาด้านการบริหารจัดการของเสียของภูมิภาค
ทีมรองชนะเลิศอันดับที่สอง คือ ทีม “NT” ประกอบด้วย นางสาวนพวรรณ รักถิ่นกำเนิด และนางสาวบาวเจิง โงเล นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับโครงการ “Workforce gender gaps” ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศในสถานที่ทำงานการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคในปี 2562 เป็นบทสรุปของโครงการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านดาต้าอนาลิติกส์ ที่ดำเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ซึ่งมีคณาจารย์ประมาณ 500 คนและเยาวชนประมาณ 3,000 คนเข้าร่วมรับการอบรมด้านการใช้ซอฟต์แวร์อนาลิติกส์ คลาวด์ ของเอสเอพี ทั้งนี้โครงการ ASEAN Data Science Explorers หรือ ASEANDSE ระดับภูมิภาค ประจำปี 2562 มีเยาวชนจำนวนทั้งสิ้น 1,341 คน ให้ความสนใจเข้าร่วมแข่งขันในระดับประเทศ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 70%) ซึ่งมีขึ้นใน 10 ประเทศทั่วภูมิภาค โดยทีมผู้ชนะเลิศจากแต่ละประเทศเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ณ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ผู้ได้รับรางวัลในรอบชิงชนะเลิศ ระดับภูมิภาคทั้ง 3 ทีม ได้รับเลือกจากการพิจารณาความสามารถในการพัฒนาโซลูชั่น ซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเป็นพื้นฐานในการระบุและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาทางสังคม ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ได้แก่ (1) สุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี, (2) การศึกษาที่มีคุณภาพ, (3) ความเท่าเทียมทางเพศ, (4) การทำงานที่ดีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ, (5) อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน และ (6) เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
“พวกเรารู้สึกตื่นเต้นและดีใจมากที่ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของเราได้รับการยอมรับโดยอาเซียน องค์การสหประชาชาติ และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เพื่อนำวิสัยทัศน์ของเราไปทำให้เกิดขึ้นจริง เราได้สัมผัสวัฒนธรรมที่หลากหลายผ่านการพบปะเยาวชนจากประเทศต่างๆ ซึ่งได้กลายเป็นเพื่อนใหม่ของพวกเรา เราได้เรียนรู้จากกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองที่แตกต่าง โดยผมเชื่อว่าการเข้าถึงความหลากหลายเช่นนี้คือปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นพลเมืองโลกอย่างแท้จริง ดังที่ผมและเยาวชนคนอื่นๆ มุ่งหวัง” Trung Vu สมาชิกทีม “AWM” จากเวียดนามกล่าว
ทีม “Re:volution” จากสิงคโปร์ ซึ่งประกอบด้วย Egwin Fan และ Shi Xuan Teng เผย “โครงการ ASEANDSE ทำให้เราได้ตระหนักว่าภูมิภาคของเรากำลังเผชิญปัญหาทางสังคมจำนวนมาก ซึ่งเราจำเป็นต้องร่วมมือกันเข้าไปจัดการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ จากการแข่งขันในครั้งนี้ มากไปกว่าเพื่อนใหม่จากทั่วภูมิภาค เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับดาต้า อนาลิติกส์ ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าใจสถานการณ์ความท้าทายต่างๆ ได้อย่างทะลุปรุโปร่งและระบุแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ ASEANDSE นั้นทำให้เราเห็นว่าเยาวชนอย่างเราก็สามารถเป็นผู้นำเสนอนโยบายเพื่อสังคมได้ และเราคือผู้ขับเคลื่อนประเทศชาติของเราให้พัฒนาไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน”
ขณะที่ ทีม “NT” จากประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย นางสาวนพวรรณ รักถิ่นกำเนิด และนางสาวบาวเจิง โงเล กล่าวว่า “พวกเราดีใจมากที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ASEANDSE ประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับดาต้า อนาลิติกส์ในครั้งนี้ ทำให้เราเข้าใจถึงบทบาทของดาต้าต่อการทำความเข้าใจปัญหาทางสังคมที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ดังเช่น โครงการของเรา ซึ่งให้ความสำคัญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศในสถานที่ทำงาน ประเด็นดังกล่าวคือปัญหาทางสังคมที่เราได้พบเจอในชีวิตประจำวัน โดยอินไซท์ที่เราพบจากการเข้าการร่วมโครงการ ASEANDSE ก็ได้ตอกย้ำว่าปัญหาดังกล่าวต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน”
โครงการ ASEANDSE คือ โครงการระดับภูมิภาค ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมเยาวชนให้มีศักยภาพ ที่สอดคล้องกับยุคอุตสาหกรรม 4.0 และตอบโจทย์การขับเคลื่อนภูมิภาคอาเซียนสู่อนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่การริเริ่มโครงการในปี 2560 โครงการ ASEANDSE ได้มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพด้านดาต้า อนาลิติกส์ให้แก่เยาวชนแล้วกว่า 9,000 คน จาก 230 สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วภูมิภาคอาเซียน โดยมีผู้สมัครจากหลากหลายสาขาวิชา เช่น สาชาวิชารัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรม เข้าร่วมพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางสังคม
นาง อีเลน ตัน ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า “มูลนิธิอาเซียน รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจกับความร่วมมือของเรากับเอสเอพีที่ได้ก้าวมาสู่ปีที่สามในปีนี้ เอสเอพีนั้นมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการผลักดันโครงการดังกล่าว เราต่างยึดมั่นต่อแนวทางการพัฒนาเยาวชนในช่วงหลังปี 2563 ด้วยการเสริมทักษะเชิงดิจิตอลให้แก่เยาวชนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมสำหรับอนาคต โดยโครงการ ASEANDSE มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการคว้าโอกาสในชีวิตประจำวันแก่เยาวชนอาเซียน อีกทั้งเสริมทักษะเชิงดิจิตอลที่จำเป็นต่อการจัดการความท้าทายในยุคอุตสาหกรรม 4.0”
นางสาว เวเรน่า เซียว กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า กล่าวว่า “เราพบว่าช่องว่างทางความรู้และทักษะเชิงดิจิทัล คือ ความท้าทายที่กำลังปะทุตัวในทุกอุตสาหกรรมทั่วภูมิภาคอาเซียน โดยโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียน ทำให้เอสเอพีสามารถผลักดันความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และยกระดับเยาวชนของอาเซียนทุกคน ให้เพรียบพร้อมไปด้วยทักษะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนดิจิทัลอีโคโนมี ทั้งนี้เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ด้วยโครงการ ASEANDSE เราจะสามารถช่วยให้ช่องว่างทางศักยภาพเชิงดิจิทัลนั้นหมดไป”
นางสาว กษมา คงสมัคร กล่าวว่า “เพราะเยาวชนคืออนาคตของภูมิภาค เราจึงใส่ใจส่งเสริมและสนับสนุนพวกเขา ด้วยกรอบความคิดที่เป็นสากล นวัตกรรมที่ทันสมัย และที่สำคัญที่สุดคือวิสัยทัศน์ที่ใส่ใจสังคม โครงการ ASEANDSE นั้นมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และแนวคิดหลักแห่งวาระการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยในปี 2562 ซึ่งได้แก่ ‘ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกลยั่งยืน’ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมสนับสนุนโครงการ ในฐานะเจ้าภาพร่วมของการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ระดับภูมิภาค ประจำปี 2562 ซึ่งมีขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร โดยเราคาดหวังว่าในอนาคต เราจะได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่นๆ ดังเช่นในครั้งนี้”
เกี่ยวกับ เอสเอพี (SAP)
ในฐานะบริษัทด้านคลาวด์ที่ขับเคลื่อนด้วย SAP HANA® เอสเอพี เป็นผู้นำตลาดซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นระดับองค์กร ที่ได้ช่วยเหลือองค์กรขนาดต่างๆในทุกอุตสาหกรรมให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดย 77% ของรายได้จากการทำธุรกรรมของโลกนั้นเกิดขึ้นบนระบบของเอสเอพี นอกจากนี้เทคโนโลยีแมชชีน เลิร์นนิ่ง อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงของเอสเอพี ช่วยเปลี่ยนธุรกิจของลูกค้าให้เป็นอินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เอสเอพีช่วยให้ผู้คนและองค์กรเข้าใจในธุรกิจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เราลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเราได้อย่างที่ต้องการและต่อเนื่อง ชุดแอพพลิเคชั่นและบริการครบวงจรของเอสเอพี ช่วยให้ลูกค้าธุรกิจและภาครัฐกว่า 437,000 ราย สามารถทำกำไร ปรับตัว และสร้างความแตกต่างได้ ด้วยเครือข่ายลูกค้าพาร์เนอร์ พนักงาน และผู้นำทางความคิดที่มีอยู่ทั่วโลก เอสเอพีช่วยให้โลกดำเนินงานได้ดีขึ้นและปรับปรุงชีวิตของผู้คน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sap.com
เกี่ยวกับ มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)
หลังจากที่ประชาคมอาเซียนก่อตั้งมาได้ 3 ทศวรรษ บรรดาผู้นำอาเซียนต่างตระหนักได้ว่า การแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันในหมู่สมาชิก การสร้างจิตสำนึกของความเป็นอาเซียน และการติดต่อสื่อสารกันหว่างประชาชนยังคงไม่เพียงพอ ซึ่งความวิตกกังวลดังกล่าวส่งผลมีการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียนขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 มูลนิธิอาเซียนก่อตั้งโดยอาเซียนเพื่ออาเซียน ด้วยวิสัยทัศน์เพียงหนึ่งเดียวคือการสร้างประชาคมอาเซียนให้มีความมั่งคั่งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีหน้าที่สนับสนุนการสร้างจิตสำนึก อัตลักษณ์ ปฏิสัมพันธ์ และพัฒนาการของประชาชนในอาเซียน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิอาเซียนได้ที่ www.aseanfoundation.org
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) หรือ ดีป้า จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบันเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ ตามมาตรา ๓๔ และให้มีคณะกรรมการกำกับสำนักงานฯคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ทำหน้าที่กำกับและติดตามการดำเนินงานของสำนักงานฯ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น