กรมศุลกากร จับกุม “ไม้พะยูง”และ “ไม้ประดู่” เลี่ยงศุลกากร เตรียมส่งออก จำนวน 772 ท่อน มูลค่าของกลางกว่า 4.6 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 กรมศุลกากร ร่วมกับ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 9 (ชลบุรี) และหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชบ.1 (บางละมุง) ด่านป่าไม้แหลมฉบังและกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 2 ตู้ เตรียมส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ศูนย์เอกซเรย์ฯ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องด้วยสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังร่วมกับกองสืบสวนและปราบปราบ และศูนย์ประมวลข้อมูลการข่าวทางศุลกากร (CIC)
ได้วิเคราะห์ข้อมูลและพบความเสี่ยงของการกระทำผิดกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงแจ้งหน่วยงานต่าง ๆ เข้าตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าว ซึ่งในเบื้องต้น สำแดง เป็น “เครื่องกลึง” (LATHES) จำนวน 4 SET น้ำหนักสุทธิ 56,000 กิโลกรัม ราคา 2.09 ล้านบาท แต่เมื่อตรวจสอบพบ เป็น“ไม้พะยูง” และ “ไม้ประดู่” ไม่มีดวงตราประทับไม้แต่อย่างใด รวมจำนวน 772 ท่อน น้ำหนักรวม 56,000 กิโลกรัม มูลค่า 4,600,484.02 บาท
โฆษกกรมศุลกากร กล่าวต่ออีกว่า ไม้พะยูงจัดเป็นสินค้าต้องห้ามในการส่งออกไป
นอกราชอาณาจักร และไม้ประดู่จัดเป็นสินค้าต้องกำกัดซึ่งในขณะปฏิบัติพิธีการศุลกากร ผู้ส่งออกไม่มีหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ และถ่านไม้ เพื่อการค้าหรือการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (รม.8)
มาแสดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแต่อย่างใด ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงมีความผิดตามมาตรา 202 มาตรา 244 ประกอบกับมาตรา 252 และมาตรา 243 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร 2560 ประกอบประกาศกระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้ามให้ไม้ท่อน ไม้แปรรูป และไม้ล้อมบางชนิดเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้ เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองในการส่งออกไป
นอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2566 อันเป็นความผิดตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา 48 ประกอบกับมาตรา 73 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น