REDCON Asia เป็นงานประชุมและงานแสดงนวัตกรรมเพื่อการวางแผนรับมือกับภัยพิบัติ ถือเป็นเวทีที่รวมทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรระหว่างประเทศ นักวิชาการและผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อันทรงคุณค่าทั้งหมดของการจัดการและการรับมือกับภัยพิบัติทุกประเภท รวมถึงการจัดการภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก โดยมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (UNCC) กรุงเทพฯ ซึ่งจะมีการนำเสนอในรูปแบบของ “การเน้นคนเป็นศูนย์กลางสู่การจัดการภัยพิบัติและการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ”
นายสหรัฐ วงศ์สกุลวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (DDPM) กล่าวว่า โลกทุกวันนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเราทุกคนต้องเผชิญกับความยากลำบากไม่มากก็น้อยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งนับเป็นความท้าทายรูปแบบใหม่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญและพยายามที่จะหาทางแก้ไขร่วมกัน ซึ่ง”ความร่วมมือ” ก็คือ “ทางรอด” ของพวกเรา
โมนิก้า บาโร ผู้จัดการโครงการ REDCON Asia กล่าวว่า บริษัท วีเอ็นยูฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในภูมิภาคนี้ พันธกิจของเราคือ การรวมรวมผู้นำทางความคิด ผู้กำหนดนโยบาย และบริษัทชั้นนำที่มีเทคโนโลยีเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการเตรียมการพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกรูปแบบ เราเชื่อมั่นว่า การจัดงานในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนและกระตุ้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม อันนำมาสู่การวางแผนดำเนินงานที่สอดคล้องและเด็ดขาดยิ่งขึ้นเมื่อยามเกิดภัยพิบัติต่างๆ
ดร. Sanjay Srivastava, Chief of Disaster Risk Reduction (UNESCAP) กล่าวว่า REDCON Asia เป็นช่องทางที่สำคัญที่เอื้อประโยชน์แก่โอกาสสำคัญทั้งสามประการนี้เพื่อสร้างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เริ่มจาก 1.สร้างการเชื่อมโยงนโยบายระหว่างหลายภาคส่วนเพื่อบูรณาการภัยพิบัติ สภาพภูมิอากาศ และความยืดหยุ่นด้านสุขภาพเข้ากับการวางแผนการพัฒนาได้อย่างราบรื่น 2. การลงทุนในระบบเตือนภัยล่วงหน้าจากภัยธรรมชาติและชีวภาพแบบบูรณาการ และ 3. การส่งเสริมการลงทุนในการปรับตัวและความยืดหยุ่นของสภาพอากาศ
ดร. พีรนันท์ โตวชิราภรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กล่าวว่า เราต้องทำงานไม่เพียงกับภาครัฐเท่านั้น แต่กับภาคเอกชนด้วย จากสิ่งที่เราเผชิญอยู่ นี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการประชุม REDCON Asia ที่กำลังจะจัดขึ้น ซึ่งเราสามารถนำทั้งภาครัฐและเอกชนมารวมกันภายใต้หลังคาเดียวกัน
อัญชลี คงกรุต บก. หน้าบทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post และ นีรชา มะลิศักดิ์ ตัวแทนจาก เดอะ เนชั่น ได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของสื่อต่อการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการจัดการเหตุฉุกเฉินว่า ในฐานะสื่อเชื่อว่าเราสามารถมีบทบาทที่เป็นประโยชน์ และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของการรับมือ เนื่องจากการจัดการภัยพิบัติมีความสำคัญมากขึ้น ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ที่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อนำเสนอข่าวเท่านั้น หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยสงครามล่าสุดและต่อเนื่องจะกลายเป็นปัญหาของมนุษยชาติ พวกเราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบ ดังนั้นทุกคนจึงต้องร่วมมือกันและสื่อมวลชนเองก็เช่นกัน
ด้านผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนเสียงจากฝั่งของนักวิชาการ กล่าวว่า สภาพอากาศที่ทวีความรุนแรงจะเพิ่มความไม่แน่นอนและความซับซ้อนให้กับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกันจากกลไกทั้งหมดที่สังคมมี การหยุดชะงักของสภาพแวดล้อมจำเป็นต้องดำเนินการทั้งหมดในเชิงรุกและประสานกัน ซึ่งการรวมตัวกันของพวกเราในวันนี้ พร้อมกับความตั้งใจที่มี จะสามารถช่วยผลักดันให้ภูมิภาคของเราปลอดภัยยิ่งขึ้น นำโดยหน่วยงานของรัฐ ร่วมกับ มหาวิทยาลัย องค์กรระหว่างประเทศ และพันธมิตรต่างๆ โดย REDCON Asia จะนำทางเราไปสู่การรับมือภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
อิกอร์ เพาก้า กรรมการผู้จัดการ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า ผู้จัดงานรู้สึกขอบคุณและเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับการสนับสนุนการจัดงานอย่างต่อเนื่องจากบรรดาพันธมิตร ผู้เข้าร่วมบรรยาย และผู้เข้าร่วมงานในวันนี้ สำหรับงาน REDCON Asia ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม ปี 2565 นี้ เราเชื่อมั่นว่าจะทำให้พวกเราทุกคนได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคระบาด ภัยพิบัติ และภาวะโลกร้อนผ่านงานประชุมสัมมนาในครั้งนี้และต่อยอดสู่อนาคต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น