สสส. มีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ สนับสนุนองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาสังคม และภาคการศึกษาในฐานะกลไกกลาง ในการร่วมกันพัฒนากระบวนการความร่วมมือ การผลักดันนโยบาย และการพัฒนาองค์ความรู้ต่อการพัฒนาพื้นที่ โดยเชื่อมประสานเครือข่ายเพื่อพัฒนากระบวนการความร่วมมือ ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้และการจัดการพื้นที่ รวมไปถึงการผลักดันนโยบายเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะจะทำให้เกิดการเข้าถึงและใช้งานพื้นที่ได้อย่างมีปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ขณะที่ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการสร้างพื้นที่สุขภาวะ คือ ความพร้อมของภาคีเครือข่าย ในการร่วมกันพัฒนางาน ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน และประชาสังคม ในการที่จะร่วมกันพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน เช่น ภาครัฐ อาทิกรุงเทพมหานคร ที่มีนโยบายในการพัฒนาพื้นที่เชิงกายภาพ ภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนงบประมาณหรือพื้นที่ ภาคประชาสังคมหรือชุมชนที่มีความเข้มแข็งและมีจิตสำนึกในการร่วมกันจัดการพื้นที่ มีความพร้อมในการร่วมการพัฒนากระบวนการ รวมไปถึงภาคการศึกษาในฐานะผู้เชี่ยวเฉพาะด้านที่ร่วมกันผลักดันให้เกิดพื้นที่สุขภาวะ
อย่างไรก็ตามนอกจากปัจจัยข้างต้น บริบทเชิงพื้นที่ก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบพื้นที่สุขภาวะที่จะตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนและชุมชน ซึ่งรูปแบบการพัฒนาพื้นที่เป็นสาระสำคัญที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากบริบทที่แตกต่างกันของพื้นที่ทำให้ต้องมีการออกแบบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ (1) บริบททางสิ่งแวดล้อมเชิงกายภาพ ซึ่งหมายถึงลักษณะของพื้นที่นั้นๆ ที่มีความเฉพาะตัว ทั้งขนาด ตำแหน่งที่ตั้ง มุมมอง การออกแบบจึงต้องอาศัยความรู้เฉพาะด้านของสถาปนิก ในการออกแบบให้พื้นที่มีความเป็นมาตรฐานตามหลักการของพื้นที่สุขภาวะหรือพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถึง ความปลอดภัย และประโยชน์ใช้สอย และ (2) บริบททางสิ่งแวดล้อมเชิงสังคม ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะต้องออกแบบพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน และประโยชน์ใช้สอยที่ชุมชนต้องการ รวมไปถึงระบบการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อความนั่งยืนในอนาคต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น