สสจ.สารคาม ลุยตั้งสถานีสุขภาพทุกหมู่บ้าน ต้นแบบขับเคลื่อน“สุขภาพช่องปากผู้สูงวัย”

รพ.นาดูน ยกสุขภาพช่องปากคือประตูสุขภาพของร่างกาย ลุยพัฒนารูปแบบงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงวัย สสจ.มหาสารคามจัดตั้งสถานีสุขภาพ (Health Station) ครบทุกหมู่บ้าน ให้บริการ เล็งขยายผล “นาดูนโมเดล” ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด

วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมโรงแรมสยามธารา โรงแรมสยามธารา อ.เมือง จ.มหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และสำนักงานสาธาราณสุขจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ จัดเวทีนโยบายสาธารณะ “การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุเทศบาลตำบลนาดูน จ.มหาสารคาม” เพื่อขยายผลครอบคลุม จ.มหาสารคาม

ทั้งนี้สถานการณ์ในปี 2562  ประชากรผู้สุงอายุในประเทศมีจำนวน 11,136,059 คน และอีก 20 ปีบ้างหน้าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 19 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้นประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันในปี 2565 ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม มีจำนวนผู้สูงอายุจำนวน 856 คน  จากประชากร 4,875 คน คิดเป็นร้อยละ 17.62 พบว่าผู้สูงอายุมีความเสื่อมของสภาพร่างกายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสุขภาพช่องปาก เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการรพ.นาดูน จึงได้เข้าร่วมโครงการ “80ปี ฟันดี 20 ซี่” โดยเริ่มที่บ้านหนองโง้ง ม.2 ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม เป็นพื้นที่แรกของการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ

ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย และที่ปรึกษาสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เปิดเผยว่า กล่าวถึงโครงการรณรงค์ “80 ปี ฟันดี 20 ซี่”  ว่าสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินงานในพื้นที่ 10 แห่ง ได้แก่ แพร่ลำพูนบุรีรัมย์มหาสารคามนครปฐมสิงห์บุรีสุราษฎร์ธานีปัตตานี และ กรุงเทพมหานคร ซึ่งแต่ละแห่งมีกลยุทธ์ วิธีขับเคลื่อนโครงการโดดเด่น แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

ตัวเลข 80-20 คือตัวเลขที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนดให้ผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ต้องมีจำนวนฟันเหลือในช่องปากอย่างน้อย 20 ซี่ เพื่อใช้ในการรับประทานอาหารให้เป็นปกติ รวมถึงการพูด การยิ้ม  การเข้าสังคม ให้เกิดผลดีต่อบุคคลิกภาพด้วย มีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่นหลังจากดำเนินงานมานานกว่า 20 ปี  ดังนั้นประเทศไทยเราจึงได้มีมาตรกาเชิงรุกรณรงค์เรื่องนี้อย่างเร่งด่วน

ผู้สูงวัย 80 ปี มีฟันเพียง 20 ซี่ ยังถือว่า น้อยมากเมื่อเทียบกับวัยทำงานที่มี 28 ซี่หรือเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ พอ 60 ปีขึ้นไป มีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่มีฟันเหลือ 20 ซี่ การรณรงค์การรักษาฟันแท้ให้ได้ 20 ซี่ จึงเป็นตัวเลขที่ท้าทาย เพราะความจริงแล้วการสูญเสียฟัน ไม่ว่าจะฟันผุ ปริทันต์ เหงือกอักเสบ เป็นโรคพื้นฐาน ที่ทำให้ผู้สูงวัยไทยมีฟันเหลือไม่ถึง 20 ซี่” นพ.สุธา กล่าว

การที่ผู้สูงวัยมีฟันเหลือน้อยกว่า 20 ซี่จะส่งผลกระทบอย่างไรนั้น ที่ปรึกษากรมอนามัย ขยายความว่า ผู้สูงวัยที่อายุ 80 แล้วมีฟันเหลือไม่น้อยกว่า 20 ซี่ คือสุดยอดของการดูแลสุขภาพในช่องปาก ช่วยให้รับประทานอาหารที่ดี เพราะเป็นจำนวนที่เหมาะสมกับการบดเคี้ยวอาหารทุกประเภท ทั้งพืชผัก หรือเนื้อสัตว์ แต่พอมีฟันไม่เพียงพอ จะทำให้ขาดสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีน ที่เกิดจากการบดเคี้ยวก็จะมีได้ไม่เพียงพอ จากที่จะรับประทนของสด ๆ ก็อาจจะต้องนำไปต้มไปนึ่งให้เกิดความนิ่มสามารถรับประทานได้ แต่ก็ทำให้ต้อสูญเสียวิตามินและเกลือแร่หายไปจากความร้อน หรือถ้าเคี้ยวไม่ละเอียดก็จะส่งผลต่อกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารท้องอืด ท้องเฟ้อ อีกอย่างคือ การกินไม่ละเอียด สำลักได้ง่าย  มีเชื้อโรคเยอะ เกิดการอักเสบในปอด หรือถุงลม ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน

“เราได้มีการณรงค์การดูแลสุขภาพในช่องปากในทุกกลุ่มวัย ทุกรูปแบบ เพื่อให้การดูแลสุขภาพในช่องปากที่ถูกวิธีเข้าถึงคนกลุ่มวัย ตัวอย่างง่าย ๆ คือ ส่งเสริมตัวเลข 2-2-2  คือ แปรงฟันวันละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อยคือ เช้าและก่อนนอน แปรงฟันครั้งละ 2 นาที และหลังจากนั้นใน 2 ช.ม. ต้องไปกินอะไรเลย เพื่อให้ฟลูออไรด์ได้เคลือบฟันอย่างเต็มที่ หรือการรณรงค์การใช้สิทธิขั้นพื้นที่เพื่อการรักษาสุขภาพในช่องปาก ส่งเสริมความรู้ การสื่อสารด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงวัยเข้าถึงระบบบริการมากขึ้นและง่ายขึ้น เพราะสาเหตุส่วนหนึ่งคือการเดินทางเข้ารับบริการ ซึ่งผู้สูงวัยอาจจะไม่สะดวก เช่นอยู่ไกลสถานบริการ หรือจะต้องมีคนใกล้ชิดพาไป ซึ่งเป็นอุปสรรคในเข้ารับบริการ” นพ.สุธา กล่าว 

ด้าน ทพ.วัฒนะ ศรีวัฒนา ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ(ด้านทันตสาธารณสุข) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จ.มหาสารคาม มีจำนวนผู้สูงอายุ 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด จึงเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แบบ สอดรับกับเป้าหมายดัชนีมวลกายที่เราตั้งเป้าไว้ คือ 1.ไม่หกล้ม และ 2.โภชนการดี ฟันดี แต่ผลจากการสำรวจปัญหาภาวะถดถอยสุขภาพใน 9  ด้าน สุขภาพช่องปากเป็นปัญหาสำคัญอันดับ 1 โดยพบว่ากลุ่มผู้สูงอายุมีฟันคู่สบ 4 คู่เพียง ร้อยละ 40 เท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อการรับประทานอาหารอันนำไปภาวะโภชาการที่ดีอันนำไปสู่สุขภาพดีได้ เพราะสุขภาพช่องปากเป็นประตูสุขภาพของร่างกาย

นอกจากนี้ สสจ.มหาสารคาม ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถานีสุขภาพ (Health Station) ครบทุกหมู่บ้าน และนำเอาการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ เป็นหนึ่งในการให้บริการ ผ่านทางเครือข่ายโรงพยาบาล รพ.สต. และ อสม. โดยส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากแก่คนบุคลากรทันต และคนในชุมชน ทั้งนี้ สสจ.มหาสารคาม พร้อมสนับสนุนให้พื้นที่บ้านหนองโง้ง ต.นาดูน เป็นต้นแบบขยายผลให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดต่อไป

ทพ.ณัฐพล ยศพล ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.นาดูน กล่าวว่า จากการสำรวจทันสุขภาพเขตเทศบาลตำบลนาดูน ปี 2563 พบว่า ผู้สูงอายุมีจำนวนฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 68.13 และมีฟันหลังทั้งแท้และเทียม ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 4 คู่สบเพียงร้อยละ 7.27 นอกจากนี้มีแนวโน้มการเกิดฟันผุ โรคปริทันต์สูงขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบย่อยอาหารในร่างกายลดลง

ทั้งนี้ที่ผ่านมา รพ.นาดูน จะเน้นให้บริการตามอาการและดำเนินงานตามโครงการเป็นรูปแบบจากส่วนกลาง ซึ่งไม่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในพื้นที่  ดังนั้นกลุ่มงานทันตกรรม รพ.นาดูน  จึงศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลนาดูน เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและเกิดรูปแบบในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันได้เข้าร่วมโครงการ “ 80 ปี ฟันดี 20ซี่” เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และความเข้าใจการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม เกิดภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในเขตเทศยบาลจำบลนาดูน และเกิดรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สุงอายุ 

มีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากในรูปแบบกิจกรรม 5 ส. ได้แก่ 1.สองครั้งต่อวันเป็นอย่างน้อยในการแปรงฟัน 2.สองนาทีต่อครั้งเป็นอย่างน้อยในการแปรงฟัน 3.สองชั่วโมงไม่กินอาหารหลังแปรงฟัน 4.สองครั้งต่อปีในการพบทันตบุคลากร และ 5.สามเดือนเปลี่ยนแปรงสีฟัน ฝึกปฏิบัติแปรงฟันอย่างถูกวิธี มีการตรวจคราบจุลินทรีย์ด้วยตนเอง และบันทึกสมุดดูแลสุขภาพช่องปาก 

ขณะเดียวกันมีรูปแบบการดำเนินงานเป็นพิเศษ เช่น การลงพื้นที่ให้บริการสุขภาพช่องปากและงานทันตกรรมอย่างง่ายแก่ผู้สูงวัยและคนในชุมชน 3 เดือนต่อครั้ง โดยผนวกร่วมกับสถานีสุขภาพชุมชน(Health station) ซึ่งเปิดให้บริการทุกวันศุกร์ หรือการเปิดช่องทางพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ และออกบัตรนัดรับบริการที่โรงพยาบาลในหัตถการที่ยาก “สมุดผู้สูงอายุฟันดี 60 ปีไม่มีคิว” อสม.มีการติดตามเยี่ยมประเมินผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบตนเอง” ทพ.ณัฐพล กล่าว 

 

ความคิดเห็น