มหาวิทยาลัยเกริกร่วมกับสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติจัดตั้ง สมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ(สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
การจัดตั้งสมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ได้จัดตั้งขึ้นที่มหาวิทยาลัยเกริก ( Krirk University ) ซึ่งได้เปิดดำเนินการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2495 โดยท่านอาจารย์ ดร.เกริก มังคละพฤกษ์ ที่มีลักษณะเน้นการเรียนการสอนไปทางด้านศิลปะ สาธารณสุขศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และทางวิชาการอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วหลายหมื่นคนที่ประสบความสาเร็จและมีชื่อเสียงและมีหน้าที่การงานที่ดีทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อาทิ อาจารย์ผู้สอนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นักเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการด้านสาธารณสุข นักการเมือง ศิลปิน/ดารานักแสดง และบุคคลสำคัญอีกมากมาย
ใน ปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยเกริกได้รับการจัดอันดับ Qs World University Rankings หรือ การจัดอันดับสถาบันการศึกษาทั่วโลก ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเพียง 83 แห่งจากทั่วโลกเท่านั้นที่ได้รับคะแนนการประเมินในระดับ 5 ดาว มหาวิทยาลัยเกริกยังมีประวัติการพัฒนาการศึกษาในด้านภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน) และวัฒนธรรมจีนในต่างประเทศที่ยาวนานถึง 28 ปี มหาวิทยาลัยเกริกเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เปิดสอนในหลักสูตรภาษาจีนธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาได้ปลูกฝังและพัฒนาคนไทยให้เกิดความเชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารภาษาจีนจำนวนหลายหมื่นคน ซึ่งมีส่วนช่วยในการส่งเสริมมิตรภาพระหว่างไทย-จีน การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และเพื่อต่อสู้กับผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น มหาวิทยาลัยเกริกได้มีการปรับเปลี่ยนเวลาและวิธีการจัดการการเรียนการสอน โดยเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสม
ที่สุด ปรับปรุงการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ/การฝึกงานให้ดีขึ้นและเหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ เพิ่มมาตรฐานในการกากับดูแลในด้านการเรียนการสอน เสริมสร้างมาตรฐานการเรียนการสอนและงานวิจัยทางวิชาการ เพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพที่ผู้ศึกษาเล่าเรียนจะได้รับ อีกทั้งยังได้รับการประเมินคุณภาพการสอนที่ดีจากสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แห่งประเทศไทย และการประเมินคุณภาพการสอนระดับ 5 ดาวของ QS ( QS Stars Ratings) ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วม และให้การสนับสนุนในการจัดตั้งสมาพันธ์สถาบันการศึกษา ในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ นั้นมาจากประเทศไทย ประเทศรัสเซีย ประเทศจีน ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ รวมถึงสถาบันการศึกษาที่มีการสอนที่ครอบคลุมทุกด้าน (Comprehensive University) สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนเฉพาะด้าน และสถาบันวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้มีความรู้และมีเป้าหมายพัฒนา (นักพัฒนา) เป็นต้น โดยลักษณะเด่นของสถาบันการศึกษาเหล่านี้ คือ การให้ความสาคัญกับการเปิดรับความร่วมมือแบบเปิดกว้าง มีผู้นำและทีมผู้บริหาร ทีมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในระดับนานาชาติ เน้นการสร้างและปลูกฝังความรู้ทางประวัติศาสตร์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและมีส่วนช่วยในการพัฒนาอารยธรรมของโลกให้เกิดความก้าวหน้าไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีแนวคิดและมาตรการที่ทันสมัย ประชาชนในพื้นที่เกิดความรู้และเข้าใจในมวลความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างถ่องแท้ ลึกซึ้ง จนสามารถนาเอาความรู้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถนำไปใช้ดาเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (Scientific Literacy) ในที่ประชุมจัดตั้งสมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ยังได้ประกาศว่า ประธานศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center – ADPC) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศแห่งประเทศไทย อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอื่น ๆ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก ศ.ดร.นพ. กระแส ชนะวงศ์ ให้ดำรงตาแหน่งประธานสมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติฯคนแรก และผู้ที่ดูแลสถาบันการศึกษาและสถาบันทางวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ให้ดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียน เมื่อสิ้นสุดวาระ และศาสตราจารย์ติง เต๋อ ประธานคณะกรรมการวิชาการระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเกริก ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและการศึกษาทักษะขบวนการคุณภาพทางวิทยาศาสตร์ เป็นประธานคณะกรรมการวิชาการคนแรก
ดร. จางซู่เว่ย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการคนแรกของสมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ได้อ่านบันทึกข้อตกลงในการจัดตั้งสมาพันธ์โดยกล่าวว่า “ข้อเสนอในการจัดตั้งสมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์” นั้น ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แก่สาธารณชน สร้างรูปแบบการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงให้กับประชาชนหรือบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย ประสานงานและส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดความมั่นคง ความสามัคคี และเน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ “การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์” อ้างอิงมาจากมุมมองของศาสตราจารย์ Zhang Qizhi นักประวัติศาสตร์และ นักปรัชญาด้านความคิดที่มีชื่อเสียงของจีน กล่าวว่า “การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์จะต้องมีความสัมพันธ์และรวมเป็นหนึ่งเดียวกันเท่านั้น ซึ่งได้รับการพิสูจน์จากประวัติศาสตร์ จากการพัฒนาอารยธรรมของมนุษย์ในศตวรรษที่ 20 และยังเสนอว่าสมาชิกของสมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ ที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นควรจะมีความมุ่งมั่นและเติบโตด้วยการใช้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณและการนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ในอนาคตเกิดการพัฒนาที่กว้างขึ้น และสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ความคิดวิจารณญาณและสามารถนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้น และเพื่อให้สามารถนำประโยชน์ที่ได้รับนามาพัฒนาและสร้างประโยชน์ความก้าวหน้าทางอารยธรรมไห้ดีขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นควรมุ่งมั่นผลักดันให้รัฐบาล และหน่วยงานภาครัฐของประเทศตัดสินใจ เลือกใช้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณและการนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มาเป็นส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อทำให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาของโลก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น