สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เปิดวิสัยทัศน์เป็นผู้นำลดก๊าซเรือนกระจก และทิศทางนำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และคอนกรีตของไทย มุ่งสู่ 2050 Net ZeroCement and Concrete ชูโมเดลต้นแบบความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน(Public-Private Partnership Model: PPP) ประกาศความพร้อมร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งในและต่างประเทศ ในการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยเคมีของซีเมนต์ 16th International Congress on the Chemistry of Cement (ICCC 2023) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘further reduction of CO2 -emissions and circularity in the cement and concrete industry’ ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอนด์ บางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ดร. ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA)ได้รับเกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยเคมีของซีเมนต์ ICCC 2023ประกาศความพร้อมนำ TCMA เป็นต้นแบบลดโลกร้อนจากอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทย ปักธงขับเคลื่อนสู่ Net Zero ในปี 2050 ผ่านโมเดลความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน (PPP Model) สู่สายตาของผู้ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมซีเมนต์และคอนกรีต รวมกว่า 700 คน จาก 49 ประเทศทั่วโลก ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้ผลิต ผู้ใช้งาน ตลอดจนนักศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง“TCMA ยังคงเดินหน้าทำงานในเชิงรุก ทั้งการขับเคลื่อนในเวทีสำคัญๆ ระหว่างประเทศ และการบูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ภายในประเทศ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ Thailand 2050 Net Zero Cement & Concrete Roadmap ซึ่งเป็นประเทศแรกของโลกที่มี Roadmap มีเป้าหมายดำเนินงานที่ชัดเจน สอดคล้องกับ Thailand NDC และทิศทางอุตสาหกรรมซีเมนต์และคอนกรีตของโลก Global Cement and Concrete Association (GCCA) และมีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งเป้าลดลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 และสู่หมุดหมายสำคัญ Net Zeroภายในปี 2050 โดยที่ “ความร่วมมือและการลงมือทำ” เป็นปัจจัยสำคัญสู่การบรรลุเป้าหมาย TCMA จึงพร้อมร่วมมือทำงานกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ ผ่านแนวทางความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) โดยให้จังหวัดสระบุรี เป็นเมืองต้นแบบ เรียกว่า “PPP-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City” เพื่อร่วมมือกันดำเนินการในด้านต่างๆ ทั้งด้านการพัฒนาเทคโนโลยี วิจัยนวัตกรรม กฎระเบียบ การสร้างความรู้ความเข้าใจ คิดค้นกระบวนการใหม่ๆ ตลอดจนแสวงหาแหล่งทุน ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ควบคู่ไปการสร้างสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนก่อนขยายผลไปยังจังหวัดอื่นต่อไป” ดร. ชนะ กล่าว การประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยเคมีของซีเมนต์ (ICCC) เป็นเวทีวิชาการสำคัญระดับโลก
ที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1918 กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้/ ประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก และเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างงานวิจัยและนวัตกรรม สู่ภาคอุตสาหกรรมซีเมนต์และคอนกรีต
“นับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทย โดยสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย ได้รับคัดเลือกให้จัดการประชุม ICCC 2023 ซึ่งครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก 29 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก ร่วมกันนำเสนอทิศทางและบทบาทที่สำคัญของซีเมนต์และคอนกรีตที่มีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และมีการนำเสนอเอกสารวิชาการ 550 ฉบับ ครอบคลุม 1) Future of the construction 2) New dimensions in clinker production 3) Advances in hydration chemistry4) Enhancing clinker substitution / Supplementary Cementitious Materials 5) Advances in characterization methods & modelling 6) New low carbon cements and carbonatable binders 7) New findings in admixture & rheology 8) New technology for quality concrete 9) Durability & reactive transport 10) Sustainability, circular economy, waste processing and recycling และ 11) Standardization of cement and concrete ซึ่งนอกจากจะเป็น
การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ช่วยสร้างโอกาสความร่วมมือในการยกระดับพัฒนาคุณภาพซีเมนต์และคอนกรีตให้สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์การใช้งาน รวมถึงสามารถตอบโจทย์ต่อสถานการณ์ของโลกด้านลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย” ดร. ชนะ เพิ่มเติม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น