“วันนักประดิษฐ์ 2568” สุดประทับใจ ปลุกพลังนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ จากทั่วประเทศ ร่วมลุ้นผลรางวัลสิ่งประดิษฐ์ วช. มั่นใจพร้อมปูทางนักประดิษฐ์รุ่นใหม่สู่การเป็นนวัตกรมากคุณภาพ
โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัล และได้รับเกียรติจาก
คุณวิทยา พานิชตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล นายกสมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย คุณระพี บุญบุตร ประธานกรรมการบริษัท อาทิตย์ นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และนางสาววันทนีย์ เหลืองวิสุทธิศิริ นายกสมาคมเยาวชนนักประดิษฐ์ (ประเทศไทย) ร่วมกล่าวแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัล ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568 จัดขึ้นเป็นปีที่ 26 ความสำเร็จของการจัดงาน “วันนักประดิษฐ์”ในปีนี้ นอกจากจะเป็นเวทีระดับชาติในการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชน แล้ว ยังเป็นเวทีที่จุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจในด้านการประดิษฐ์คิดค้น ให้แก่เยาวชน รุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญ เป็นฟันเฟืองในการพัฒนาประเทศให้ก้าวต่อไปข้างหน้าต่อไปในอนาคต
ผลการประกวด “I New Gen Junior Award 2025” โดยผู้ชนะการประกวด 3 ลำดับแรก ในกลุ่มของแต่ละกลุ่มเรื่องได้รับเหรียญรางวัล I - New Gen Junior Award เงินรางวัลพร้อมถ้วยและเกียรติบัตร และผู้ชนะการประกวดได้แก่
กลุ่มเรื่องเกษตรและสิ่งแวดล้อม
• รางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง (Gold Medal): "Upcycling Foam" ชีวิตใหม่ของขยะโฟม - โรงเรียนอนุบาลคลองท่อม จังหวัดกระบี่
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เหรียญเงิน (Silver Medal): "WASEN" - โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม กรุงเทพมหานคร
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เหรียญทองแดง (Bronze Medal): "กระเป๋าหนังเทียมจากเส้นใยกล้วย" - โรงเรียนบ้านปราสาท จังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มเรื่องอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
• รางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง (Gold Medal): "ก๊อก ก๊อก ก๊อก ใครมาบอกหนูที" - โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ กรุงเทพมหานคร
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เหรียญเงิน (Silver Medal): "Walking Stick For Health : ไม้เท้าช่วยเดิน" - โรงเรียนวัดช่องเปี่ยมราษฎร์
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เหรียญทองแดง (Bronze Medal): "การประดิษฐ์ลิ้นชักเก็บก้านธูป" - โรงเรียนชุมชนวัดดักคะนน
กลุ่มเรื่องศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
• รางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง (Gold Medal): "Board Game What Do You Want To Buy?" - โรงเรียนบ้านวังไทร
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เหรียญเงิน (Silver Medal): "บอร์ดเกม Cooked To Order (ตามสั่งดั่งใจ)" - โรงเรียนแม่พระฟาติมา
• รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เหรียญทองแดง (Bronze Medal): "เปลือกหอยแมลงภู่ สู่สีน้ำ ECO" - โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 71 (ก่อสร้างคลองด่าน)
ผลการประกวด “Thailand New Gen Inventors Award 2025 (I - New Gen Award 2025)” โดยมีการประกวดใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ การเกษตร อาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยว ผู้ชนะการประกวดจะได้รับเงินรางวัล ถ้วยรางวัล และเกียรติบัตร และผู้ชนะการประกวดได้แก่
ระดับมัธยมศึกษา
กลุ่มที่ 1: การเกษตร
• รางวัลชนะเลิศ: หุ่นยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับดูแลพื้นที่เกษตรกรรมแบบครบวงจร – โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)
• รองชนะเลิศอันดับ 1: หุ่นยนต์ดูแลสวนโกโก้อัตโนมัติและตรวจสอบโรคพืชโกโก้แบบ Real-Time ด้วย CNN – โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องปอกกระเทียมพร้อมสับด้วยแรงดันลม เวอร์ชัน 4 – โรงเรียนเมืองคง
กลุ่มที่ 2: อาหาร
• รางวัลชนะเลิศ: เครื่องหยอดขนมกึ่งอัตโนมัติพร้อมระบบไล่ความชื้น – โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ผลิตภัณฑ์คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบมอญ ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ – โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องคั่วกาแฟแบบโลหะหมุน ควบคุมระดับการคั่วเข้ม – โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์
กลุ่มที่ 3: สุขภาพและการแพทย์
• รางวัลชนะเลิศ: การประยุกต์ใช้อัลกอริทึมวิเคราะห์ภาพในทันตกรรมเพื่อตรวจจับฟันผุ – โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล
• รองชนะเลิศอันดับ 1: CARDICARE – นวัตกรรมติดตามอาการและประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบพกพา – โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 2: แถบทดสอบแอปทาเซ็นเซอร์ สำหรับตรวจเอนไซม์ NSE และ D-Dimer เพื่อคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง – โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ
กลุ่มที่ 4: พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ
• รางวัลชนะเลิศ: เบิด – การพัฒนาหินสังเคราะห์จากวัสดุเหลือใช้ – โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
• รองชนะเลิศอันดับ 1: Eco-Sorb Foam – แผ่นดูดซับน้ำมันจากโฟมยางคอมโพสิต – โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา
• รองชนะเลิศอันดับ 2: วัสดุมุงหลังคาจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ผสมฝาขวดน้ำ ต้านการลามไฟ – โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
กลุ่มที่ 5: การท่องเที่ยว
• รางวัลชนะเลิศ: การพัฒนา Kandit tourist spot ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ผ่าน Art Toy ท้องถิ่น – โรงเรียนกาญจนดิษฐ์
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ศิลป์สร้างสรรค์แฟร็กทัล สู่ผลิตภัณฑ์มัดย้อมสื่อสกลนคร – โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
• รองชนะเลิศอันดับ 2: กาแฟรักษ์โลก ส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ – โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์
ระดับอาชีวศึกษา
กลุ่มที่ 1: การเกษตร
• รางวัลชนะเลิศ: เครื่องกรอเส้นฝ้ายสำหรับถักทอด้วยระบบไฟฟ้า – วิทยาลัยเทคนิคลำพูน
• รองชนะเลิศอันดับ 1: เครื่องนับจำนวนลูกปลานิลกึ่งอัตโนมัติด้วยปัญญาประดิษฐ์ – วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องคัดแยกมังคุดเพื่อการส่งออกด้วยระบบ AI – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
กลุ่มที่ 2: อาหาร
• รางวัลชนะเลิศ: เครื่องสกัดน้ำเวิร์ทระบบกึ่งอัตโนมัติ – วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง
• รองชนะเลิศอันดับ 1: เครื่องลอกกะเทาะเยื่อเม็ดมะม่วงหิมพานต์ – วิทยาลัยเทคนิคตราด
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องคั่วเมล็ดกาแฟด้วยโอ่งดินชนิดไร้ควันระดับต้นแบบภาคสนาม – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
กลุ่มที่ 3: สุขภาพและการแพทย์
• รางวัลชนะเลิศ: วีลแชร์แอนด์วอล์คเกอร์ – วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา
• รองชนะเลิศอันดับ 1: เครื่องวัดปริมาณค่าการสูญเสียน้ำปัสสาวะจากร่างกายผู้ป่วย – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องวัดแรงเหยียดขาและหลังสมาร์ทฟิต – วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
กลุ่มที่ 4: พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ
• รางวัลชนะเลิศ: เครื่องกักเก็บคราบน้ำมันในน้ำจากนวัตกรรมยางพาราแบบประหยัดพลังงาน – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
• รองชนะเลิศอันดับ 1: เรือไฟฟ้าต้นแบบภาคสนามสำหรับเก็บขยะ – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
• รองชนะเลิศอันดับ 2: คอมพอสิตของยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกและเส้นใยตาลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพรักษ์โลก – วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
กลุ่มที่ 5: การท่องเที่ยว
• รางวัลชนะเลิศ: ชุดกระเป๋าย้อนรอยกาญจนาภิเษก – วิทยาลัยช่างทองหลวง
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ผลิตภัณฑ์ผ้าทอถิ่นไทยอาณาจักรศรีวิชัยโบราณส่งเสริมการท่องเที่ยว – วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
• รองชนะเลิศอันดับ 2: ผ้าคลุมกระเป๋าเดินทางจากผ้าทอเกาะยอ (รักษ์ยอ Bag) – วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
ระดับอุดมศึกษา
กลุ่มที่ 1: การเกษตร
• รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมชุดตรวจแถบสีความไวสูงสำหรับตรวจการติดเชื้อ TiLV ในปลา – มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
• รองชนะเลิศอันดับ 1: แอปแทมเทสสตริปสำหรับตรวจวัดแคดเมียม – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 2: ชุดทดสอบบนแถบกระดาษสำหรับตรวจยีนดื้อยาเบต้าแลคแทมและโคลิสตินด้วยตาเปล่า – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มที่ 2: อาหาร
• รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมเคมีไฟฟ้าขั้นสูงร่วมระบบนาโนบับเบิ้ลสำหรับธุรกิจขนส่งอาหารทะเล – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
• รองชนะเลิศอันดับ 1: พอร์คการ์ด – ชุดทดสอบดีเอ็นเอเซ็นเซอร์เชิงเคมีไฟฟ้าสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนดีเอ็นเอของสุกรในอาหาร – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เครื่องดื่มกาแฟทางเลือกปราศจากคาเฟอีนจากเมล็ดอินทผลัมเหลือทิ้ง ข้าวบาร์เลย์ และผักโขม – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
กลุ่มที่ 3: สุขภาพและการแพทย์
• รางวัลชนะเลิศ: “นอนแซ่บ” เครื่องมือลดการกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น – มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทันตแพทยศาสตร์
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ชุดตรวจคัดกรองแบคทีเรียปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เกล็ดเลือด – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 2: คาร์ทิเนียล เจล – ไฮโดรเจลแบบฉีดสำหรับฟื้นฟูกระดูกข้อเข่า – มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มที่ 4: พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ
• รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรมสเปรย์ฟิล์มเคลือบผิวโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้า – มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ทุ่นดักจับคราบน้ำมันประสิทธิภาพสูงด้วยเทคโนโลยีซุปเปอร์ไฮโดรโฟบิคเมมเบรน – สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• รองชนะเลิศอันดับ 2: สารเคลือบกันร้อนและทำความสะอาดตัวเองอัจฉริยะ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
กลุ่มที่ 5: การท่องเที่ยว
• รางวัลชนะเลิศ: ศานาสถาน – น้ำยาเซลลูโลส-ปูนขาวสำหรับอนุรักษ์โบราณสถาน – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 1: กิจกรรมประดิษฐ์ของที่ระลึกเพื่อการเรียนรู้แหล่งโบราณสถานในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• รองชนะเลิศอันดับ 2: เควทมิวซ์ – เกมตะลุยสมบัติโบราณสุโขทัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การจัดงาน “วันนักประดิษฐ์ 2025” ในปีนี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของเยาวชนไทยที่พร้อมพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศให้ก้าวไกลในอนาคต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น