รมว.วัฒนธรรม เปิด “TMF Power Fusion กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม” ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 ภาคตะวันออก

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน เปิดกิจกรรม “TMF Power Fusion กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม” จัดโดย “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน 5 ภูมิภาค ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อและผลิตสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม พร้อมกันนี้กล่าวปาฐกถาพิเศษเปิดงาน โดยมี รศ.ดร. พนา ทองมีอาคม, นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย, ผศ.ดร. วรัชญ์ ครุจิต, นายสมชาย เจริญอำนวยสุข, ดร.ธนกร ศรีสุขใส และ        นายนริศ นิรามัยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เข้าร่วมงาน พร้อมกันนี้ยังได้จัด TMF Talks หัวข้อ “การบูรณาการแผนพัฒนา ด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕)” รวมถึงเสวนาวิชาการ การสร้างสื่ออย่างสร้างสรรค์ด้านพลังการมีส่วนร่วม รวมถึงอบรมเชิงปฏิบัติการ และ ประชุมระดมสมอง แบ่งห้องย่อย สำหรับทุกกลุ่มประชากร เมื่อเร็ว ๆ นี้ (วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ อำเภอเมือง หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี)

นายอิทธิพล คุณปลื้ม เผยว่า “ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้จัดเวทีนี้ขึ้น ในสังคมปัจจุบัน​สิ่งสำคัญคือเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สื่อมีชีวิตอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา วันนี้จึงได้มีการเปิดเวทีเพื่อให้ทุกเครือข่ายได้มีส่วนร่วม ทั้งรับฟัง                  ความคิดเห็น เป็นกลไกที่สร้างสื่อนิเวศที่ดี เพราะสื่อมีทั้งดีและไม่ดี เราต้องสร้างสื่อที่ดีเพื่อไปละลายสื่อที่เสีย เราต้องให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อก่อน ต้องวิเคราะห์และเท่าทัน ปีสองปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเราประสบปัญหาข่าวปลอม จากสื่อที่ไม่สร้างสรรค์ทำให้เกิดผลกระทบ โดยเฉพาะการจัดทำสื่อที่มีวัตถุประสงค์ในการจุดกระแส อยากเด่นอยากดัง อยากให้เป็นกระแส  สุดท้ายคือเกิดการติดตามสื่อจากมวลชน

นอกจากนี้กองทุนยังมีการพัฒนาหนังหลายเรื่อง เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ดนตรีไทย ผู้พิการ ให้นักศึกษาได้ต่อยอดและนำเป็นองค์ความรู้ให้ประชาชน กองทุนเราอยากให้มีผู้เข้าถึงแหล่งทุนมากที่สุด แล้วนำไปขยายผลต่อ เราจึงมุ่งเน้น สถาบันการศึกษา องค์การประชาชน เอกชน วิสาหกิจชุมชน รวมถึงวัฒนธรรมของไทย ก็มีการสื่อสารซึ่งกันและกัน เข้าใจกองทุน นอกจากให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อแล้ว อยากเห็นผลงานที่ได้ทุนประสบความสำเร็จ ได้ต่อยอดไปในระดับต่างประเทศ ทั้งศิลปวัฒนธรรมและเผยแพร่ประเทศนั้น นำไปสู่สื่อที่ดีและสร้างรายได้เพื่อต่อยอดให้เกิดสื่อที่ดีในสังคมยุคปัจจุบัน ให้เกิดความเข้าใจ และมีเนื้อหาที่ดี ทัศนคติที่ดี เราจึงได้เปิดเวทีทุกภูมิภาค ซึ่งในปี 2563 มีคนขอรับทุน 1500 กว่าโครงการ เรื่องการจัดสรรก็มี 3 กลุ่ม คือกลุ่มทุนทั่วไป กลุ่มยุทธศาสตร์ และยุทธศาสตร์และความร่วมมือ ส่วนในปี 2564 ถือว่าเป็นข่าวดีเพราะกองทุนได้รับการจัดสรรโครงการเข้ามา ถ้ามองเราเป็นธนาคาร เราก็เป็นผู้ให้ทุนเพื่อให้เกิดการสร้างชิ้นงานที่ดี และสื่อดี หรืออย่างน้อยที่สุดจะได้มีสื่อดี ๆ สร้างองค์ความรู้ประเทืองปัญญา”

รศ.ดร. พนา ทองมีอาคม “ยินดีที่มามีส่วนร่วม ถ้าไม่มีคนมาร่วมกับเรา ลำพังกำลังของเราเอง จะไม่สำเร็จและลุล่วงได้ เพราะยุคปัจจุบันการทำอะไรต้องอาศัยการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ เช่น ร่วมขอทุน ร่วมให้ความคิดเห็น ทำให้งานของเราดีขึ้น ร่วมให้ข้อมูล และร่วมกันวางแผน ร่วมกันถาม สำหรับผู้สนใจก็อยากให้มาร่วมกิจกรรมในช่วงบ่ายจะได้ได้ทราบว่า จะได้ทุนได้อย่างไร”

สำหรับกิจกรรมช่วงบ่าย มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ และ ประชุมระดมสมอง โดยแยก เป็น  “เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และ การรู้เท่าทันสื่อ” “การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ การเรียนรู้ (Media Lab)” และ “อบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สำหรับทุกกลุ่มประชากร”

การเสวนาหัวข้อ “TMF Power Fusion” ซึ่ง นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย “สื่อที่สร้างสรรค์ที่จริงทุกท่านพูดไปหมดแล้ว ขอพูดถึงสาเหตุที่สื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ขยายวงกว้างเพราะสังคมโลกเปลี่ยนแปลง การเข้าถึงของคนก็รวดเร็ว ถ้าเข้าอย่างปลอดภัยก็จะเป็นคุณ แต่ถ้าเข้าถึงไม่ปลอดภัยก็จะเป็นลบทันที ตอนนี้เด็กเขาเชื่อในสิ่งที่ถูกตอกย้ำ เชื่อในสิ่งที่เขาหาอ่าน ก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ คุณครูที่ต้องเฝ้าระวัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง วัฒนธรรม ที่มีการสอนสั่งในประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราไม่ทำตามก็จะเกิดวิกฤตแน่นอน ในเรื่องของสื่อต่าง ๆ ก็จะมีผลกระทบทางบวกและลบ บวกคือมีการพัฒนามีวิถีชีวิตที่ดีงามตามประเพณี แต่ในเชิงลบ คือภาษา เพศ ความรุนแรง เรื่องของชาติ เรื่องการเสพสุราและยาเสพติด เพราะสิ่งเหล่านี้เขาสามารถเรียนรู้ได้ทางออนไลน์ ซึ่งแต่ก่อนจะเรียนรู้จากญาติผู้ใหญ่ การที่คิดไวแล้วนิ้วลั่นนั้น เราต้องทำเป็นนิ้วล็อก คิดไว้เสมอว่าการที่มีวิถีชีวิตที่เร็ว ทำให้นำพาสิ่งที่ไม่เหมาะสม

ส่วนเรื่องการขอทุนนั้น ในแต่ละทุนจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน  หนึ่งคือ “เจ้าภาพ” กองทุนคือรัฐบาล สอง “เจ้ามือ” คือเรา สาม “เจ้าของ” คือประชาชนทั่วไป ต้องอยู่ในหลักดีงาม และสร้างสรรค์ เราต้องเข้าใจว่ากองทุนนี้เป็นกองทุนให้เปล่า แต่ต้องส่งประโยชน์ให้เกิดกับสังคมและบ้านเมือง ให้เข้าถึงสถานการณ์บ้านเมืองในเชิงบวก ต้องมีความปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นเรื่องนวัตกรรม กองทุนนี้เป็นของประชาชน และให้ประโยชน์แก่ประชาชนได้แน่ ๆ”

ดร. ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ร่วมพูดคุยในหัวข้อ “การบูรณาการแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕)” มีใจความว่า

“สื่อเป็นตัวกลางต้องให้ความรู้ ความจริง ให้การศึกษา ต้องถ่ายทอดเพลงชาติ ความเป็นมรดกค่านิยมที่ดีงามในสังคม ตอนนั้นสื่อโทรทัศน์เรามีความสำคัญ ถ้าเรารับสื่อแบบไหนบ่อยๆ สื่อจึงถูกมองว่าถ้าจะขับเคลื่อนสังคม ผ่านมิติทางวัฒนธรรมต้องเริ่มต้นที่สื่อ และชื่อกองทุน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นำเสนอความหมาย 2 ความหมายคือ ความหมายโดยตรง และความหมายแฝง คือมีปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก็มีไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ ถ้าวันนี้สื่อไม่ดี สื่อไม่สร้างสรรค์เต็มไปหมด สื่อก็อยู่ยาก”

ด้านเวที TMF Power Fusion กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะสัญจรครั้งที่ 5         วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ฟรี !!!  https://tmfpowerfusion.com/


ความคิดเห็น