นักจิตวิทยา แนะ!! การเตรียมใจ ในการ Lock down รอบใหม่

จากสถานการณ์ Covid 19 ที่ผ่านมามีผลกระทบต่อ ประชาชนเป็นวงกว้าง ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การดำรงค์ชีวิต อีกอย่างที่สำคัญ คือ ทางด้านจิตใจ 
​การกลับมาของโรค Covid 19 ในประเทศไทย แน่นอนว่าต้องส่งผลต่ออารมณ์ ทั้งความกลัว วิตกกังวล รวมไปถึงสุขภาพจิต ของคนในสังคม แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะต้องสามารถตระหนักถึงความรู้สึกเหล่านี้ ว่าเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด เมื่อเราตระหนักรู้แล้ว เราจะเตรียมรับมือกับความรู้สึกอย่างไร และสังเกตความรู้สึกอะไรได้บ้างในตัวเรา แต่เชื่อว่าหลายคนอาจจะมีวิธีการเดิมจากการระบาดรอบแรก ที่เคยเจอมาแล้ว อย่างแรกเลยคือ การรับข่าวสาร ถ้าเรารู้สึกกังวลมาก หรือตื่นกลัวมาก ให้ลองสังเกตตัวเองดูว่า ข่าวสารที่รับมา เรารับมาในปริมาณที่พอดีไหม หรือว่ามากเกินไปจนก่อให้เกิดความกังวล มันจะสะสมมาโดยที่เราไม่รู้ตัว จนบางทีมันอาจะโหมขึ้นมาในระยะที่เรารับมือไม่ไหว นอกจากนี้ในเรื่องของการจัดการความคิด ความรู้สึก คือต้องมีเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อน ลองสังเกตตัวเองว่า มีอะไรที่เราควบคุมได้ ควบคุมไม่ได้ และเราทำอะไรได้ดี ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ถ้าเกิดต้องกลับมา Work from home อีกครั้ง เป็นปัญหาที่เจอบ่อยเหมือนกัน ตั้งแต่เกิด เหตุการณ์ Covid 19 สิ่งที่ทุกคนประสบก็คือเกิดความเครียดขึ้น หรือเกิดสภาวะที่พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจจะมีปัจจัยเรื่องการทำงาน หรือปัจจัยอื่นๆ ที่มาซ้อนทับกัน สิ่งที่ทำได้และอยากแนะนำคือ จัดตารางเวลา ให้เหมาะสมในแต่ละวัน เรามี 24 ชม. ใน 1 วันแบ่งตามที่เราปฏิบัติ ก็คือ 8/8/8 ทำงาน 8 นอนหลับพักผ่อน 8 ทำกิจกรรม 8 ใช้ชีวิต Normal เราอาจจะอยู่ในช่วง New normal แต่ดำรงค์ชีวิตเหมือนเดิมในยุคใหม่ เพื่อให้การใช้ชีวิตในแต่วันเป็นปกติและไม่ซ้อนทับกัน ถ้าต้องอยู่กับบ้านตลอดเวลา แต่ละคนอาจจะมีการพักผ่อนหรือกิจกรรมที่แตกต่างกัน อย่างเช่น บางคนอาจจะชอบดูหนัง ฟังเพลง หรือในยุคนี้คือสื่อ Online ที่เป็นการสอนต่าง ๆ เช่น สอนงานศิลปะ สอนการทำอาหาร เป็นต้น ก็สามารถเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจเป็นกิจกรรมแปลกใหม่ สำหรับคนที่ไม่เคยลองทำ และอีกกิจกรรมที่ทุกคนรู้กัน คือการออกกำลังกาย อาจจะไม่ต้องออกหนัก  เป็นการออกกำลังกายง่าย ๆที่สามรถทำได้ที่บ้าน วันละ 30 นาที 3 ครั้งต่อ สัปดาห์ กิจกรรมพวกนี้เป็นอีกส่วนที่สามารถ ลดความเครียดได้

​วิธีจัดการกับความเครียด คือการสำรวจตัวเอง สำรวจความคิด สำรวจอารมณ์ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น คือความรู้สึกอะไร ถ้ารู้สึกเครียด ให้ตั้งคำถามว่า “เราเครียดจากสาเหตุอะไร” มันมีความคิดอะไรเกิดขึ้น ในความเครียดนั้น มันมีวิธีไหนที่เราจะสามรถจัดการได้บ้าง เรามี Support ที่จะขอความช่วยเหลือได้บ้าง จากวิธีเดิมหรือวิธีใหม่เราค้นหาได้ แบบไหนที่เราทำได้ จะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไรบ้าง แต่ถ้าทำแล้วไม่ดีขึ้น บางทีก็อาจจะต้องยอมรับและเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และพยายามประคับประคองตัวเองให้เราโอเค อยู่ในสภาวะที่เราโอเคแล้วเริ่มต้นแก้ไขใหม่อีกครั้ง 

ความคิดเห็น