"เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน" เยี่ยม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุ่งคล้า จ.บึงกาฬ

เป็นที่ยอมรับกันว่าภัยของการบริโภคน้ำตาลในเครื่องดื่มส่งผลเสียต่อสุขภาพ โครงการขับเคลื่อนนโยบาย เครือข่ายลดการบริโภคหวาน และสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รณรงค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มน้ำตาลสูง ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานที่มีพื้นที่ดำเนินงานทั่วประเทศ มีกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้กับเด็กและประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และการสนับสนุนนโยบายเก็บภาษีจากอัตราความหวานในเครื่องดื่ม ตลอดจนได้มีการสนับสนุนให้ผู้บริโภคทั่วไปลดการบริโภคด้วยการจัดแคมเปญจน์ “หวานน้อยสั่งได้” เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกปริมาณความหวานในเครื่องดื่มจากร้านกาแฟและร้านเครื่องดื่มริมทาง

สำหรับการดำเนินงานของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานในจังหวัดหนองคาย และจังหวัดบึงกาฬ มีกิจกรรมสนับสนุนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) มีเมนูอาหารอ่อนหวาน และจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รู้จักเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังได้เริ่มงานขับเคลื่อนให้เกิดร้านกาแฟอ่อนหวานขึ้นในพื้นที่ ผ่านการแนะนำให้ความรู้ถึงอันตรายของน้ำตาล การคำนวณปริมาณความหวาน และการชงเครื่องดื่มไม่หวานในสูตรที่ยังคงความอร่อยเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า

"เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน"  เยี่ยม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุ่งคล้า จ.บึงกาฬ ซึ่งมีกิจกรรมของเด็กเล็กและผู้สูงวัย มาร่วมกันเช่น เด็กทำสลัดโลทานเอง แปรงฟันหลังอาหาร  ผู้สูงอายุทำของเล่นโบราณให้เด็กๆเล่น และ คุณครูสอนเด็กให้ไม่กินหวาน

เครือข่ายลดบริโภคหวาน เผยการรณรงค์ลดการบริโภคน้ำตาลมามากกว่า 10 ปี เห็นผลต่อเนื่อง พบ ศพด.ในเครือข่ายฯให้เด็กกินผักและผลไม้ได้แล้วอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ขณะที่ร้านกาแฟและเครื่องดื่ม “หวานน้อยสั่งได้” มีมากกว่า 400 ร้านค้า พร้อมสาธารณสุขขานรับมาเป็นนโยบายกระทรวง หวังสร้างวัฒนธรรมการกินเพื่อสุขภาพในคนไทย

บึงกาฬ-โครงการขับเคลื่อนนโยบายเครือข่ายลดบริโภคหวานและสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย และที่ปรึกษาโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ,ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการโครงการเครื่อข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ,ทพญ.มัณฑนา ฉวรรณกุล รองผู้จัดการโครงการแผนพื้นที่ และนางผุสดี จันทร์บาง นักวิชาการโครงการฯและผู้นิเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ติดตามกิจกรรมขับเคลื่อนลดการบริโภคเครื่องดื่มหวานน้อย ตามชิมร้านกาแฟ"หวานน้อยสั่งได้" ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย และจังหวัดบึงกาฬ 

การลงพื้นที่ในจังหวัดหนองคาย และบึงกาฬ ครั้งนี้ได้มีการตรวจวัดปริมาณความหวานของกาแฟ พร้อมทั้งให้ความรู้กับร้านกาแฟ ที่เข้าร่วมโครงการ มาฝึกอบรมการชงกาแฟ ที่มีปริมาณหวานน้อยให้กับลูกค้า ซึ่งมีร้านกาแฟเข้าร่วมโครงการจำนวนหลายร้าน เพื่อนำความรู้ และโทษของการรับประทานหวาน นำไปแนะนำลูกค้า และการชงกาแฟอย่างไรให้มีความหวานน้อยเพื่อสุขภาพที่ดีกับผู้บริโภค 

นอกจากนี้ยังมีการมอบป้าย"ร้านกาแฟอ่อนหวาน หวานน้อยสั่งได้"ให้กับร้านกาแฟในที่เข้าร่วมโครงการอีกด้วย เพื่อการันตีว่าร้านกาแฟที่เข้าร่วมโครงการลูกค้าสามารถเลือกสั่งกาแฟที่มีความหวานน้อย รับประทานได้เพื่อสุขภาพของตัวเอง

ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เปิดเผยว่า โครงการขับเคลื่อนนโยบายเครือข่ายลดบริโภคหวานและสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รณรงค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มน้ำตาลสูง ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานที่มีพื้นที่ดำเนินงานทั่วประเทศ มีกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้กับเด็กและประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.)  

ทั้งนี้การขับเคลื่อนใน ศพด. เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานมุ่งส่งเสริมในเรื่องการจัดระเบียบ และการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดการบริโภคหวาน ทั้งอาหารว่างและเครื่องดื่มรสหวานตั้งแต่เด็กปฐมวัย นั่นคือ มุ่งเน้นให้เด็กคุ้ยเคย รับรสชาติอาหารและความหวานจากธรรมชาติ พยายามให้ไม่ติดหวานตั้งแต่เด็ก ซึ่งแต่ละ ศพด.จะมีวิธีการจัดการไม่ให้เด็กเอาขนมมาโรงเรียน โดยมีการพูดคุยกับผู้ปกครองและชุมชนให้ช่วยกันดูแลเด็ก นอกจากนี้ศพด.จะมีกระบวนการฝึกการเรียนรู้ของเด็ก ฝึกเด็กให้กินผักและผลไม้เป็น โดยอาหารกลางวันจะต้องมีผักและผลไม้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ หรือนวัตกรรมอื่นๆ ที่แต่ละแห่งได้นำมาใช้ 

ทพญ.ปิยะดา ยังกล่าวด้วยว่า เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ยังสนับสนุนนโยบายเก็บภาษีจากอัตราความหวานในเครื่องดื่ม ตลอดจนแคมเปญ “หวานน้อยสั่งได้” เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกความหวานได้จากร้านกาแฟหรือร้านเครื่องดื่มริมทาง ซึ่งขณะนี้มีร้านค้าต่างๆ เข้าร่วมแล้วกว่า 400 ร้าน ที่สำคัญ "หวานน้อยสั่งได้" ได้เป็นนโยบายระดับกระทรวงสาธารณสุขที่ขับเคลื่อนโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย และเกิดความร่วมมือของร้านกาแฟเครือข่ายใหญ่ๆ เกือบทุกค่าย เช่น อะเมซอน, แบล็ค แคนยอน, ทรู คอฟฟี่, อินทนิล, เครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป รณรงค์ให้ผู้บริโภคสั่งหวานน้อย เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการกินเพื่อสุขภาพในคนไทย 

 “เราขับเคลื่อนร้านกาแฟหวานน้อยสั่งได้มามากกว่า 10 ปี โดยมุ่งเน้นร้านกาแฟรายเล็ก สั่งกินทั่วไปที่ได้รับความนิยมในชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีร้านกาแฟและเครื่องดื่มเกิดขึ้นเยอะมากในแต่ละพื้นที่ แน่นอนว่าการดื่มรสหวานเป็นประจำส่งผลกระทบให้เกิดโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้นสิ่งที่เครือข่ายพยายามขับเคลื่อนรณรงค์ลดบริโภคน้ำตาล ก็เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมหวานน้อยในหมู่คนไทย ปลอดภัยจากโรค NCDs” ทพญ.ปิยะดา กล่าว 

  
                        

ความคิดเห็น